Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6033
Title: การแสดงมะโย่ง คณะสรีปัตตานี
Other Titles: Makyong performance of Seri Patani Troupe
Authors: อริยา ลิ่มกาญจนพงศ์
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: การรำ -- ไทย (ภาคใต้)
ศิลปะการแสดง -- ไทย (ภาคใต้)
การรำ -- ไทย -- ปัตตานี
ศิลปะการแสดง -- ไทย -- ปัตตานี
ปัตตานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประวัติ องค์ประกอบ วิธีการแสดงและท่ารำเบิกโรงมะโย่งของดนตรีคณะสรีปัตตานี โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้แสดงและผู้ศึกษางานด้านการแสดงมะโย่ง สังเกต ติดตาม และมีส่วนร่วมในการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ผลจากการศึกษาพบว่า มะโย่งเป็นละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม การแสดงมีการผสมผสานพิธีกรรม ความเชื่อ นาฏยศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน ผู้แสดงส่วนมากเป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวตลก นักแสดงประกอบไปด้วย พระเอก เรียกว่า "เปาะโย่ง" นางเอก เรียกว่า "มะโย่ง" ตลก เรียกว่า "ปือรันมูดอ และปือรันดูวอ" พี่เลี้ยงหรือสาวใช้เรียกว่า "เมาะอินัง หรือแหมะสนิ" ใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานีในการแสดง ปรากฏหลักฐานการแสดงครั้งแรกในสมัยของราชินีฮิเยา เมื่อปี พ.ศ. 2155 ปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ในการแสดง 3 แบบ คือ เพื่อประกอบพิธีกรรม เพื่อความบันเทิง และเพื่อการสาธิต ในแต่ละแบบมีขั้นตอนในการแสดงแตกต่างกัน คือการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม มี 6 ขั้นตอน การแสดงเพื่อความบันเทิง มี 5 ขั้นตอน และการแสดงเพื่อการสาธิต มี 2 ขั้นตอน โรงมะโย่งพื้นโรงเป็นพื้นดินปูด้วยเสื่อ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ใช้แสดงกับส่วนที่ใช้เป็นที่พักนักแสดง มีขนาดกว้าง 5-6 เมตร ยาว 8-10 เมตร วงดนตรีมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ กลองฆือแน ปี่ซูเนา ฆง มง ฉิ่ง ฉาบ ไวโอลิน และรำมะนา ซึ่งจะจัดวางไว้ด้านขวาของผู้แสดง เรื่องที่นำมาแสดงพบว่ามี 12 เรื่อง โดยเรื่องกอดังมัสและเดวามูดอ เป็นเรื่องที่ใช้แสดงมากที่สุด เครื่องแต่งกายเปาะโย่งเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ นอกนั้นเลียนแบบเครื่องแต่งกายของชาวไทยมุสลิม คณะมะโย่งในจังหวัดปัตตานีมี 3 คณะ ในปัจจุบันคณะสรีปัตตานีเท่านั้นที่ยังคงสามารถแสดงได้อย่างเต็มรูปแบบ การรำเบิกโรงมะโย่งของคณะสรีปัตตานีมี 5 เพลง คือ ลาฆูฆือเงาะบางุง ลาฆูปีเกร์ ลาฆูกือแยมะ ลาฆูตือเลาะมานีงา และลาฆูปาเงมางาโซ๊ะ ซึ่งแต่ละเพลงผู้แสดงจะเป็นผู้ร้องและรำเอง ลักษณะเด่นของท่ารำเบิกโรงมะโย่งที่พบคือ ท่ารำปีเกร์ ที่มีลำตัวและศีรษะตั้งตรง ท่านั่งคล้ายขัดสมาธิ นอกจากนี้เพลงร้อง เพลงดนตรี เครื่องดนตรี ภาษาที่ใช้ในการแสดง เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดงของตัวเปาะโย่ง คือ หวายแส้ จัดเป็นลักษณะเด่นของการแสดงมะโย่ง ปัจจุบันนี้การแสดงมะโย่งมีน้อยลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อ สภาพสังคม และเศรษฐกิจ มีการนิยมการแสดงสมัยใหม่ ภาษาที่ใช้ในการแสดงเก่าเข้าใจยาก และขาดการถ่ายทอดและสืบทอดการแสดง ขาดการอุปถัมภ์จากภาครัฐและเอกชน ดังนั้นควรมีการหาวิธีอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักสืบไป
Other Abstract: To study the Makyong performance of the Seri Patani Troupe, particularly in terms of its history, composition, performing methods, and the introduction number by reviewing academic documents, interviewing performers and those who have studied the Makyong performance, conducting observations, and participating in the Makyong performance in Patani Privince. The findings of the study reveal that Makyong is one type of play of the Muslim people in Thailand in which ceremonies, beliefs, performing arts, and music are combined. Most of the performers are females, which an exception for the comedians. The entire casts consists of the male in the leading role called "Pohyong", the female in the leading role called "Makyong", the comedians called "Pue run mu dor" and "Pue run du wor", and the nanny or the maid called "Moh-i-nang" or "Hamasani". The Malaya dialect spoken locally in Patani Province is used in the performance. There is evidence that Makyong performance began for the first time during the reign of Queen Hi Yao in B.E. 2155, and at present, Makyong is performed for three purposes: ceremony, entertainment, and demonstration, each of which has different performance patterns. When performed for a ceremonial purpose, Makyong consists of 6 performing stages, while it consists of 5 and 2 performing stages whien it is performed for entertaining and demonstrative purposes, respectively. The theater where Makyong is performed is constructed on the ground laid with mats and is divided into two sections-the stage and the greenroom for performers. It is normally 5 to 6 meters in width and 8 to 10 meters in length. The band is usually composed of the ruebub fiddle, khunae drum, zuna oboe, traditional instruments called kong and mong, violin, and cymbals. The band is usually located on the right side of the performers. In addition, there are altogether 12 stories which are popularly performed, with Kor Dung Mus and De Wa Mu Dor as the most popular ones. Except for Pohyong's costumes which imitate the costume of the royal family, the costumes for other performers are similar to those of the ordinary Muslim people. There are three troupes in Patani Province, and at present, only the Seri Patani Troupe can deliver the full production. There are five songs used in the introduction number of this troupe, namely, La Khu Khue Ba Ngung, La Khu Pee Gay, La Khu Gue Yae Ma, La Khu Tue Lao Ma Nee Nga, and La Khu Pa Ngay Ma Nga Cho, each of which is performed by the performer who would simultaneously sing and dance. The most outstanding characteristics of the introduction number is the Pee Gay pose in which the performers' body and head will be erect while they are sitting cross-legged. In addition, the song, music, musical instruments, the language used in the performance, costumes, and a rattan whip, a prop of Pohyong, are considered unique characteristics of Makyong. Nowadays, the number of Makyong performances is declining due to changes in beliefs, as well as social and economic conditions. People are paying more attention to modern performance because the traditional performance uses archaic languages which are difficult to understand. Lack of transfer of knowledge and lack of support from both the public and private sectors also contribute to the declining popularity. Therefore, conservation and promotion of the Makyong performance are called for so as to allow this performance to continue its existence
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6033
ISBN: 9741301227
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.