Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59482
Title: ผลกระทบจากการกระเจิงของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ต่อค่าความถูกต้องทางตำแหน่ง โดยใช้ข้อมูลจีเอ็นเอสเอส ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effect of ionosphere scintillation phenomenon on positioning accuracy using GNSS observation at Chulalongkorn University
Authors: พิมลพรรณ มานุจำ
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th,csatirapod@gmail.com
Subjects: ไอโอโนสเฟียร์
ดาวเทียมในการรังวัด
Ionosphere
Artificial satellites in surveying
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าค่าคลาดเคลื่อนจากชั้นบรรยากาศ Ionosphere เป็นค่าความคลาดเคลื่อนที่สำคัญในการรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS ซึ่งค่าคลาดเคลื่อนจากชั้นบรรยากาศ Ionosphere จะทำให้ค่าความถูกต้องเชิงตำแหน่งจากการังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS มีค่าลดลง มีสาเหตุมาจากปริมาณรวมของอิเล็กตรอนอิสระในชั้นบรรยากาศ Total Electron Content (TEC) มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าสภาวะการกระเจิงของสัญญาณดาวเทียม GNSS ในชั้นบรรยากาศ Ionosphere (Ionosphere Scintillation) ซึ่งจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เกิดปรากฏการณ์วัฏจักรสูงสุดของดวงอาทิตย์ (Solar Maximum) ในบทความนี้ใช้ข้อมูลสัญญาณดาวเทียม GNSS ที่สถานี CUSV ช่วงปี 2013 ในการทดลอง โดยทำการวิเคราะห์ค่า S4 index โดยใช้โปรแกรม Rxtools สัญญาณดาวเทียม GNSS ที่ได้รับผลกระทบจาก Ionosphere Scintillation จะถูกคัดเลือกและประมวลผล ผลการทดลองที่ได้สามารถสรุปได้ว่า ดาวเทียมที่ถูกรบกวนด้วยปรากฏการณ์ Ionosphere scintillation (S4 index สูงกว่า 0.6) จะมีค่า TECU ที่ผันผวนมากกว่าปกติ นอกจากนั้นค่า S4 index สำหรับดาวเทียมที่มีมุมสูงต่ำนั้น มีค่าใกล้เคียงกับค่า S4 index ที่ได้จากดาวเทียมที่เกิดผลกระทบจาก Ionosphere scintillation ดังนั้นผู้ทำงานวิจัยในด้านนี้จึงควรคัดเลือกดาวเทียมที่เกิด Ionosphere scintillation ในดาวเทียมที่มีค่ามุมสูงมากกว่า 10 องศาขึ้นไป เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการคัดเลือกดาวเทียมที่เกิด Ionosphere scintillation มาใช้ในงานวิจัยต่อไป และค่าความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ได้จากการประมวลผลด้วยข้อมูลที่ได้จากที่ได้จากสัญญาณดาวเทียมปกติ นั้นดีกว่าค่าความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ได้จากสัญญาณดาวเทียมที่ถูกรบกวนด้วยปรากฏการณ์ Ionosphere scintillation ดังนั้นจึงไม่ควรนำดาวเทียมดังกล่าวมาใช้ในการประมวลผลร่วมกับดาวเทียมปกติดวงอื่นๆ
Other Abstract: It is well known that the ionospheric bias is considered as the main error source in the GNSS observations. The ionospheric bias degrades the accuracy of GNSS positioning results especially when the fluctuation and rapid change in Total Electron Content (TEC) occur. This phenomenon is usually called an ‘Ionosphere Scintillation’ which occurs much more often in the Solar Maximum year. This paper analyzes the GNSS data during the period of 2013 collected at the CUSV station. The S4 index, is calculated from the GNSS signals via the Rxtools software. The results can be summarized as follows. The Satellites effected by the Ionosphere scintillation phenomenon (S4 index higher than 0.6) have a more volatile TECU than normal. In addition, the S4 index for low-elevation angle satellites is similar to the S4 index obtained from satellites that are impacted by Ionosphere scintillation. Therefore, Researchers in this field should select Ionosphere scintillation satellites with a high elevation angle of more than 10 degrees to prevent mistakes in selecting the satellite effected by Ionosphere scintillation in the next research. And the positional accuracy from processing with the data obtained from the normal satellite signal is better than the positional accuracy from satellite signals that are disturbed by the Ionosphere scintillation phenomenon. Therefore, satellite effected by Ionosphere scintillation should not be used in processing with other normal satellites.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59482
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1399
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770506821.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.