Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/634
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาลินี อาชายุทธการ | - |
dc.contributor.author | จิตติมา นาคีเภท, 2521- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคเหนือ) | - |
dc.coverage.spatial | สุโขทัย | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-06T11:59:31Z | - |
dc.date.available | 2006-07-06T11:59:31Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741759916 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/634 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการรำการแสดงพื้นบ้านของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ที่ปรากฏตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503-2546 โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แสดง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแสดงพื้นบ้านของอำเภอศรีสำโรง นายสำเนา จันทร์จรูญ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย) พ.ศ. 2532 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ การสังเกตการแสดงจริง จำนวน 6 ครั้ง พร้อมฝึกปฏิบัติการแสดงกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่าการแสดงพื้นบ้านของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย มีพื้นฐานมาจากการร่วมเล่นเป็นหมู่เพื่อความสนุกสนานในวันตรุษสงกรานต์ของทุกปีและเกิดการความต้องการความบันเทิงภายในอำเภอมีทั้งหมด 7 ชุดการแสดง คือ 1. เพลงรำวง 2. เพลงฉุยฉายเข้าวัด 3. เพลงยิ้มใย 4. เพลงฮินรินเล 5. รำแบบบท 6. รำกลองยาว และ 7. รำมังคละ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มการแสดงตามลักษณะของการแสดงได้ 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเน้นการร้อง ได้แก่ เพลงรำวง 2. กลุ่มเน้นการรำประกอบการร้อง ได้แก่ เพลงฉุยฉายเข้าวัด เพลงยิ้มใย เพลงฮินรินเล 3. กลุ่มเน้นการรำ ได้แก่ รำกลองยาว รำมังคละ และ 4. กลุ่มเน้นการละคร ได้แก่ รำแบบบท การแสดงในกลุ่มที่ 1-3 ผู้แสดงเป็นชาวบ้านทั่วไป กลุ่มที่ 4 ผู้แสดงเป็นข้าราชการครูในอำเภอ แต่ในปัจจุบันทั้ง 4 กลุ่ม ผู้แสดงเป็นส่วนใหญ่เป็นข้าราชการครูในอำเภอ จากการศึกษาการแสดงพื้นบ้านทั้ง 7 ชุด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มนั้น พบว่า ในอดีตเป็นท่ารำเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ปัจจุบันการแสดงพื้นบ้านทั้ง 7 ชุด ได้รับอิทธิพลของท่ารำมาตรฐานจากการแสดงละครรำในอำเภอและจากท่ารำตามหลักนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร โดยมีนายสำเนา จันทร์จรูญเป็นผู้ปรับปรุงเพื่อให้การแสดงพื้นบ้านน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งอธิบายได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มการร้อง เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ไม่มีการปรับปรุง ยังคงรักษารูปแบบและลักษณะท่ารำเดิมเอาไว้ 2. กลุ่มเน้นการรำประกอบการร้อง ปรับจากแถววงกลมหันหน้าเข้าหากัน เป็นแถวครึ่งวงกลมที่ผู้ชมสามารถมองเห็นผู้แสดงได้ทุกคน และไม่ต้องโต้ตอบโดยใช้ไหวพริบปฏิภาณเหมือนในอดีตเพราะบทร้องในอดีตถูกรวบรวมจัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าแล้วจึงสามารถกำหนดเวลาการแสดงที่แน่นอนได้ 3. กลุ่มเน้นการรำ ปรับจากรูปแบบขบวนแห่เป็นการแสดงบนเวทีในรูปแบบของระบำพร้อมการแปรแถว เพิ่มผู้แสดงผู้หญิงเข้ามาเปลี่ยนการแต่งตัวผู้แสดงและผู้บรรเลงจากชาวบ้านธรรมดาให้แต่งตัวคล้ายพม่าในรำกลองยาว ปรับให้ย้อนยุคไปนุ่งโจนกระเบนในรำมังคละ และ 4. กล่มเน้นละคร ซึ่งเน้นการสวมบทบาทตัวละครในวรรณคดีที่นำมาแต่งเป็นบทร้อง จากรำรอบละ 12 เพลง ปรับลดลงมาเหลือการแสดงครั้งละ ไม่เกิน 6 เพลง การใช้วงดนตรีสากลในการบรรเลงประกอบเปลี่ยนเป็นการใช้โทนให้จังหวะแทน การแต่งกายในสมัยรัฐนิยมถูกปรับให้แต่งตัวแบบชาวบ้านในอดีตที่นุ่งโจนกระเบน เป็นพัฒนาการของการแสดงพื้นบ้านที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพของสังคมปัจจุบัน | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the history and to analyse the dance patterns of the folk dance in Si Samrong District, Sukhothai Province, that have been evident from 1960 to 2003. The research methodology includes studying related documents, interviewing experts and performers, observing 6 real performances and practicing the dance patterns with experts. Mr.Samnao Janjaroon, an expert of the folk dance in Si Samrong District and a winner of the 1989 Performing Arts Award, proves to be a significant source of information. The findings tell that the folk dance in Si Samrong District was originated from group congregation for entertainment purposes annually on the Thai New Year (The Songkran Day). There are altogether 7 dance: 1) Pleng Ram Wong 2) Pleng Chuichai Khao Wat 3) Pleng Yim Yai 4) Pleng Hin Rin Rae 5) Ram Bab Bot 6) Ram Klong Yao and 7) Ram Mangkla. These dances can be divided into 4 groups according to their performing features: Group 1 focuses on singing, that is Pleng Ram Wong, Group 2 focuses on dancing accompanied by singing, that are Pleng Chui Chai Khao Wat, Pleng Hin Rin Rae, Group 3 focuses on dancing, that are Ram Klong Yao, Ram Mangkla, and Group 4 focuses on dramatic performance that is Ram Bad Bot. The first 3 groups of performance used to performance used to be performed by villagers and the last group by teachers in the district. However, nowadays they are all performed by district teachers. The study also indicates that in the past the dances were individually designed but nowadays they are influenced by standard dance of both the theatre in the district and the national Department of Arts and Culture. Mr. Samnao Janjaroon helps improve the dance and make them more interesting. Group 1 is the only group that has not been changed and still preserves the traditional dance patterns. The circle of performers in Group 2 has been adjusted into a semi-circle so that audience have an unobstructed view of all performers who are equipped with ready-made lyrics, not improvised ones as in the past, in order that the performance can be appropriately timed. Group 3 has been transformed from a dance procession into a Rabam pattern with procession variation. In Ram Klong Yao, female performers have been added to help change performers’ costumes and musicians are dressed in the Burmese style whereas they are dressed in Jong Kra Bane in Ram Mangkla. The number of songs in Group 4 has been reduced from 12 songs to no more than 6 song which are accompanied by Tone Drum rather than the western musical band as before. The costumes have been traditionalized into Jong Kra Bane costumes to suit the present-day social conditions. | en |
dc.format.extent | 15631582 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเต้นรำพื้นเมือง--ไทย--สุโขทัย | en |
dc.subject | การละเล่น--ไทย--สุโขทัย | en |
dc.title | การแสดงพื้นบ้านของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย | en |
dc.title.alternative | Folk Dance in Si Samrong District, Sukhothai Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Malinee.A@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittima.pdf | 14.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.