Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59737
Title: การนำของเสียฉนวนร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะเป็นวัสดุผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และคอนกรีตบล็อก
Other Titles: Utilization of rock wool, water treatment sludge and nonmetallic plate from printed circuit board in concrete roofing tile and hollow concrete block
Authors: ปาณิสรา นามจันทร์
Advisors: สุธา ขาวเธียร
พูลศักดิ์ เพียรสุสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutha.K@Chula.ac.th,Sutha.K@chula.ac.th
fceppa@eng.chula.ac.th
Subjects: การจัดการของเสีย
น้ำ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Refuse and refuse disposal
Water reuse
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการของเสีย โดยใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลของเสียทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และผงที่บดจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะ มาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุแทนที่มวลรวมละเอียด ในการผลิตกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และอิฐบล็อกปูผนัง ซึ่งจะทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของของเสียแต่ละชนิด ทำการศึกษาสมบัติของวัสดุก่อสร้าง โดยใช้อัตราส่วนผสมของปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.45 ศึกษาค่าอัตราส่วนของของเสียแต่ละชนิดต่อทรายที่ร้อยละ 1, 5, 10 และ 20 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาในการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะส่งผลให้มอร์ตาร์มีค่าความหนาแน่น กำลังรับแรงอัด และแรงกดแตกตามขวางลดลง แต่ค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นวัสดุป้องกันความร้อนที่ดีขึ้น และการแทนที่ด้วยเส้นใยร็อควูลและตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงให้มอร์ตาร์มีสมบัติการทนไฟสูง โดยอัตราส่วนการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาบ่ม 28 วัน เนื่องจากเมื่อนำไปผลิตเป็นกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ที่ผสมของเสียแล้วพบว่า มีค่าแรงกดแตกตามขวางและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ (มอก. 535-2556) และเมื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกปูผนังที่ผสมของเสียพบว่า มีค่ากำลังรับแรงอัดและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานอิฐบล็อกไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2533) ยิ่งไปกว่านั้นยังศึกษาการถ่ายเทความร้อนของกรอบอาคารและการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม Building Energy Code พบว่าบ้านที่ใช้วัสดุก่อสร้างที่ผสมของเสียแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการถ่ายเทความร้อนต่ำกว่าบ้านที่ใช้วัสดุทั่วไป ซึ่งส่งผลทำให้ช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้ ดังนั้นการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุก่อสร้างนั้น จึงเป็นแนวทางการจัดการของเสีย ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด เพิ่มประสิทธิภาพบางประการให้กับวัสดุก่อสร้าง และสามารถพัฒนาให้เป็นวัสดุทางเลือกในอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไปในอนาคต
Other Abstract: This research investigated the utilization of rock wool, water treatment sludge and non-metallic printed circuit boards as a partial replacement for conventional fine aggregates in mortar. The sand-cement ratio was 2 and the water-cement ratio was 0.45. Each of the industrial wastes was used as a partial replacement of the fine aggregate at 1, 5, 10 and 20% by weight. The cement mortar samples were cured at 7, 14 and 28 days. The chemical compositions and particle sizes of the wastes were analyzed. The results indicated that the density, compressive and transverse strengths of the mortars decreased with increasing the wastes in the mixtures. The water absorption increased with the addition of the waste content. However, the increasing waste replacements improved thermal conductivity of the cement mortars. The cement mortar with rock wool and water treatment sludge contents could resist fire exposure over 400 ºC. Thus, the suitable utilization of the industrial wastes as a partial replacement for fine aggregate in cement mortar was 10% at 28 days curing. As the mechanical properties of 10% waste substitution were in the standards of concrete roofing tile (TIS 535-2556) and hollow concrete block (TIS 58-2533). Moreover, the heat transfer and energy consumption of building reduced with the waste replacements. Therefore, these supplementary materials could be used in construction materials as environmentally-friendly and economically-feasible alternatives.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59737
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1407
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1407
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970246821.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.