Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53332
Title: การประเมินพื้นที่ศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาลเจ้าพระยาตอนบนโดยใช้เทคนิคการถ่วงน้ำหนักและสัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้ในการเกิดน้ำบาดาล
Other Titles: Evaluation of groundwater potential area of upper Chao Phraya groundwater basin using weighting and probabilistic-based frequency ratio techniques
Authors: กานต์พิชชา บางกล่ำ
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lertc77@yahoo.com
Subjects: น้ำบาดาล
Groundwater
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทาแผนที่แสดงพื้นที่ศักยภาพน้าบาดาลของพื้นที่แอ่งน้าบาดาลเจ้าพระยาตอนบน ด้วยวิธีการถ่วงน้าหนักและการวิเคราะห์สัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้ในการเกิดน้าบาดาล เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างค่าปริมาณการให้น้าของบ่อบาดาล (Yield) กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดและกักเก็บน้าบาดาล ได้แก่ ปริมาณน้าฝน ความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่ ลักษณะธรณีสัณฐาน ความหนาแน่นโครงสร้างเชิงเส้น ความหนาแน่นของทางน้า ชนิดดิน ชนิดหิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน สาหรับการประเมินศักยภาพ น้าบาดาลเชิงปริมาณในการกาหนดค่าน้าหนักและค่าคะแนนของแต่ละปัจจัยและการแบ่งชั้นข้อมูลปัจจัย โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Manap และคณะ (2011) และทาการซ้อนทับชั้นข้อมูลปัจจัยทั้ง 9 ปัจจัย สาหรับวิธีการวิเคราะห์สัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้ในการเกิดน้าบาดาล ใช้ข้อมูลจากบ่อบาดาลที่มีค่าปริมาณการให้น้ามากกว่าเท่ากับ 6.82 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทาการเลือกข้อมูลแบบสุ่มด้วยเครื่องมือ Hawths ในอัตราส่วนร้อยละ 70 (1,010 บ่อ) สาหรับชุดข้อมูลทดลอง และร้อยละ 30 (433 บ่อ) สาหรับชุดข้อมูลตรวจสอบ ค่าสัดส่วนความถี่ของแต่ละปัจจัยถูกนามาใช้ในการจัดทาแผนที่ศักยภาพน้าบาดาล จากการเปรียบเทียบความถูกต้องของแผนที่ศักยภาพน้าบาดาลจากทั้งสองวิธี พบว่ากราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการให้น้าของบ่อบาดาลกับระดับศักยภาพน้าบาดาลจากวิธีการถ่วงน้าหนักมีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสาคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.85 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของค่าปริมาณการให้น้า ในขณะที่วิธีการวิเคราะห์สัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้มีค่า ความแม่นยาเพียงร้อยละ 58.75 ผลการศึกษาจัดทาในรูปแบบแผนที่แสดงพื้นที่ศักยภาพน้าบาดาล ซึ่งสามารถแบ่งศักยภาพได้ 5 ระดับ โดยบริเวณที่มีศักยภาพน้าบาดาลสูงมาก ได้แก่ บริเวณที่ราบน้าท่วมถึง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 41 ของพื้นที่ศึกษา (21,810 ตร.กม.) และบริเวณที่มีศักยภาพน้าบาดาลต่ามาก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 9 ของพื้นที่ศึกษา (4,790 ตร.กม.) อยู่ในบริเวณขอบแอ่งพื้นที่ศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินแข็งที่ถูกควบคุมโดยความหนาแน่นโครงสร้างเชิงเส้น
Other Abstract: In this study, geographical information system application was applied for generating the groundwater potential map in the Upper Chao Phraya groundwater basin, Northern part of Thailand. By using two different methods, weighting model and probabilistic-based frequency ratio (FR) model, analyzed the spatial relationships between groundwater yield and storage controlling factors such as rainfall, slope, elevation, geomorphology, lineament density, drainage density, soil, land use, and lithology for quantitative analysis. In weighting model, the weightage and score for each factor and their classes are based on Manap et al. (2011). The layers of nine quantitative factors were then overlaid to generate the potential maps with Geographical Information System (GIS). For probabilistic-based frequency ratio method, groundwater well data with high potential yield value ≥ 6.82 m3/hr were randomly selected using Hawths analysis tools embedded in GIS. Seventy percent of the data (1010 wells) was selected to be the training dataset and the remaining 30 percent (433 wells) was used for validation purpose. The frequency ratio coefficients of the hydrological factors were used to integrate the groundwater potential map. In comparing the validation results of these two methods, it founded that the weighting model method give positively the significant correlation (R2) between average yield and groundwater potential index rank about 0.85 while probabilistic-based frequency ratio method showed only 58.75 % accuracy. According to weighting model method, the groundwater potential map was classified into five potential zones. Very high potential zone are found in floodplain area about 41 % (21,810 km2), and very low-potential zone are located around the boundary of study area with about 9 % (4,790 km2). In addition, the hard rock dominant of the study area was indicated that is controlled by secondary porosity such as density of lineament.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53332
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332701223 กานต์พิชชา บางกล่ำ.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.