Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55697
Title: กลยุทธ์การส่งเสริมการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู
Other Titles: STRATEGY FOR ENHANCING TEACHING CAREER OPTIMISM OF STUDENT TEACHERS
Authors: ณารีย์อร ภรณ์ธนธร
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th,Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: นักศึกษาครู -- ทัศนคติ
Student teachers -- Attitudes
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของการมองอาชีพครูในแง่ดีที่แตกต่างกันของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การส่งเสริมการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี แบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ (explanatory sequential design) ในการศึกษาระดับและสาเหตุของการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู เริ่มจากการศึกษาเชิงปริมาณ ตัวอย่างวิจัยคือ นักศึกษาวิชาชีพครู ระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 5 ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 506 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และใช้สถิติอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับสูงและต่ำ โดยใช้การทดสอบที (t-test) จากนั้นศึกษาเชิงคุณภาพจากการคัดเลือกกรณีศึกษานักศึกษาวิชาชีพครูที่มีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับสูงและต่ำ จำนวนกลุ่มละ 20 คน โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา นำไปสู่การเสนอกลยุทธ์การส่งเสริมการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู จากการวิเคราะห์ SWOT และ TOWS matrix ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของนักศึกษาที่มีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับสูงและต่ำ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์สาเหตุของการมองอาชีพครูในแง่ดี แบ่งออกเป็น สาเหตุที่ทำให้นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับสูง ประกอบด้วย 8 ประเด็น ได้แก่ ความประทับใจระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การได้รับการถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพครู การมีลักษณะนิสัยที่เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพครู การรับรู้ความสามารถในตนเอง การได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง การได้รับการสนับสนุนจากครูอาจารย์ ความประทับใจครูอาจารย์ที่เป็นต้นแบบ และความรู้สึกมั่นคงในการดำเนินชีวิต และสาเหตุที่ทำให้นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับต่ำ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ การประสบปัญหาระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การรับรู้ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ส่งเสริมการประกอบอาชีพครู การรับรู้ถึงผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่ากับภาระงานในการประกอบอาชีพครู อาจารย์ไม่ดูแลเอาใจใส่นักศึกษา และพฤติกรรมของอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี 3. กลยุทธ์การส่งเสริมการมองอาชีพครูในแง่ดีประกอบด้วย 25 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุกจำนวน 7 กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงแก้ไขจำนวน 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงป้องกันจำนวน 6 กลยุทธ์ และกลยุทธ์เชิงรับจำนวน 6 กลยุทธ์
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) studied the level of student teachers’ career optimism 2) analyzed the logic behind the differences of career optimism 3) purposed a strategy in which would enhance student teachers’ career optimism. Through a mix research methodology, explanatory sequential design, the research examined the level and underlying logic of student teachers career optimism by starting with quantitative analysis. The samples were 506 of 5th year student teacher undergraduates in urban area universities. The data were gathered through a series of questionnaires and analyzed through descriptive statistic. Inferential statistic was used to compare the average score among those who had high levels of student teacher career optimism and low level of student teacher career optimism through a t-test. Qualitative analysis would later be introduced to select 20 samples from each end of the career optimistic level. They would be interviewed by semi-structured format. The data would be analyzed through its context which would lead into proposing strategies that would support student teacher career optimism from SWOT and TOWS matrix. As a result, the research’s conclusions were as follows; 1. Overall, Students did have a high level of teaching career optimism. When compare the average between those who had high level of career optimism and low level of career optimism, the statistical difference was significant at .05. 2. After thoroughly examined the reasons behind student teacher career optimism from both high optimistic and low optimistic levels. The reasons for high level of optimism for teaching career were categorized into 8 categories; impression from experiences during teaching internship, being influenced by teaching process management from universities that support teaching career, teacher’s fundamental characteristics, self-efficacy, parental support, teacher support, impressions from role-model teachers, and stability in life. Secondly, the reasons for the low level of optimism for teaching career were categorized into 5 categories; troublesome experiences during teaching internship, the university’s teaching process did not endorse teaching career, imbalance of rewards and responsibilities in teaching careers, teacher’s negligent on students’ behaviors, and poor examples of teacher as a role-model. 3. There were 25 strategies for enhancing student teachers career optimism which is based on SWOT analysis and divided into 7 ‘SO’ strategies, 6 ‘WO’ strategies, 6 ‘ST’ strategies, and 6 ‘WT’ strategies
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55697
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.865
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.865
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883339627.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.