Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59889
Title: | พัฒนาการเรือมกันตรึม |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF REUAM KANTRUM |
Authors: | พงศธร ยอดดำเนิน |
Advisors: | อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Anukoon.R@Chula.ac.th,anukulcu@hotmail.com |
Subjects: | รำเรือมกันตรึม การรำ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) Dance -- Thailand, Northeastern |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องพัฒนาการเรือมกันตรึม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเรือมกันตรึม องค์ประกอบการแสดงและการรำเรือมกันตรึม โดยขอบเขตของการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาการเรือมกันตรึมที่นางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ประดิษฐ์ขึ้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2559 โดยค้นคว้าจากเอกสารการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการรับฝึกหัดชุดท่ารำเรือมกันตรึม เรือมกันตรึมแสดงประกอบกับดนตรีกันตรึม รูปแบบคือ 1ทำนองเพลง 1ชุดท่ารำ รวมทั้งหมด 7ชุดท่ารำ คือ 1.ซารายัง นำมาจากเลียนแบบกิริยาเยื้องย่างของสตรีในขบวนแห่, 2.เซิ้บ เซิ้บ นำมาจากการทักทายเชิญชวนของผู้ละเล่นกันตรึม, 3.กัญจัญเจก นำมาจากการเลียนแบบอากัปกิริยาของเขียดตะปาด, 4.อันซองเสนงนบ นำมาจากการรำประกอบขบวนแห่ขันหมาก, 5.มะม๊วต นำมาจากการรำในพิธีกรรมเข้าทรง, 6.อมตูก นำมาจากประเพณีแข่งเรือยาว และ7.มงก็วลจองได นำมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผู้แสดงแต่งกายแบบพื้นเมืองด้วยผ้าไหมและประดับด้วยปะเกือม อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยพบว่าพัฒนาการเรือมกันตรึมแบ่งได้เป็น 4 ช่วง คือ 1. ก่อนเกิดเรือมกันตรึม(ก่อนปีพ.ศ.2526),2.เรือมกันตรึมเผยแพร่สู่ชุมชน(พ.ศ.2526-พ.ศ.2531), 3. เรือมกันตรึมในสถานศึกษา(พ.ศ.2532-พ.ศ.2548) และ4. เรือมกันตรึมในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์(พ.ศ.2549-พ.ศ.2559) ในช่วงที่1พบว่ามีการละเล่นกันตรึมมุ่งเน้นการบรรเลงดนตรีและขับร้อง ส่วนการรำพบในพิธีกรรมต่างๆ ในช่วงที่2 เมื่อพ.ศ.2526 นางแก่นจันทร์ได้ประดิษฐ์การรำพื้นเมืองขึ้นใหม่ โดยนำเอาการละเล่นกันตรึมและการรำแบบดั้งเดิมมาเรียงร้อยเป็นชุดการแสดงขึ้นใหม่เรียกว่า“เรือมกันตรึม”เพื่อแสดงในการสัมมนาเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ ในพ.ศ.2528 มีการนำไปเผยแพร่ที่หมู่บ้านดงมันซึ่งจัดตั้งเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์การละเล่นกันตรึม และปีพ.ศ.2530 เรือมกันตรึมมีการปรับปรุงท่ารำและนำผู้ชายมาร่วมแสดงโดยนางสำรวม ดีสม ในช่วงที่3มีการนำเรือมกันตรึมเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษา คือ วิทยาลัยครูสุรินทร์ พ.ศ.2532, วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดพ.ศ.2540, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และโรงเรียนสินรินทร์วิทยา จ.สุรินทร์ พ.ศ.2541 ในช่วงที่4 พ.ศ.2549-พ.ศ.2559 เรือมกันตรึมได้แตกแขนงออกไปหลายรูปแบบและมีการนำชุดท่ารำของเรือมกันตรึมไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นเมืองอีสานใต้ชุดใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือมกันตรึมฉบับดั้งเดิมด้วย |
Other Abstract: | Development of Ruem Kantrum is the thesis aims at studying the development, performance elements and dance style of Ruem Kantrum based upon the choreograph by Madame Kaenjan Namwat. Her choreograph had been continuously developed from 1983 to 2016. The research methodology was based upon documentary, interviewing, observation and practice. Reum Kantrum is performed with a music ensemble Kuntrum. Its form is that one dance get piece is accompanied by one song. There are altogether 7 dance set pieces:1.Sarayang derived from female dance movements during a street parade, 2.Chueb chueb from the geoture to invitation to dance, 3.Kan Jan Jek from frog’s movement, 4.An Chong Sanaeng Nop from wedding parade, 5.Ma Muat from trance dance, 6.Om Took from rowing a boat, 7.Mong Gual Jong Dai from invocation of benevolent spirits. Dance costumes and decoration followed traditional dresses of Surin Province. The research found that the development could be divided into four stages : 1.Pre Ruem Kantrum (before1983), 2.Ruem Kantrum spreaded into the community (1983–1988), 3.Its establishment in the education institutes(1989–2005 )and4.preservationand development(2006–2016). In the first stage, Kuntrum was originally focused on playing musical instruments and singing while dances were found in other rites. In the second stage (1983), Madame Kaenjan Namwat choreographed a new dance by combining former Kuntrum music and dances named “Reum Kantrum” in be performed in a seminar on fold songs and plays of Surin. In 1985, Reum Kantrum was spread into Ban Dong Man which was setup as a cuitural village of Kuntrum performances. In 1987, there were an adaptation of dance and adding male dancers. In the third stage, Reum Kuntrum was intrvoduced into the educational system.Concurrently, preservation of the original choreograph was being observed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59889 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.888 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.888 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986606835.pdf | 19.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.