Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64433
Title: การศึกษาการแสดงออกทางศิลปะโดยการวาดภาพระบายสีของนักเรียนไทยมุสลิม อายุ 7-9 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: A study of artistic expression through drawing and painting of seven to nine years old Thai Muslim students in elementary schools under the Office of Private Education Commission in the south border provinces
Authors: ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: นักเรียนมุสลิม
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการแสดงออกทางศิลปะโดยการวาดภาพระบายสีของนักเรียนไทยมุสลิม อายุ 7 ถึง 9 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนไทยมุสลิม อายุ 7 ถึง 9 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึง 4 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ปีการศึกษา 2543 จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบทดสอบการวาดภาพระบายสี 3) แบบประเมินค่า สร้างขึ้นจากหลักเกณฑ์ชั้นพัฒนาการทางศิลปะของวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ โดยผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างประชากรด้วยตนเองแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและครูศิลปศึกษา สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนไทยมุสลิม สามารถวาดภาพระบายสีได้ตามทฤษฎีของวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ในชั้นที่ 3 คือ ชั้นวาดภาพได้คล้ายของจริง ดังนี้ 1. ด้านการวาดภาพคน ลักษณะที่นักเรียนไทยมุสลิมแสดงออกได้มากที่สุดคือ วาดภาพคนเฉพาะด้านหน้าคิดเป็นร้อยละ 90.47 และแสดงออกน้อยที่สุดคือ วาดภาพเน้นส่วนที่เห็นว่า สำคัญให้มีขนาดใหญ่ สิ่งที่เห็นว่าไม่สำคัญจะไม่วาด คิดเป็นร้อยละ 13.33 2. ด้านการใช้พื้นที่ว่าง ลักษณะที่นักเรียนไทยมุสลิมแสดงออกได้มากที่สุดคือ วาดภาพมี ลักษณะแบนราบแบบ 2 มิติ คิดเป็นร้อยละ 95.23 แสดงออกน้อยที่สุดคือ วาดภาพแบบพับกลางหรือภาพแบบมองทะลุเห็นภายใน คิดเป็นร้อยละ 21.26 3. ด้านการใช้สี ลักษณะที่นักเรียนไทยมุสลิมแสดงออกไต้มากที่สุดคือ ระบายสีโดยอิสระ คิด เป็นร้อยละ 92.96 และแสดงออกน้อยที่สุดคือ ระบายสีตกแต่งบนเสือผ้า เครื่องแต่งกายหรือรายละเอียดอื่น ๆ ในภาพ คิดเป็นร้อยละ 21.26 4. ด้านการออกแบบ ลักษณะที่นักเรียนไทยมุสลิมแสดงออกได้มากที่สุดคือ วาดภาพแสดง ออกโดยอิสระและเป็นตัวของตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 97.46 และแสดงออกน้อยที่สุดคือ วาดภาพมีรูปแบบซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งต่าง ๆ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ ทรงผม กำไลคิดเป็นร้อยละ 13.65
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study artistic expression through drawing and painting of seven to nine years old Thai Muslim students in elementary schools under the Office of Private Education Commission in the south border provinces. The sample group included 315 seven to nine years old Thai Muslim students at Prathomsuksa 2, 3 and 4 in academic year 2000. The instruments used in this study were constructed and administered by the researcher basing on the Artistic Development theory of Viktor Lowenfeld. The instuments included 1) a questionnaire, 2) a drawing and painting test, and 3) a drawing and painting evaluation checklist. The obtained data was analyzed by a group of 2 experts, 3 art teachers and the researcher. The results presented by means of frequencies and percentages. The findings revealed that Thai Muslim students had the drawing and painting abilities at the Schematic Stage of the Artistic Development Theory of Viktor Lowenfeld. The students’ expressions were as followed : 1. Human Figure : Thai Muslim students’ most expressed characteristic was frontal depiction drawing (90.47 percent). The least expressed characteristic was drawing important parts to be in large size and no drawing for unimportant details (13.33 percent). 2. Space : Thai Muslim students’ most expressed characteristic was flat two dimensional drawing (95.23 percent). The least expressed characteristic was Egocentric or the X-ray drawing (21.26 percent). 3. Color : Thai Muslim students’ most expressed characteristic was coloring freely ( 92.96 percent ).The least expressed characteristic was cloth decoration or other details (21.26 percent ). 4. Design : Thai Muslim students’ most expressed characteristic was painting freely and independently (97.46 percent). The least expressed characteristic was the drawing of objects with specific forms and decorative objects such as utensils, hair-styles and bracelets (13.65 percent).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64433
ISBN: 9741313411
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwat_pa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ896.89 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_ch1_p.pdfบทที่ 1986.87 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_ch2_p.pdfบทที่ 23.61 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_ch3_p.pdfบทที่ 3776.27 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_ch4_p.pdfบทที่ 4995.95 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.12 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.