Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55178
Title: วงสะล้อ ซอ ปิน ของครูอรุณศิลป์ ดวงมูล จังหวัดน่าน
Other Titles: WONG SALOH SAW PIN OF MASTER ARUNSILP DAUNGMOON IN NAN PROVINCE
Authors: รัฐสินธุ์ ชมสูง
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornprapit.P@Chula.ac.th,Pornprapit.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วงสะล้อ ซอ ปิน เป็นศิลปะการแสดงของจังหวัดน่าน มีเอกลักษณ์เฉพาะ 4 ประการคือ การประสมวง บทเพลง ลักษณะเฉพาะของสะล้อ และการฟ้อนประกอบการขับซอ การประสมวงใช้เฉพาะสะล้อและปินบรรเลงทำนองเข้าซอ ไม่ใช้กลองและฉิ่งตีประกอบจังหวะ เพลงที่เป็นทำนองเฉพาะของจังหวัดน่านคือเพลงดาดน่าน เพลงปั่นฝ้าย เพลงลับแลง เพลงพม่าต๊ะโต๋งเต๋ง และเพลงพระลอเดินดง สะล้อติดขั้นเสียงเรียกว่า สะล้อก๊อบ ในอดีตช่างซอจังหวัดน่านซอเข้าปี่จุม ต่อมาในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายของเมืองน่าน เปลี่ยนวิธีการบรรเลงเป็นซอเข้าสะล้อ และปิน จากการศึกษาประวัติ ครูอรุณศิลป์ ดวงมูล พบว่าท่านเป็นศิษย์เอกของพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ ประจำปีพ.ศ. 2530 สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน และสืบทอดเจตนารมณ์การขับซอโดยก่อตั้งและเผยแพร่วงสะล้อ ซอ ปินของจังหวัดน่านเมื่ออายุ 42 ปี มีฉายาศิลปินในวงการว่า พ่อหนานรุณ ปัจจุบันครูอรุณศิลป์อายุ 67 ปี ได้รับการยกย่องว่าเป็นช่างซอที่มีเสียงไพเราะ มีไหวพริบและความสามารถในการประพันธ์บทซอ มีความรู้ในการประกอบพิธีกรรมคายอ้อ เป็นหัวหน้าคณะวงสะล้อ ซอ ปินที่เคารพนับถือของจังหวัดน่าน และได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญารุ่นที่ 4 ประจำปีพ.ศ. 2548 ด้านศิลปกรรม การศึกษาบทเพลงทั้ง 5 เพลงได้แก่เพลงดาดน่าน เพลงลับแลง เพลงปั่นฝ้าย เพลงพม่าต๊ะโต๋งเต๋ง และเพลงพระลอเดินดงซึ่งเป็นเพลงซอที่มีลักษณะเฉพาะของจังหวัดน่านพบว่า ใช้กลุ่มปัญจมูล ดรมXซลX กลุ่มเสียงปัญจมูล มฟซXทดX และกลุ่มเสียงปัญจมูล ฟซลXดรX ลักษณะเฉพาะของการดีดปินพบว่ามีทั้งหมด 9 วิธี ได้แก่ การดีดเติมเสียง การดีดซ้ำต้นพยางค์ การซ้ำพยางค์ข้ามห้อง การดีดสะบัด การกระทบสายทุ้ม การดำเนินทำนองข้ามช่วงเสียงเกินคู่ 8 การดีดสลับฟันปลา การขึ้นต้นไม่แปลทำนอง และการเปลี่ยนลูกเป็นคู่เสียง ส่วนลักษณะเฉพาะการสีสะล้อนั้นผู้วิจัยพบว่ามี 4 วิธี ได้แก่ การรูดนิ้วของสะล้อ การขยี้ของสะล้อ การประคบเสียงของสะล้อ และการไต่เสียงขึ้นลง และในด้านการขับซอพบว่ามี 5 วิธี การผันเสียง การเน้นคำ การเอื้อน การบรรจุคำ และการหายใจ การขับซอของวงสะล้อ ซอ ปิน ของครูอรุณศิลป์ ดวงมูล จังหวัดน่าน รักษาแบบฉบับดั้งเดิมที่ได้รับสืบทอดมาเพื่อคงไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่ายิ่งสืบไป
Other Abstract: The research findings shows that Wong Salah Saw Pin of Nan Province used to include Pii Joom to accompany a singer. Pi Joom was part of the ensemble until the reign of Chao Mahapromsuradhada and it was replaced by Saloh and Pin to accompany a singer since then. The Saloh Saw Pin ensemble of Nan province has four unique characteristics: (1) instrumentation; (2) melodies; (3) physical appearance of Saloh; and (4) dance accompanying to the ensemble. Master Arunsilp Daungmoon was one of the best disciple of Master Chailangka Krueasen, the National artist of 2530 B.E. in the field of local music performing art. In addition, he has inherited his master’s spirit to continue and promote Wong saloh Saw Pin of Nan Province. His work achieved and received a lot of rewards from the competitions at regional and national contests. The analysis of five melodies including of Dadnan, Lablaeng, Panfai, Bhamar Tatongteng, and Pralorderndong shows unique characteristics of Nan melodies. They are in the Panta Centric mode that contains the following sound; Do Re Mi X Sol La X, Me Fa Sol X Ti Do X andFa Sol La X Do Re X Nine methods of Pin performing techniques include filling the notes, repetition of the beginning syllables, repetition of the notes onto another measure, triplet, picking high and low notes of the same pitch on different strings, using an interval of 8th and more in melodic embellishments, upwards and downwards melodic directions, no embellishment at the opening phrase, and parallel fourth and fifth interval between singing and instrumentational lines. Moreover, there are 4 specific methods in fiddling Saloh consisting of sliding the finger, sixteenth-note phrases, softening the sound of Saloh. Five techniques of singing in the ensemble include changing the pitches, accentuating words, wordless embellishments, assigning the word into melodies, and breathing. His band, Wong Saloh Saw Pin of Nan Province is determined to preserve the original melodies of Nan to continue the invaluable cultural heritage of the predecessors
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55178
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.352
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.352
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786735935.pdf10.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.