Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60563
Title: | แนวทางการจัดการท่องเที่ยว ตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Guidelines for tourism management of Ayothaya floating market in Pranakorn Sri Ayuthaya Province |
Authors: | ศรัญญา ศรีทอง |
Advisors: | สุชาติ ทวีพรปฐมกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | suchart_ta@hotmail.com |
Subjects: | ตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา ตลาดน้ำ -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา ตลาดน้ำ -- การจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน Ayothaya Floating Market Floating market -- Thailand -- Ayutthaya Floating market -- Management |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา และศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน และ กลุ่มตัวอย่างของผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยว จำนวน 43 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเพศ ที่แตกต่างกันของผู้ตอบแบบสอบถามต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามระหว่างก่อนมาเที่ยว (คาดหวัง) และ ณ เวลาเที่ยว โดยวิเคราะห์ความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (Paired samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 36-45 ปี และอายุ 16-25 ปี มีการศึกษา อยู่ในระดับปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า มีอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท และ มากกว่า 25,000 บาท ไม่เคยท่องเที่ยวตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยามาก่อน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ได้รับข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวจากการแนะนำจากบุคคลอื่นๆ หรือ การบอกต่อ เดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล บุคคลที่มีผลต่อการท่องเที่ยว คือ เพื่อน และครอบครัว ญาติพี่น้อง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนในการท่องเที่ยว 301-500 บาท และต้องการกลับมาท่องเที่ยวอีกแน่นอน สำหรับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ในระดับมาก ( X = 3.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามต่อตลาดน้ำ หมู่บ้านปางช้างอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในระดับมาก ก่อนมาเที่ยว (คาดหวัง) ( X = 3.03) และ ณ เวลาเที่ยว ( X = 3.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเพศที่แตกต่างกันของผู้ตอบ แบบสอบถามต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามระหว่างก่อนมาเที่ยว (คาดหวัง) และ ณ เวลาเที่ยว ในด้านองค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยว พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการจัดการท่องเที่ยว ตลาดน้ำหมู่บ้านปางช้างอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านการฟื้นฟู พัฒนา แหล่งท่องเที่ยว ด้านการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าธุรกิจบริการอย่างต่อเนื่อง ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชนในท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study guidelines for tourism management of Ayothaya Floating Market in Pranakorn Sri Ayuthaya province and study tourists satisfaction toward this attraction. The samples were 400 Thai people who traveled to the attraction. A questionnaire was used as a survey tool and data were analyzed statistically using the frequency, percentage, means and standard deviation. The test value “t” (t-test) was used in order to compare the services marketing mix opinions between male and female tourists. The paired-sample t test was used to compare the tourists satisfaction toward 3A’s framework for destination attributes between tourists expected and tourists perceived. The results were as follows; The majority of respondents were female with in the age range of 36 – 45 and 16-25 years old, holding Bachelor degree, working as a company employee, with average monthly income of 5,000-10,000 Baht, below 5,000 baht and above 25,000 Baht approximately. Respondents mainly had never been to the attraction and had main purpose to take a rest. The majority of respondents got the information from word of mouth and traveled on weekend by car. Friend and family were the people who influenced on the trip and spent 301-500 baht per trip. The majority of respondents had high opinions in all services marketing mix factors. When comparing the services marketing mix opinions by gender, there were significant differences in statistics at .05 levels in price, market promotion and physical evidence. The majority of respondents satisfied with all of destinations attributes in high level. When comparing the tourists satisfaction toward 3A’s framework for destination attributes between tourists expected and tourists perceived, there was no significant difference at .05 levels. The guidelines for tourism management of Ayothaya Floating Market should be the restoration and development of attraction. The continue supporting in tourism marketing and customer business services. Initiate public and private sectors and also local people to cooperate network for the conservation and development of tourism attractions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60563 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1613 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1613 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saranya Srithong.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.