Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58556
Title: | การแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน |
Other Titles: | The performance of Thossagan taking a bath, part Thossagan going to the garden |
Authors: | วรวุฒิ หมั่นสุจริต |
Advisors: | วิชชุตา วุธาทิตย์ สมศักดิ์ ทัดติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vijjuta.V@Chula.ac.th,Vijjuta@yahoo.com |
Subjects: | อร่าม อินทรนัฏ การแสดงบทบาท นาฏยประดิษฐ์ -- ไทย การรำ -- ไทย Aram Indranut Role playing Choreography -- Thailand Dance -- Thailand |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน ที่สืบทอดจากครูอร่าม อินทรนัฏ มาสู่วิทยาลัยนาฏศิลป มุ่งศึกษาว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์ครูผู้ใหญ่หลายท่านที่ได้รับการถ่ายทอดท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน จากครูอร่าม อินทรนัฏ มุ่งศึกษากระบวนท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน เพื่ออนุรักษ์ท่ารำที่สืบทอดกันมาแล้วบันทึกท่ารำไว้ โดยรับการถ่ายทอดท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน จากอาจารย์สมศักดิ์ ทัดติผลการศึกษาสรุปได้ว่า ครูอร่าม อินทรนัฏ ได้รับการถ่ายทอดท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์ลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน จากพระยานัฏกานุรักษ์(ทองดี สุวรรณภารต)และคุณหญิงนัฏกานุรักษ์(เทศ สุวรรณภารต) และครูอร่าม อินทรนัฏได้ถ่ายทอดท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน ให้กับศิษย์ของท่านในวิทยาลัยนาฏศิลป จนกระทั่งท่านเสียชีวิต การแสดงบทบาทรำทศกัณฐ์ลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน ตัวละครมีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปเกี้ยวนางสีดา ดังนั้นกลวิธีการรำจึงต้องสง่า องอาจ แบบตัวยักษ์และในขณะเดียวกันก็ต้องซ่อนทีรำแบบเจ้าชู้อยู่ในตัวด้วย ซึ่งการรำซ่อนทีนี้ถือเป็นหัวใจหลักในการแสดงออกของตัวละคร การแต่งกายในการลงสรงครั้งนี้แตกต่างกับการลงสรงครั้งอื่นๆ คือ มีการพาดผ้าคล้องพระศอ ถือพัด และคล้องพวงมาลัย ส่วนเครื่องประกอบที่ใช้ในการลงสรงล้วนแล้วแต่ต้องเป็นเครื่องทองทั้งสิ้น เพราะเป็นการบ่งบอกฐานะความเป็นกษัตริย์ของตัวละคร สรุปได้ว่าท่ารำการแสดงบทบาททศกัณฐ์รำลงสรง ตอน ทศกัณฐ์ลงสวน ได้รับการถ่ายทอดจากพระยานัฏกานุรักษ์(ทองดี สุวรรณภารต)และคุณหญิงนัฏกานุรักษ์(เทศ สุวรรณภารต) สู่ครูอร่าม อินทรนัฏ และท่านได้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำนี้สู่ศิษย์ในวิทยาลัยนาฏศิลปอีกหลายท่านจนท่านเสียชีวิต กลวิธีการรำต้องมีความสง่า องอาจ และมีการซ่อนทีรำแบบเจ้าชู้อยู่ในตัวด้วย ปัจจุบันการอนุรักษ์ท่ารำนั้นทำได้ง่ายโดยการบันทึกท่ารำลงในแผ่นบันทึกภาพ และเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้รับชมเพื่อป้องกันท่ารำอันทรงคุณค่านี้มิให้สูญหายไป |
Other Abstract: | This study aimed at analyzing the role of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden. This play was derived from Teacher Aram Indranut and inherited to The College of Dramatic Art. This study aimed at (1) investigating who invented the performance of this play by interviewing senior teachers who studied the performance from Teacher Aram Indranut, (2) studying the way of dancing The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden in order to preserve the way of dancing and (3) recording the gestures of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden inherited from Ajarn Somsak Thaddi. It can be concluded that Teacher Aram Indranut was instructed the role of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden by Phrayanatakanurak (Thongdee Suwanparot) and Khunying Natakanurak (Thed Suwanparot). After that Teacher Aram Indranut taught this role to her students at The College of Dramatic Art until he passed away. The objective of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden was to court Sita (Ther heroine). The gesture must be dignified as a demon and also must be flirting in the meantime. The concealing gesture in the heart of dancing of the dancers. The dressing of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden from the dressing of other actors’ taking a bath, such as Thossagan has a piece of cloth placing around the neck, a fan and a garland, and also all the ornaments in this occasion are made of real gold which indicate the status of the king of the dancer. It can be conducted that The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden dance in the act of The performance of Thossagan taking a bath, Part Thossagan going to the garden was inherited from Phrayanatakanurak (Thongdee Suwanparot) and Khunying Natakanurak (Thed Suwanparot) and then was passed to Teacher Aram Indranut who taught this role to his students at The College of Dramatic Art until he passed away. The gesture of dancing dignified the flirting in the meantime. At present it in easy to preserve the performance by recording into the CD(Compact discs) publicizing to audience in order not to lose this precious performance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58556 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1165 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1165 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Worawut Mansujarit.pdf | 8.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.