Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55475
Title: ทัศนคติ ความเชื่อ วิถีปฏิบัติในการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในมหานคร : กรณีศึกษาพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: ATTITUDES, BELIEFS AND PRACTICES OF BUDDHISTS MERIT MAKING IN METROPOLIS : A CASE STUDY OF BANGKOK METROPOLITAN BUDDHISTS
Authors: รุ่งทิพย์ เลิศนิทัศน์
Advisors: อุ่นเรือน เล็กน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: unruan_t@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทัศนคติ ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติในการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยพื้นฐานเชิงพุทธ และจัดทำข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักการทางพระพุทธศาสนา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Analysis of Variance (ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างจากปัจจัยพื้นฐานเชิงพุทธทั้ง 5 สาย ได้แก่ 1) พุทธทั่วไป 2) สายปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐานสี่ 3) สายปฏิบัติวิชาธรรมกาย 4) ขบวนการพุทธใหม่ 5) สายปฏิบัติธรรมตามหลักอานาปานสติ พบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติและความเชื่อในการทำบุญไม่แตกต่างกัน หากแต่มีความเชื่อเรื่อง การทำบุญมากจะส่งผลดีในชาตินี้ และชาติหน้า และการทำบุญจะส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ร่ำรวย การงานมั่งคง ที่แตกต่างกัน สำหรับรูปแบบและวิถีปฏิบัติในการทำบุญ พบว่าทั้ง 5 สายปฏิบัติ เน้นการทำทานกับพระสงฆ์ และวัด ในระดับเท่า ๆ กันในระดับมาก (3.91) แต่ในแง่ของการรักษาศีล และการปฏิบัติภาวนา ทั้ง 5 สายเน้นการรักษาศีล 5 และการสวดมนต์ในระดับปานกลาง (3.10) และนั่งสมาธิในระดับน้อย (1.95) แตกต่างกับสายปฏิบัติแบบอานาปานสติที่มีการปฏิบัติภาวนามากกว่าสายปฏิบัติอื่น ดังนั้นจึงนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติภาวนา โดยสนับสนุนให้วัดจัดกิจกรรมการนั่งสมาธิวิปัสสนา มีพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำในการปฏิบัติ และจัดอย่างเป็นกิจจะลักษณะภายในวัด เพื่อส่งเสริมและยกระดับการทำบุญในด้านศีล และภาวนาให้เทียบเท่าสายปฏิบัติแบบอานาปานสติ
Other Abstract: The purposes of this research are to compare attitudes, beliefs and the Buddhist in Bangkok’s ways of making merit following Buddhist basic factors. And to make recommendations on the ways of making merit which conform to Buddhism’s principles. This research was Quantitative Research and research instrument was a Questionnaire. The statistic used was Analysis of Variance (ANOVA) at the significant level of .05. From the result of analysis, the difference of Buddhist basic factors from both 5 groups such as 1) general Buddhist 2) Satipatthana 3) Dhammakaya 4) Neo – Buddhist Movements and 5) Anapanasti, found that most of them have the same attitudes and beliefs in making merit but also have beliefs that making much merit will affect good results in present and next life and making merit will affect varying in a good life, wealthy, constantly job. For ways to practices making merit that following Buddhist basic factors found both 5 groups emphasize on giving with the monks and temples in the same level at high level (3.91). For keeping the Precepts and Bhavana, most of 5 groups emphasize to keeping the five precepts and praying by average 3.10 (middle level), but meditation has average at 1.95 (low level), especially Anapanasti has practices of meditation more than other groups. Thus the research results lead to recommendation that all temple should be supported to suitably holding Meditation Course. It is to encourage Bhavana to be improved as much as Anapanasati.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55475
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.682
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.682
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687146320.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.