Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56926
Title: ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดน : กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Social interaction of ethnic groups in border area : a case study of communities in Mae Sot Municipality, Tak Province
Authors: ไพรินทร์ มากเจริญ
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supang.C@Chula.ac.th
Subjects: กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- ตาก
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
Ethnic groups -- Thailand -- Tak
Social interaction
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยร่วมกันในชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด ประการที่สอง เพื่อศึกษาการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ย้ายถิ่นเพื่อตั้งถิ่นฐานกลุ่มใหม่ในชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด ประการที่สาม เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการดำรงอยู่ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนในชุมชนเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด ประการที่สี่ วิเคราะห์การแบ่งแยกทางสังคมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในแง่เขตที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และประการที่ห้า เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมเกื้อหนุนการพึ่งพาอาศัยกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การวิจัยเอกสาร และการศึกษาภาคสนามโดยใช้การสังเกตและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่อำเภอแม่สอดกลุ่มชาติพันธุ์แรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ คือ ชาวกะเหรี่ยง ต่อมาได้มีชาวไทย ชาวจีนจากยูนนานชาวพม่า กลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามจากบังคลาเทศ ชาวไทยเหนือ และกลุ่มผู้นับถือศาสนาซิกข์และฮินดูอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยร่วมอยู่ด้วยตามลำดับ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองแม่สอดในอดีตนั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เริ่มต้นจากรูปแบบร่วมมือกัน เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพความเป็นอยู่ของเมืองแม่สอดที่ยังเป็นถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งเรื่องความคลุมเครือของความคิดว่าด้วยเรื่องของพรมแดนและรัฐชาติ ทำให้เกิดการเปิดรับกลุ่มต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ เมื่อกาลเวลาผ่านไปปฏิสัมพันธ์แบบร่วมมือก็ดำเนินไปสู่รูปแบบผสมกลมกลืนและยอมรับซึ่งกันและกันในที่สุด ส่วนในเรื่องการปรับตัวนั้น พบว่า แรงงานอพยพที่มาจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่กำลังปรับตัวจากระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระยะการตั้งถิ่นฐาน อย่างไรก็ตามมีบางเงื่อนไขที่แรงงานอพยพจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่ส่วนใหญ่ยังปรับตัวได้ไม่ดีนัก คือ การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกับคนและองค์กรในพื้นที่แม่สอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกังองค์กรราชการ แต่ในส่วนขององค์กรเอกชนและองค์กรที่ผู้ย้ายถิ่นเป็นผู้ก่อตั้งนั้นกลับพบว่าแรงงานอพยพจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่สามารถเข้าถึงและรู้จักการมีอยู่ขององค์กรเหล่านี้อย่างดี ในขณะที่การปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจและแบบแผนการใช้จ่ายกลับมีการปรับตัวได้ดี ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแม่สอดกลุ่มเก่ากับกลุ่มแรงงานที่อพยพมาจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่นั้นพบว่าเป็นไปในรูปแบบของการสมานลักษณ์ (accommodation) มากที่สุด โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบนายจ้างกับลูกจ้างและเจ้าของห้อง/ที่ดินกับผู้เช่าแต่ไม่มีความสนิทสนมมากนัก ในแง่การแข่งขันพบว่ามีการแข่งขันในเรื่องของการทำงาน ในแง่ความร่วมมือพบว่ามีทั้งความร่วมมือแบบสมัครใจ คือ ความร่วมมือด้านศาสนา และความร่วมมือแบบถูกเกณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน ในแง่ความขัดแย้งเกิดขึ้นจากความไม่พอใจของคนในพื้นที่กลุ่มเก่าต่อแรงงานอพยพจากประเทศพม่ากลุ่มใหญ่ที่เข้ามาสร้างปัญหาต่างๆ ในชุมชน ส่วนในแง่ของการผสมกลมกลืนนั้นเป็นไปได้ในลักษณะของการสมรสข้ามวัฒนธรรมและบุตรที่เกิดในประเทศไทย ในส่วนของการแบ่งแยกทางสังคมในด้านกายภาพพบว่ในพื้นที่อำเภอแม่สอดยังมีการแบ่งแยกทางสังคมอยู่ โดยเฉพาะการแบ่งแยกในเรื่องเขตที่อยู่อาศัย เนื่องจากคนในพื้นที่กลุ่มเก่ามักจะไม่อาศัยอยู่ในห้องเช่าหรือบริเวณเดียวกับที่มีแรงงานอพยพจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่อาศัยอยู่ รวมทั้งยังมีการแบ่งแยกระหว่างคนในพื้นที่กลุ่มเก่ากับแรงงานอพยพจากประเทศพม่ากลุ่มใหม่เนื่องจากมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อแรงงานอพยพจากประเทศพม่าที่เข้ามาและสร้างปัญหาในชุมชนในด้านการแบ่งแยกทางด้านศาสนาพบว่าแทบไม่มีเกิดขึ้นในพื้นที่ มีเพียงแต่เรื่องการบริจาคทานของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีข้อจำกัดว่าต้องบริจาคให้แก่ผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกันเท่านั้น ส่วนการแบ่งแยกที่ไม่พบเลย คือ เรื่องเพศ
Other Abstract: The study of social interaction of ethnic groups in the border area of Mae Sot Municipality, Tak province contains five objectives. First, to study the course and background of each ethnic group living in Mae Sot municipality, Tak province. Second, to study the adaptation of different ethnic groups that relocated and settled in Mae Sot. Third, to analyze the social interaction among various ethnic groups. Fourth, to analyze the social segregation of each ethnic group. Fifth, to develop a proposed social policy to promote the positive interaction and social support among the groups. This study uses qualitative research methodology. The researcher gathered all the information from two sources; documents and field work study using observation and in-depth interview technique. The research found that the first group who came to Mae Sot was the Karen, followed by Thai, Yunnanese, Burmese, Muslim from Bangladesh, northern Thai and Sikh-Hindus respectively. The social interaction between each ethnic group started from the cooperation among the groups in order to fight with the difficult living condition and thus gained acceptance between each other. Besides, the idea of border and state are not the issue at that time, so different ethnicities were accepted to local area easily. The social cooperation among the ethnic groups increased over time. In case of adaptation, this study found that migrant workers from Myanmar who migrated to the area most recently is in the stage of transition to settlement in the area. The condition that migrant workers still not well adapted is the communication with local people and organizations, especially government sectors. But for the NGOs and local organizations that migrants have established, the research found that migrant workers are able to access and know these organizations quite well. As for economic adaptation, most migrant workers adapt well in terms of spending pattern. The social interactions between old ethnic groups and new migrant workers could be divided into two patterns. One is "employer - employee relationship". Second is "landlord and tenant relationship" which were not a very close relationship. The social segregation found in Mae Sot area is the physical separation of the residential areas because the old ethnics or local people do not want to live in the area where the migrant workers live. There are two forms of cooperation: migrants voluntary cooperate in religious work but not in other community development work which they cooperate involuntarily. Some local people have negative attitude toward migrant workers who have been considered as trouble makers in the community. The study hardly found religious discrimination, only that Muslim's donation has to donate to Muslim. There is no sexual discrimination among ethnics found in the area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56926
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1001
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1001
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pairin_ma_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch1.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch2.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch3.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch4.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch5.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_ch6.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
pairin_ma_back.pdf956.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.