Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53266
Title: ธรณีวิทยาโครงสร้างของหินไนส์สิกแกรนิตหุบกะพง จังหวัด เพชรบุรี
Other Titles: Structural geology of Hub-Kapong gneissic granite, Changwat Phetchaburi
Authors: ปรีดา ถาเปียง
Advisors: พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pitsanupong.k@hotmail.com
Subjects: หุบกะพง (เพชรบุรี)
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- เพชรบุรี
หินแกรนิต -- ไทย -- เพชรบุรี
Hub Kapong (Phetchaburi)
Geology, Structural -- Thailand -- Phetchaburi
Granite -- Thailand -- Phetchaburi
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หินไนส์สิกแกรนิตหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออก เฉียงใต้ พาดผ่านระหว่างอำเภอท่ายางและอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะทางธรณีวิทยาของ หินไนส์สิกแกรนิตหุบกะพงประกอบไปด้วยหินแกรนิตที่มีการเรียงตัวของเม็ดแร่ เนื้อปานกลางถึงเนื้อ หยาบ และมีเป็นการเรียงตัวค่อนข้างดีของผลึกแร่เฟลด์สปาร์ขนาดใหญ่ มีอายุยุคไทรแอสซิกตอน ปลาย จากการสำรวจภาคสนาม การวางตัวของโครงสร้างริ้วขนาน (foliation) และโครงสร้างย่อย ชนิดเส้น ( lineation) ได้ถูกสังเกตและเก็บเป็นข้อมูล ผลที่ได้จากข้อมูลธรณีวิทยาโครงสร้าง ระดับมัชฌิมภาค โดยการกำหนดตำแหน่งในตาข่ายมิติสเตอริโอกราฟิกชนิดพื้นที่เท่า (equal-area stereographic net) และแผนภาพกุหลาบ (rose diagram) แสดงถึงทิศทางของโครงสร้างที่วางตัว ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ สอดคล้องกับโครงสร้างหลัก โดยหินในพื้นที่มี หลักฐานแสดงถึงการเปลี่ยนลักษณะแบบอ่อนนิ่ม ( ductile deformation) แสดงลักษณะการเฉือน แบบซ้ายเข้า ( sinistral shear sense) และผลที่ได้จากข้อมูลธรณีวิทยาโครงสร้างระดับจุลภาค ภายใต้แผ่นหินบาง จากตัวอย่างหินระบุตาแหน่ง ที่ได้จากการ สำรวจภาคสนาม พบผลึกแฝดมี ลักษณะตีบลง (taper twins) ของแร่แพลจิโอเคลส การเกิดมืดสว่างแตกต่างกัน ( undulose extinction) และการเปลี่ยนลักษณะบริเวณขอบของแร่ควอตซ์ (subgrain boundary) การเปลี่ยน ลักษณะแบบอ่อนนิ่มของแร่ไบโอไทต์ แสดงลักษณะเฉือนแบบซ้ายเข้า (sinistral mica fish) การเกิด ผลึกใหม่พลวัต (dynamic recrystallization) ของแร่ควอตซ์ (bulging recrystallization) เกิดที่ อุณหภูมิสูงประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส สามารถสรุปได้ว่า ลักษณะทางธรณีวิทยา โครงสร้าง ของหินไนส์สิกแกรนิตหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี มีการเปลี่ยนลักษณะแบบอ่อนนิ่ม แสดงลักษณะการ เฉือนแบบซ้ายเข้า และมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์และเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาในการ แปรสัณฐานมัชฌิมกาล (mesotectonic Stage) และการแปรสัณฐานนวกาล (neuvotectonic Stage) มีการแปรสภาพอยู่ในชุดแร่หินแปรแอมฟิโบไลต์ (amphibolite facies) จนถึงชุดแร่หินแปร กรีนชีสต์ (greenschist facies) ในลักษณะการแปรสภาพแบบย้อนกลับ (retrograde metamorphism)
Other Abstract: Hub-Kapong gneissic granite, changwat Phetchaburi lies along NW-SE direction across Amphoe Tha Yang and Amphoe Cha-am. Geology in the study area consists of late Triassic foliated granite, medium to coarse grained with fairly to well oriented of porphyroblastic feldspar. From the field observation, attitude of foliation and lineation was investigated and collected. The results of all data from mesoscopic scale using equal-area stereographic net and rose diagram show trend along NW-SE direction which conform to the major structure. The outcrop in this study area shows ductile deformation of sinistral shear sense. Furthermore, the results of all data from microscopic scale, which studied in thin section of rock oriented sampling, show Taper twins in plagioclase, undulose extinction and subgrain boundary in quartz, sinistral mica fish, and bulging recrystallisation of dynamic recrystallsation in quartz at 300-400 °C. All of data infer that the structural geology of Hub-Kapong gneissic granite represents ductile deformation of sinistral shear sense and can be related with Three Pagodas fault in both Mesotectonic stage and Neuvotectonic stage. The metamorphic facies ranges from Amphibolite facies to Greenschist facies as retrograde metamorphism process.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53266
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532725523.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.