Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุ่นเรือน เล็กน้อย-
dc.contributor.authorธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:41:23Z-
dc.date.available2020-04-05T07:41:23Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64902-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (Key informant) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ท่าน และสนทนากลุ่ม โดยเชิญผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการจำนวน 6 ท่าน มาร่วมสนทนากลุ่ม  โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงบรรยายและการวิเคราะห์เชิงบริบทของเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า ประชาชนเพียงส่วนน้อยที่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งเสริมและมีความพยายามในการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ภายใต้หลักการ 3R คือ ใช้น้อยลง ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อนำขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ไปขายเพื่อมีรายได้มาช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และมีการสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและรับซื้อขยะรีไซเคิลจากประชาชน ส่วนขยะ เช่น เศษอาหารมีการส่งเสริมในเรื่องปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และการนำมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน ข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้มีดังนี้ 1) ควรจะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ในการออกแบบและผลิตถังหมักก๊าซชีวภาพที่เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือน และสามารถผลิตก๊าซสำหรับเพื่อใช้ในการเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารได้ 2) ควรมีการออกแบบ ผลิต และพัฒนาตู้รับซื้อขวดพลาสติดอัตโนมัติและติดตั้งในพื้นที่ชุมชนต่างๆ 3) รัฐบาลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้จัดเก็บขยะควรจะบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาสถานที่ โรงงาน อุปกรณ์ สำหรับการการแปรรูปขยะมูลฝอยผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) และ 4) รัฐบาลควรจะให้ความสำคัญและจริงจังในการบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และภาคเอกชน ในการกำหนดนโยบาย แผนการปฏิบัติการ การการกำหนดพื้นที่ (ตามปริมาณขยะที่สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบได้ในระยะยาว) และแนวทางการให้สัมปทาน สำหรับการจัดตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะ และเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า ที่สร้างแรงจูงใจในการลงทุน-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to study community management under the circular economy concept of local administrative organizations (LAOs) and to prepare implementation guidelines for it. This study used qualitative methods, including in-depth interviews with 15 key informants and a focus group with 6 participants, to discuss guidelines for implementing LAOs. This study also used purposive and accidental sampling, and the data were analyzed using descriptive analysis and content analysis. The results showed that that few people segregate their waste, while organizations promote waste segregation and try to bring the circular economy concept to operations under the 3R concept of reduce, reuse, and recycle, and they emphasize household waste segregation for sale and recycling of garbage so that households can earn income for family expenses. In addition, LAOs also encourage waste bank projects to be set up as places to collect and buy garbage from households, and they encorage households to compost their own fertilizer and to make biogas from food scraps. The guidelines for LAOs to operate a circular economy are as follows: 1) Each LAO should collaborate with education institutes to design and produce biogas fermentation tanks that are appropriate for household use and that can produce biogas for cooking. 2) LAOs should design, produce, and develop automatic can- and bottle-purchasing machines and set them up in all communities. 3) The government and LAOs should collaborate to develop factories for RDF. Finally, 4) the goverment should emphasize collaboration with LAOs, PEAs, the Electricity Generating Authority of Thailand, and the private sector to set up policies and concession guidelines to set up power plants using waste.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1035-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleแนวทางการส่งเสริมแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน -
dc.title.alternativeThe guidelines for promotion of circular economy program of local administrative organizations for sustainable community development-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorUnruan.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1035-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087144820.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.