Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58296
Title: จิตรกรรมร่วมสมัยผ่านภาพลักษณ์ตุ๊กตาจีน : ความทรงจำจากบทบาทและสถานภาพของเพศหญิงในวัฒนธรรมไทย-จีน
Other Titles: Contemporary paintings of Chinese doll images : memories of the status and the role of women in the Chino-Thai culture
Authors: ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์
Advisors: กมล เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kamol.Ph@Chula.ac.th,kamoldoxza@gmail.com
Subjects: ตุ๊กตา
จิตรกรรม
วัฒนธรรม
Dolls
Painting
Culture
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบปิตาธิปไตย (Patriarchy) ในลัทธิขงจื้อ เป็นจารีตที่กำหนดบทบาทและสถานภาพของเพศหญิงในวัฒนธรรมจีนโดยให้ “เชื่อฟัง” และ “ทำตาม” ยกย่องและเชิดชูเพศชาย นำมาสู่การวิจัยสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บทบาทและสถานภาพของเพศหญิงจีนแต้จิ๋วในสังคมไทย 3 ช่วงอายุ เพื่อกำหนดแนวคิดในการสร้างสรรค์ 2) วิเคราะห์แนวคิด และภาษาทางทัศนศิลป์ศิลปะกลุ่มสตรีนิยม และผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยทฤษฎีสัญวิทยา เพื่อเป็นแนวทางการสร้างภาษาทางทัศนศิลป์ที่สะท้อนบทบาทและสถานภาพสตรีจีนในไทย และ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์เป็นฐานต่อศิลปะสตรีนิยมในประเทศไทย ผู้วิจัยสำรวจชุมชนชาวจีนและเก็บข้อมูลกลุ่มสตรีจีนแต้จิ๋วใน 3 ช่วงอายุ ประกอบด้วย สตรีจีนโพ้นทะเล อายุ 70 ปี ขึ้นไป 4 คน สตรีไทยเชื้อสายจีน อายุ 70 – 50 ปี 12 คน และ สตรีลูกหลานชาวจีน อายุต่ำกว่า 50 ปี 7 คน รวม 23 คน เพื่อวิเคราะห์ค่านิยมสตรีจีนใช้กำหนดแนวเรื่องในการสร้างสรรค์ พบว่า จารีตขงจื้อให้คุณค่าแก่สตรีที่ยอมเป็นเบี้ยล่าง ถูกกดทับ เชื่อฟัง เป็นผู้ตาม ไร้อารมณ์ และอยู่ในบ้าน การวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมศิลปะกลุ่มสตรีนิยมด้วยทฤษฎีสัญวิทยา พบว่า ตุ๊กตาจีน ลวดลายคราม 1) มังกร 2) เล่าเรื่อง 3) พรรณพฤกษา ข้าวของเครื่องใช้ในการทำงานบ้าน และการประกอบพิธีกรรม ผสานการใช้ค่าต่างแสง (Chiaroscuro) สามารถเป็นภาษาทางทัศนศิลป์ โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย แรงบันดาลใจ แนวคิดในการสร้างสรรค์ การค้นหาภาษาทางทัศนศิลป์ และการทดลองและนำไปสู่ข้อเสนอแนะ จากผลของงานสร้างสรรค์สามารถสรุปได้ว่า ภาษาทางจิตรกรรมสามารถสื่อสารชีวิตร่วมสมัยของสตรีจีนในประเทศไทย สะท้อนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และนำเสนอแบบภาพแทนบุคคล (Portrait) และภาพแทนตนเอง (Self-Portrait) เป็นฐานองค์ความรู้และกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสตรีนิยมในประเทศไทย
Other Abstract: The Chinese tradition is mainly rooted in Confucian patriarchal kinship, which regulates the “deferential” and “obedient” roles of Chinese women, and the praise and admiration of men within familial and social aspects of their culture. Through creative research, three objectives are sought in the present study. First, to analyze the role and status of the three generations of Teochew (Chinese ethnicity) migrant women in Sino-Thai culture in order to frame creative concepts. Second, to analyze the visual language and concepts based on Feminist Art and contemporary Chinese art by using semiotic analysis. Third, to contribute in the understanding on how the creative process is conducted based on Feminist Art in Thailand. To understand the creative process, 23 Teochew women from three generations were asked to narrate their own perceptions and experiences under Chinese patriarchal culture. Of the 23 women, 4 first generation of Chinese migrants are aged over 70, 12 second generation of Sino-Thais are aged 50 to 69, and 7 third generation of Thais are aged under 49. The results revealed that in a Confucian family, the perceived female role and characteristics include being obedient, ‘good mannered’, ‘quiet’, and ‘largely confined to the home’. Based on semiotic analysis, a series of paintings were created including Childhood (4), Adulthood (4), and Old Age (2). This series of paintings convey the feelings, memories, and experiences of Teochew women represented in the form of a Chinese doll with Chinese traditional motifs’ symbols such as dragon, way of life paintings, and floral patterns, household and ritual objects by using Chiaroscuro technique. The series of paintings represent Chinese ethnic identity, portraits and self-portraits, and the repression of women under a male-dominated culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58296
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1478
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1478
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786825735.pdf16.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.