Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63482
Title: การพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ของกัลปังหา Dichotella gemmacea
Other Titles: Gamete Development Of Gorgonian Dichotella Gemmacea
Authors: อภิรัตน์ นิลพนาพรรณ
Advisors: วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Voranop.V@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเล จากการที่กัลปังหาในท้องทะเลไทยมีจำนวนลดลงอันเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงทำการศึกษาชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกัลปังหา Dichotella gemmacea ซึ่งพบที่ระดับความลึก 5 – 10 เมตร บริเวณแหลมปู่เจ้า อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามช่วงเวลาการสร้างและปล่อยเซลล์สืบพันธุ์  ผลการศึกษาพบว่า กัลปังหา Dichotella gemmacea เป็นกัลปังหาชนิดเด่นในพื้นที่จากกัลปังหาทั้งหมดที่พบรวม 9 สกุล โดยพบกัลปังหา Dichotella gemmacea ที่ระดับความหนาแน่น 0.32 โคโลนีต่อตารางเมตร ซึ่งแตกต่างจากกัลปังหาสกุลอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กัลปังหา Dichotella gemmacea พบการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทุกเดือนในรอบปีที่ทำการสำรวจ (เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559) และพบการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งมีจำนวนเซลล์สืบพันธุ์ที่ 20.15 ± 2.83 เซลล์ต่อโพลิป (เดือนกรกฎาคม 2558) ถึง 45.91 ± 5.44 เซลล์ต่อโพลิป (เดือนกันยายน 2558)  และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 246.85 ± 86.05 ไมโครเมตร (เดือนพฤษภาคม 2558) ถึง 258.53 ± 78.94 ไมโครเมตร (เดือนธันวาคม 2558) ปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนและขนาดของเซลล์สืบพันธุ์ คืออุณหภูมิ โดยช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์อยู่ที่ 29.5 ถึง 31.0 องศาเซลเซียส  จากการศึกษาทางมิญชวิทยาเกี่ยวกับเซลล์สืบพันธุ์พบว่า กัลปังหา Dichotella gemmacea มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบแยกเพศ (gonochoric) ในแต่ละโคโลนี โดยที่สามารถพบเซลล์ไข่หรือถุงสเปิร์มได้พร้อมกันทุกระยะภายในโคโลนีนั้นๆ และเนื่องจากไม่พบตัวอ่อนระยะพลานูลาในโพลิปกัลปังหาเพศเมียตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา จึงคาดว่ากัลปังหา Dichotella gemmacea มีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาผสมกันในมวลน้ำ  
Other Abstract: Gorgonian is one of the marine invertebrates that is abundant and has an important role in marine ecosystem. However, the populations of gorgonian have been decreasing from Thai waters. In this study, the gamete development and spawning periods of Dichotella gemmacea, the most abundant gorgonian at Laem Pu Chao, Sattahip district, Chon Buri province, Thailand were investigated. The results showed that Dichotella gemmacea had the highest density (0.32 colony/m2) in this area. In addition, Dichotella gemmacea produced the gametes during all study period from February 2015 to January 2016. The high numbers of gametes in polyps were between 20.15 ± 2.83 cells/polyp (June 2015) to 45.91 ± 5.44 cells/polyp (September 2015). The large diameters of gametes were 246.85 ± 86.05 µm (May 2015) to 258.53 ± 78.94 µm (December 2015). Temperatures between 29.5 to 31.0 oC could be a factor influencing gamete development. From the histological study of this gorgonian showed that Dichotella gemmacea was gonochoric and all stages of oocyte or spermatid can be found at the same time in a polyp. Moreover, the results from histology showed that Dichotella gemmacea was broadcasting spawner because none of planula larvae was detected in any polyps during the period of the study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63482
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.829
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.829
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672137123.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.