Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59167
Title: การส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม : พหุกรณีศึกษา
Other Titles: The enhancement and development of social skills of autistic children using participatory action research processes in mainstreaming schools : a multi - case study
Authors: พรศิริ บรรจงประเสริฐ
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: เด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก -- การศึกษา
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
ทักษะทางสังคม
ทักษะทางสังคมในเด็ก
Autistic children
Autistic children -- Education
Education -- Parent participation
Social skills
Social skills in children
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม : พหุกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (2) ศึกษาวิธีการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกโดยใช้ กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ (3) ศึกษาผลของการใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและ พัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของครูประจำชั้น ผู้ปกครอง ครูผู้สอน เด็กออทิสติกและเด็กปกติเพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยทำการศึกษาในโรงเรียนที่ จัดการเรียนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการที่หลากหลาย ทั้งจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้าง ข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนามี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วน ร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม พบว่า นักเรียนยังให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มน้อย ขาดความกระตือรือร้นที่จะเข้า หากลุ่ม และยังขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม 2) ด้านการสื่อสาร พบว่านักเรียนยังไม่ค่อย พูดคุยกับเพื่อนทั้งในเวลาเรียนและเวลาพัก รวมทั้งไม่เป็นฝ่ายเริ่มต้นการสนทนากับผู้อื่นก่อน และ 3) ด้านปฏิสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนมักแยกตัวออกจากเพื่อน อยู่คนเดียวเป็นส่วนใหญ่ และจะไม่เข้าไปร่วมเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อน 2. ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของ เด็กออทิสติก โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติก โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) การวิจัย ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยกับครูประจำชั้น 2) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างครูประจำชั้นกับ ผู้ปกครอง 3) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างครูประจำชั้นกับครูผู้สอนเด็กออทิสติก และ 4) การวิจัยปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมระหว่างครูประจำชั้นกับเด็กปกติ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Plan) 2) การปฏิบัติ (Act) 3) การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (Observe) และ 4) การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน (Reflect) ซึ่งผลจากการใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้ ได้กิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมห้องสมุด 2) กิจกรรม โครงการจิตอาสา “เพื่อนช่วยเพื่อน” 3) กิจกรรมเกมฐาน 4) กิจกรรมการแข่งขันระหว่างกลุ่ม และ 5) กิจกรรมเรียนไวโอลิน 3. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมพบว่านักเรียนมีทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้านดีขึ้น รวมทั้งนักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคม
Other Abstract: The objectives of an application of participatory action research to develop social skills of autistic children in mainstreaming schools: A multi - case study are (1) to study social skills of autistic children through participatory action research, (2) to investigate the processes that enhance and develop social skills of autistic children through participatory action research, and (3) to study the outputs of implementation of participatory action research to enhance and develop social skills of autistic children. Participatory research of teachers, parents, autistic students, and ordinary students was conducted in mainstreaming schools in Bangkok Metropolitan to enhance and develop the social skills of autistic children. The data collection processes used were observation, interview, focus group and literature survey. The research data were analyzed by employing content analysis and inductive conclusion. The research results were: 1. There were 3 main social skills of autistic children that should be developed: 1) the participatory skill in group activity i.e. autistic children slightly participate group activities, they lack of enthusiasm and self-responsibility. 2) the communication skill i.e. autistic children do not start talking with others first. There rarely speak with their classmates during the class and the break time. And 3) the interaction skill i.e. autistic children tend to isolate themselves form others. They don’t joy activities with their classmates 2. The participatory action research used to enhance and develop social skills of autistic children was designed into four models working with relevant persons as following 1) the participatory action research collaborating between the researcher and the advisers 2) the participatory action research collaborating between the advisers and the parents 3) the participatory action research collaborating between the adviser and the autistic students teachers and 4) the participatory action research collaborating between the advisers and the ordinary students. All four models were conducted by 4 steps ranging from 1) planning 2) acting 3) observation and 4) reflection. Five activities developed for supporting the social skills of autistic children were composed of 1) library activities 2) peer for peer activities 3) game activities 4) group competition activities and 5) music (violin) activities. 3. By applying participatory action, it was found that the three main social skills of the autistic student have been improved and resulted in satisfaction of the students and their parents.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.709
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.709
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsiri Banjongprasert.pdf73.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.