Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63747
Title: Impacts of land use changes on river runoff in Yom basin during 1988-2009 using SWAT hydrologic model
Other Titles: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อน้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำยมระหว่างปี พ.ศ. 2531-2552 โดยใช้แบบจำลองอุทกวิทยา SWAT
Authors: Supattra Kitichuchairit
Advisors: Sombat Yumuang
Srilert Chotpantarat
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Sombat.Y@Chula.ac.th
Srilert.C@Chula.ac.th
Subjects: Yom basin
Watersheds
Land use
Hydrology -- Computer simulation
ลุ่มน้ำยม
การใช้ที่ดิน
อุทกวิทยา -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Yom river basin is one of the largest basins in Thailand. This basin does not have any large reservoirs to collect a large amount of water in the rainy season. Therefore, the basin typically experienced floods in the rainy season (May–October) and drought in the dry season (November - April). Land use change may affect surface and groundwater hydrology associated with hydrological factors such as interception, infiltration and evaporation, and thus consequently causes significant changes in especially total runoff in the river. The objective of this research project was to determine the hydrological impacts of land use changes in the Yom river over a 22-year period using an integration of remote sensing, geographic information system (GIS), and SWAT hydrological modeling to quantify contributions of such changes. Through the interpretation of satellite images between 1981 and 2009, the forest land changes to agriculture areas about 1359.088 km2 (5.675%), the forest land changes to water body about 40.208 km2 (0.168%), the forest land changes to urban and build-up land 26 km2 (0.10 %) and the agriculture areas changes to urban and build-up land about 309.965 (1.29%) km2. For the contributions of land use changes on hydrological components, the average simulated yearly runoff at station Y14 increases 1,835.95, 1,648.65 and 1,620.70 MCM/Year and at station Y 20, the average simulated yearly runoff increases 1,176.25, 1,090.27 and 671.42 MCM/Year, when the forest land was decreased 1,979.67, 1,141.69 and 1,741.171 km2 as well as urban and build-up land was increased 66.48, 125.6 and 104.22 km2 in year 1995, 2003 and 2009, respectively. Increased runoff occurred in the long term discharge, especially in the upper part of the basin, which may cause more floods in the lower part of the basin. The approach used in this study could be applied further to other watersheds, which have been highly changed and would essential for land-use planning and sustainable water resources management.
Other Abstract: พื้นที่ลุ่มน้ำยม เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่ลุ่มน้ำหนึ่ง ของประเทศไทย ลุ่มน้ำยมประสบปัญหาภัยแล้งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากไม่มีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ในบริเวณลุ่มน้ำ อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ในอดีตเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนอยู่อาศัยมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินนี้ส่งผลกระทบต่อระบบทางอุทกวิทยาโดยการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของระบบอุทกวิทยา เช่น การซึม การระเหย เป็นสาเหตุให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าโดยรวมในพื้นที่ลุ่มน้ำในการวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อน้ำท่าในลุ่มน้ำยม ในช่วงเวลา 22 ปี โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโทรสัมผัสร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงพื้นที่ และใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT ในการศึกษาปริมาณน้ำท่าจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว ในการศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ครั้งนี้ทำการศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2531-2552 พบว่า พื้นที่ป่าไม้ที่เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดประกอบด้วย นาข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น เป็นพื้นที่1,359.09 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 5.68 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าเปลี่ยนเป็นพื้นที่แหล่งน้ำ 40.21 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 0.17 นอกจากนี้พบว่าพื้นที่เมืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเปลี่ยนจากพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรมในปี พ.ศ. 2531 ไปเป็นพื้นที่เมืองในปี พ.ศ. 2552 เป็นพื้นที่ 26 และ 309.97 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ 1.29 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดตามลำดับ สำหรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อน้ำท่าในลุ่มน้ำยม โดยใช้แบบจำลองอุทกวิทยา SWAT ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531-2552 พบว่าที่สถานี Y14 ปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย1,835.95, 1,648.65 และ 1,620.70 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และที่สถานี Y20 พบว่าปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้น 1,176.25, 1,090.27 และ 671.42 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อปริมาณป่าลดลง 1,979.67, 1,141.69 และ1,741.171 ตร.กม. และพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้น 66.48, 125.6 และ104.22 ตร.กม. ในปีพ.ศ.2538, 2546 และ 2552 ตามลำดับ ปริมาณน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับปริมาณป่าที่ลดลงและพื้นที่เมืองที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนบนของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดน้ำท่วมในทางตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น และประยุกต์ใช้กับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงวางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Earth Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63747
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattra Kitichuchairit.pdf9.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.