Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5759
Title: การแพร่กระจายโรคเอดส์ในพื้นที่เขต 10 ของกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Diffusion of AIDs in zone 10 of the Ministry of Public Health
Authors: วิสาส์ วิเศษจินดาวัฒน์
Advisors: ดวงพร นพคุณ
บงกชรัตน์ เตชะไตรศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Duangporn.N@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรคเอดส์
โรคเอดส์ -- การแพร่ระบาด -- ไทย (ภาคเหนือ)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหา อัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ เขต 10 ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยทั้งประเทศมาโดยตลอด งานวิจัยในครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องเพื่อศึกษาการกระจาย การแพร่กระจายโรคเอดส์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายโรคเอดส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2540 ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ใน 2 ลักษณะคือ เพิ่มขึ้นและลดลง จังหวัดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคือ จังหวัดลำปาง พะเยาและเชียงราย ส่วนจังหวัดที่มีแนวโน้มลดลงคือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและแม่ฮ่องสอน การกระจายส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเพศชาย อายุ 26-40 ปี มีลักษณะปัจจัยเสี่ยงจากเพศสัมพันธ์ และมีพฤติกรรมทางเพศแบบรักต่างเพศ และอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร จากการศึกษาการแพร่กระจายโรคเอดส์ในเชิงพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ค่าสัดส่วนเอดส์พบว่า ศูนย์กลางการแพร่กระจายอยู่ทางตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่ ต่อมาจึงมีการแพร่กระจายไปสู่พื้นที่อื่น โดยมีการแพร่กระจายช้าทางตะวันตก และทางใต้ของพื้นที่ศึกษา รูปแบบของการแพร่กระจายโรคเอดส์เป็นแบบลำดับขั้น โดยเริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีระดับความเป็นเมืองสูงที่สุด แล้วแพร่กระจายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ที่มีความเป็นเมืองรองลงมา และมีเส้นทางการแพร่กระจาย ไปตามแนวเส้นทางคมนาคมสายหลักของพื้นที่ กล่าวโดยสรุป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายคือ ปัจจัยด้านระยะห่างจากแหล่งกำเนิด ความเป็นเมืองและเส้นทางคมนาคม การศึกษาการแพร่กระจายในเชิงพื้นที่ ทำให้เข้าใจถึงการแพร่กระจายของโรคเอดส์ โดยเฉพาะหากได้ศึกษาในหลายภูมิภาค และมาตราส่วน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนด้านการป้องกัน และการจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขต่อไป
Other Abstract: Thailand is a country facing the continuing increase of HIV/AIDS rates especially in zone 10 of the Ministry of Public Health where the number of HIV/AIDS infection has been more than half of all cases in the country. This research is a pilot study which examines the distribution, the diffusion of AIDS, and the factors related to the diffusion during 1988-1997. Results revealed both an increasing and decreasing trends of HIV/AIDS cases. The former comprised Lampang, Phayao, and Chiang Rai provinces whereas the latter consisted of Chiang Mai, Lamphun, and Mae Hong Son provinces. Most of HIV/AIDS cases were heterosexual males aged 26-40 years with a risk factor of sex behavior. Their major occupations were labor and agriculture. The spatial diffusion of AIDS, analyzed by AIDS quotient, showed that the diffusion originated in the central and the northern parts of the study region. Then it expanded slowly to the west and the south. The pattern of AIDS diffusion was a hierarchical one with Chiang Mai, the most urbanized provinces, as its origin followed by a spread to lesser urbanized areas. The path of diffusion was along main highways. In sum, factors related to the diffusion included distance from the origin, urbanization, and transportation. The study of spatial diffusion can contribute to an understanding of AIDS epidemic if it is carried out in many regions and scales and to prevention plans as well as health resources allocaiton.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5759
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.183
ISBN: 9743463852
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.183
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisa.pdf13.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.