Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59039
Title: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณสัตว์
Other Titles: Legal measures for the prevention of cruelty to animals
Authors: ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ
Email: No information provided
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: สวัสดิภาพสัตว์
สวัสดิภาพสัตว์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Animal welfare
Animal welfare -- Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทารุณสัตว์เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่กระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการใดๆ อันเป็นสาเหตุทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และ/หรือตายโดยไม่มีเหตุจำเป็นหรือไม่มีเหตุอันสมควร จากลักษณะของการทารุณสัตว์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่สัตว์อย่างมาก และยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศีลธรรมที่เสื่อมโทรมของคนในสังคม พฤติกรรมการทารุณสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงมีในสังคมของมนุษย์ที่เจริญแล้ว สำหรับประเทศไทยแม้จะมีบทบัญญัติกฎหมายในลักษณะห้ามมิให้บุคคลกระทำการอันเป็นการทารุณต่อสัตว์ ปรากฏอยู่ในมาตรา 381 และมาตรา 382 ภาคความผิดลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญาก็ตาม แต่จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติที่มีอยู่นั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาใช้ เพื่อให้ความคุ้มครองและป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะขาดกลไกและมาตรการที่เหมาะสม จึงสมควรบัญญัติกฎหมายในการป้องกันการทารุณสัตว์ขึ้นไว้โดยเฉพาะ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและนานาอารยประเทศ อนึ่ง ถึงแม้ในขณะนี้พบว่าประเทศไทยกำลังมีการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ... ขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะแล้วก็ตาม แต่จากการศึกษาวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์เปรียบเทียบกับบทบัญญัติในกฎหมายต่างประเทศแล้ว พบว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ยังมีบางเรื่องบางประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนของการกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ และบทบังคับของกฎหมายที่ควรนำเอามาตรการทางกฎหมายอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากมาตรการลงโทษทางอาญา เข้ามาใช้เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณสัตว์ดังกล่าวนั้น มีความเหมาะสมสอดคล้องเป็นไปตามหลักสากลที่ยอมรับได้ และเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The cruelty to animals is behavior of person which does or omits to do any act which causes the suffering and/or dead without any necessary or probable cause. The act of cruel to animal made them very painful and suffered. This act reflects the low moral of the people in a society, therefore cruelty to animal behavior should not happen in civilized social. In case of Thailand, there were such provisions in section 381 and section 382 in the Petty Offended of the Criminal Code, however the author found that such provisions are uncover and uncertainty to protect and prevent act of cruelty to animals because it has lack of suitable mechanism and measure, therefore sui-generic provision has to be adopt like in every other countries. However, Thailand, nowadays, are drafting the Act on Cruelty to Animal Prevention and the Welfare of Animals B.E. ... to protect animal for such yet from the study which comparing the legal provisions of foreign country, the author found that the draft has to be amended and added certain legal issues especially the definition of the cruelty behavior and any legal sanction other than criminal sanction measure as in foreign country to make the legal provision concerning the cruelty to animals suitable and consistence with the international standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59039
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1257
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1257
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanvarat Rojanarowan.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.