Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5884
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2547 : รายงานการวิจัย
Other Titles: The relationship between a determination of the alternative happy week programs and grade 1 student’ achievement in academic year 2004
Authors: นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์
ศรียา เนตรน้อย
อนุทัย โรจนวิภาต
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ปีการศึกษา 2547 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมที่นักเรียนเลือกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชานั้น 2) ศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ระหว่างนักเรียนที่มีโปรแกรมการเลือกเรียนแตกต่างกัน ประชากรในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 226 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการรวบรวมระยะยาว รวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มเดียวกัน 3 ครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเลือกของนักเรียน ตลอดการเลือกทั้ง 3 ครั้งพบว่า มีเพียง 1โปรแกรมที่มีความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมการเลือกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ โปรแกรมภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบค่าความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ.05 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่ละรายวิชาพบว่า ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนที่เลือกเรียนตามโปรแกรมต่างๆมีค่าเฉลี่ยของคะแนนรายวิชาสูงทุกวิชา 3) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ภาคต้นและภาคปลาย คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของนักเรียนสูงขึ้นทุกวิชาเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มวิชากับโปรแกรมที่นักเรียนเลือกในแต่ละครั้งเป็นดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย 3.958และ 3.942ตามลำดับ 2) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การวัดครั้งครั้งที่1คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย 3.980และ3.973 ตามลำดับ 3) การวัดครั้งที่2 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง8 กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย 3.989และ3.978 ตามลำดับ
Other Abstract: The objectives of the study of the relationship between a determination of the alternative happy week programs and grade 1 students’ achievement on Chulalongkorn University Demonstration Elementary School in academic year 2004 were 1) to study the relationship between the determination of the alternative happy week program highlighted on each subject and grade 1 students’ achievement on that particular subject area. 2) to compare the grade point average of the students among the different programs. The population of this study were 266 grade 1 students in academic year 2004. Data collection had respectively been taking place for 3 times. SPSS program was used to analyze the data. It was found that 1) the relationship between a determination of the alternative happy week programs highlighted in Thai and grade 1 students’ achievement in Thai was at .05 level of significance. 2) students’ achievement in each subject area was at high level. 3) students’ achievement in each subject area was gradually higher when they moved to grade 2. According to the relationship between the determination of the alternative happy week programs and students’ achievement, it was found that 1) in academic year 2004, students’ grade point average in each subject area was at high level especially in music and work occupation which were 3.958 and 3.942 respectively. 2) when these students moved to grade 2, collecting data for the first time of the academic year 2005 was taken place, it was shown that students’ grade point average in each subject area was at high level especially in music and work occupation which were 3.980 and 3.973 respectively. 3) the second time of the academic year 2005 was taken place, it was shown that students’ grade point average in each subject area was at high level especially in music and work occupation which were 3.989 and 3.978 respectively.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5884
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navarat.pdf721.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.