Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53082
Title: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา : 3 ชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Other Titles: Ecotourism and sustainable development a case study of three communities next to the Khaoyai National Park
Authors: นพวรรณ ปีสิริกานต์
Advisors: พุทธกาล รัชธร
สมชาย รัตนโกมุท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Buddhagarn.R@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (นครราชสีมา)
การพัฒนาแบบยั่งยืน
ชุมชนเขาแผงม้า (นครราชสีมา)
ชุนชนหมูสี (นครราชสีมา)
ชุมชนหนองน้ำแดง (นครราชสีมา)
Ecotourism -- Thailand
Sustainable development
Khao Pang Ma Community (Nakonrachasima)
Moo Si Community (Nakonrachasima)
Nong Nam Deang Community (Nakonrachasima)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชุมชนท้องถิ่น กับกลุ่มผลประโยชน์ ภายใต้นโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชุมชนท้องถิ่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว กลุ่มผลประโยชน์ ให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเป็นกลไกนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ มีขอบเขตอยู่ที่ ชุมชนเขาแผงม้า ชุมชนหมูสี ชุมชนหนองน้ำแดง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และเจาะจง และจากเอกสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลงานทางวิชาการ ผลงานการวิจัย วารสารต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์แบบเจาะจง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ยังไม่เกิดในชุมชนบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เนื่องจากชุมชน มีส่วนร่วมน้อยมาก และได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวน้อยมาก ส่วนใหญ่ชุมชนบริเวณนี้มีรายได้หลักจากการทำเกษตร และมีรายได้จากการรับจ้าง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับกลุ่มนายทุนที่เข้ามาซื้อที่ดินและทำกิจการต่าง ๆ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร รีสอร์ท ปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ กวาง และพบว่าปัจจุบันชุมชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน น้อยมาก บางหมู่บ้านชาวบ้านขายที่ดินให้กับกลุ่มนายทุนหมดแล้ว ถึงแม้ว่าที่ดินนั้นไม่มีเอกสารสิทธิ์ก็ตาม และนับวันก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นเรื่อง ๆ มูลค่าทางเศรษฐกิจจึงเกิดจากการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ความขัดแย้งของชุมชนกับกลุ่มผลประโยชน์ มีน้อย ส่วนใหญ่จะเอื้อประโยชน์กันมากกว่า เหตุผลที่เกิดเช่นนี้ เนื่องจากนโยบายของรัฐ ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนที่ใกล้ชิด ดังนั้นการที่จะให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติยังคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของนายทุนที่เข้ามาอยู่ใหม่ ร่วมกับชุมชน โดยมีองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประสาน นำทีม ใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่ ใช้การวิจัยมาเป็นเครื่องนำทางในการพัฒนา จึงจะเกิดความยั่งยืนได้
Other Abstract: This thesis is a case study of the relationship between communities and interest groups as well as how the tourism development public policy affected different interest groups in Moo Si and Nong Deang Community, Pakchong District, Nakonrachasima province. Research tools included review secondary data from various sources and in-depth interviews related stakeholders such as government officials in Khao Yai National Park, NGOs and community leaders. The study found that communities have low level of participation and receive little benefit from tourism development policy in Khao Yai National Park area. Communities' major source of income came from agricultural and general employment. In contrast, investor is a group who earn benefit the most from land broker business and other tourism related businesses such as Hotel, Resort, Pesticide Residue Free Vegetable and Fruits and Farms. Only few numbers of local people that title for land ownership, most of the land have been sold to investors although the land has no certificate of ownership. However, communities and interest groups have low level of conflict because both of their benefit from the tourism development policy. But in a long term, in order to achieve sustainable tourism development and preserve natural resources in Khao Yai National Park, investors as a newentries have to work with communities. Moreover, Local Authorities have to regulate and co-ordinate by using information technology and public management tools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53082
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1262
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1262
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppawan_pr_front.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_ch1.pdf5.94 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_ch2.pdf78.37 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_ch3.pdf94.04 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_ch4.pdf16.16 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_ch5.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open
noppawan_pr_back.pdf65.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.