Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5628
Title: ธุรกิจการเงินการธนาคารในทัศนะของพุทธศาสนา
Other Titles: The banking and finance business from a buddhist perspective
Authors: สมศิริ ปรมัตถ์วินัย
Advisors: ปรีชา ช้างขวัญยืน
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Narong.Pe@Chula.ac.th
Subjects: ธุรกิจ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
ธนาคารและการธนาคาร -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
การเงิน -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาบทบาทของผู้ควบคุมทุนในสมัยพุทธกาลที่มีต่อสังคม เพื่อศึกษาทัศนะของพุทธศาสนาที่มีต่อธุรกิจจากเงินการธนาคารในปัจจุบัน และเพื่อเสนอรูปแบบและหลักการดำเนินการทางการเงินแบบพุทธ ผู้ควบคุมทุนสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าแผ่นดิน เศรษฐีและสมาคมพ่อค้า ผู้ควบคุมเหล่านี้มีบทบาทต่อสังคมในการช่วยเหลือผู้อ่อนแอกว่าในรูปของทานและหลักประกันของชีวิต ทั้งโดยการช่วยเหลือโดยอิสระและการประสานความร่วมมือกัน บทบาทดังกล่าวสอดคล้องกับอุดมคติของสังคมที่แสวงหาความหลุดพ้น ส่วนการดำเนินธุรกิจการเงินธนาคารในปัจจุบันที่ไม่สอดคล้องกับทัศนะของพุทธศาสนาคือ การจัดสรรทุนให้แก่กิจกรรมที่มีการเบียดเบียนชีวิต สติปัญญาและสิ่งแวดล้อมการบริโภคเพื่อความสบายอย่างเป็นหนี้ การเก็งกำไร และการไม่ตอบแทนแก่ผู้ให้ความพึ่งพาคือสังคมและรัฐ รูปแบบการดำเนินงานทางการเงินแบบพุทธคือ การปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอย่างมีเกณฑ์จำกัด เกณฑ์ดังกล่าวคือ อวิหิงสา สมชีวิตา กตัญญูกตเวทิตาและทาน โดยรูปแบบการจัดสรรทุนสู่สังคมมีทั้งการให้กู้และการร่วมทุน นโยบายของธนาคารพาณิชย์แนวพุทธคือการมีสำนึกในความพึ่งพิงที่ตนได้รับจากสังคมและรัฐจึงตอบแทนกลับคืนในรูปของการไม่หากำไรสูงสุด แต่ใช้รูปแบบการดำเนินงานทางการเงินแบบพุทธ ซึ่งจะทำให้การจัดสรรทุนช่วยสร้างคุณค่าความดี ทำให้ความทุกข์ในสังคมลดลง และเกิดความมั่งคั่งแก่รัฐซึ่งจะช่วยกำจัดความยากจนในสังคมหรือในโลก เพราะการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจอย่างมีความพอเหมาะในการบริโภคและการใช้จ่ายคือจุดเริ่มต้นของการกระจายทรัพย์แบบพุทธ
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the roles of capital controllers in society during Buddhist time, to study Buddhist perspective towards present banking and finance business, and to propose the Buddhist means and criteria for doing bangking and finance business. Capital controllers in Buddhist time were King, wealthy men and guilds. They played prominent role in the society individually or via coordination in helping the weaker in form of Dana and life security. This role corresponded with the ideal of the society seeking for enlightenment. Banking and finance business practices that do not conform with Buddhist view include giving loans to activites that endanger or oppress lives, aggravate intellect and environment, extending consumption loan, speculating supporting thereof and not returning favour to the patrons of the bank which are society and government. Buddhist way of doing financial business is fund management with limitations. These limitation are Avihimsa, Samajivita, Katannukatavedita,and Dana. Fund allocation to society by Buddhist bank can either be in the form of lending or joint-venture. The policy of Buddhist bank reflects its realization of patronage the bank receives from society and government, thus Buddhist bank does not maximize profits in return and, instead, employs Buddhist criteria in fund management. These criteria can help bring about good value while alleviate unhappiness in the society. They also eventually make the country wealthy which is the necessary factor for poverty eradication in the society as well as in the world. This could happen because an economically balanced livelihood is the beginning step of the Buddhist way of giving or wealth distribution.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พุทธศาสน์ศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5628
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.381
ISBN: 9741716737
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.381
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somsiri.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.