Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55160
Title: อิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองกับการรับรองสิทธิเสรีภาพในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 4 – ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
Other Titles: INFLUENCE OF THAI POLITICAL CULTURE AND THE RECOGNITION OF RIGHTS AND LIBERTIES IN RATANAKOSIN ERA (FROM THE REIGN OF KING RAMA IV – BEFORE THE REVOLUTION OF 1932)
Authors: กษิดิ์เดช มีเย็น
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th,Kriengkrai.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองกับการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบอิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตกต่อการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศตะวันตก ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส กับอิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยต่อการรับรองสิทธิเสรีภาพของชาวสยามในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 4 – ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) จากการศึกษาจะพบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองไทยที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมทางการเมืองแบบศักดินานิยม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบบารมีนิยมได้ฝังรากลึกในสังคมสยามมาอย่างช้านานและส่งผลกระทบต่อการรับรองสิทธิเสรีภาพของชาวสยามเป็นอย่างมาก โดยไม่ว่าจะเป็นการรับรองสิทธิเสรีภาพที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย พ.ศ. 2417 การรับรองสิทธิเสรีภาพก็ยังคงอยู่ภายใต้วัฒนธรรมทางการเมืองไทยไม่เสื่อมคลาย แม้อิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตกจะเข้ามาสู่สยามประเทศแล้วก็ตาม แต่วัฒนธรรมทางการเมืองดังกล่าวก็หาได้มีผลเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนต่อวัฒนธรรมทางการเมืองไทยไม่ ภายใต้บริบทดังกล่าวจึงทำให้สิทธิเสรีภาพของชาวสยามล้อมรอบไปด้วยวัฒนธรรมทางการเมืองไทยซึ่งปรากฏผ่านการบัญญัติกฎหมายและการตีความกฎหมาย กระทั่งกลายเป็นอุปสรรคหรือกลไกในการจำกัดหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวสยาม อันทำให้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิเสรีภาพของชาวสยามไม่ประสบผลสำเร็จสมดังความมุ่งหวังหรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย
Other Abstract: This thesis studies on relationship between the recognition of rights and liberties and political culture. The thesis methodology analyzes in influence of political culture on recognition of rights and liberties of citizen between the Thai political culture (From the reign of King Rama IV – before the revolution of 1932) and western democracy political culture such as Britain, United State of America and Republic of French. According to the study, The old Thai political culture was established on sub political cultures such as authoritarian political culture, charismatic, Thai feudalism, and patronage system. Thai political culture has an a lot of influence on the recognition of the rights and liberties especially in writing and unwritten law. Actually, before and after the promulgating of “Pikad Kasian ayu luke tard luke tai Act. BE. 2417” the recognition of rights and liberties was always influenced by Thai political culture. In addition, After western democratic political culture had flowed into Thailand in 2475 BE. It didn’t make any change in the old Thai political culture. So after 2475 B.E., Thai political culture was made up from the old one and the new one. This kind of political culture effects on a legislative process and law interpretation that limited and deprived the recognition of the rights and liberties of Thai people.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55160
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.468
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.468
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785955434.pdf7.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.