Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60039
Title: พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย
Other Titles: DEVELOPMENT OF EATING OUT IN THAI SOCIETY
Authors: จิรพันธ์ รวมพรรณพงศ์
Advisors: ธานี ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Thanee.C@Chula.ac.th,thanee.c@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของสถานที่กินอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารของชนชั้นกลางในเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเน้นศึกษาตั้งช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนพร้อมกับการเข้ามาของอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถานที่กินอาหารนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเมืองกรุงเทพฯ ช่วงรัชกาลที่ 5 ที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งทำให้มีสถานที่ราชการชัดเจนและเกิดอาชีพ “ข้าราชการ” ที่ต้องทำงานตามเวลาราชการที่แน่นอน ประกอบกับการเป็นเสมียนในห้างฝรั่งได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ ปัจจัยทั้งสองนี้ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อกลางวัน ด้วยเหตุนี้ร้านอาหารสำหรับมื้อกลางวันจึงเริ่มมีมากขึ้นและได้ขยายเวลาให้บริการออกไปยาวนานขึ้นเมื่อมีการเข้ามาของไฟฟ้า ประกอบกับเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2464 ก็ได้ทำให้เด็กอายุ 7 – 14 ปี ต้องเข้าโรงเรียนซึ่งนั้นทำให้การทานอาหารนอกบ้านในมื้อเที่ยงกลายเป็นเรื่องที่หลักเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ข้าราชการเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และได้เปลี่ยนเป็นเวลา 08.30 – 16.30 น. ในปี พ.ศ. 2502 โดยยังคงเวลาพักเที่ยงดังเดิมคือ 12.00 – 13.00 น. ก็ยิ่งทำให้การรับประทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะมื้อเที่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กระทั่งช่วงทศวรรษ 2500 ได้มีการพัฒนาเส้นคมนาคมตลอดจนความเป็นเมืองที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ และเมื่อพิจารณาการรับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นหรือเพื่อแสดงสถานะบางอย่างผ่านการบริโภคอาหารก็ตาม
Other Abstract: This thesis aims to study the development of eating out, especially eating out at restaurants by middle class in Bangkok since the reigns of King Rama V that has changed the economic structure by influencing Western culture. The study found that the development of eating out began to change in the reign of King Chulalongkorn, the reign of King Rama V by government reform. Civil servants have a fixed working time and being a clerk in a western shop has become an option for those who do not want to be servants. These two factors have become a major force in demand to eat out, especially lunch. As a result, the restaurants began to grow and expand time service. In addition, when the National Elementary School Act was enacted in 1921, children aged 7-14 years were required to attend school, which made eating out is almost unavoidable. In 2483 The Office of the Prime Minister was announced an office hour from 9 AM. – 4 PM and changed to 8:30 AM - 4:30 PM in 2502 and still lunch break at 12 AM – 1 PM. Eating out at lunch is more unavoidable for those who work with government. In the mid-1950s, the development of transport and urbanization increased, and it became common practice to eat outside. When considering eating at a restaurant today, it can be seen as a vital activity in daily life, whether it be a necessity or a means for show something off.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60039
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.663
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.663
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785162029.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.