Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65295
Title: การบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนตะกั่วด้วยถังกรองไร้อากาศ
Other Titles: Treatment of lead contaminated wastewater by anaerobic filter
Authors: ชลกร มณีสว่าง
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง
อุตสาหกรรมน้ำตาล
Sewage -- Purification -- Heavy metals removal
Sewage -- Purification -- Filtration
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของระบบถังกรองไร้อากาศในการบำบัดน้ำเสียที่เป็นน้ำอ้อยปนเปื้อนตะกั่วซึ่งนำมาจากห้องปฏิบัติการวัดระดับซูโครสในน้ำอ้อยของโรงงานผลิตน้ำตาลทราย โดยกำหนดอัตราการไหลน้ำเสียเข้าระบบ 8.64 ลิตร/วัน ระยะเวลาเก็บกัก 26 ชั่วโมง ถังปฏิกรณ์ประกอบขึ้นจากอะคลีลิกใสทรงกระบอกสูง 140 ซม.เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม. มี ปริมาตร 11 ลิตร ภายในบรรจุตัวกลางสูง 120 ชม.ปริมาตร 9.425 ลิตร ทำจากท่อพีวีซีชนิดบางเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม.ตัดเป็นรูปวงแหวนหนา 10-15 มม. การทดลองแรกศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเดินระบบโดยใช้น้ำอ้อยปราศจากโลหะหนัก พบว่าเมื่อป้อนน้ำเสียที่มีความเข้มข้นซีโอดี 2,000 มก./ล. คิดเป็นภาระสารอินทรีย์ 1.83 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน เติมซัลเฟต 135 มก./ล. คิดเป็นอัตราส่วนซีโอดีต่อซัลเฟต 15 ต่อ 1 ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีร้อยละ 98.72 มีความเข้มข้นซีโอดีในน้ำออกเท่าถับ 26 มก./ล. เกิด ซัลไฟด์ร้อยละ 25.39 ของซัลเฟตที่เติม ความเข้มข้นซัลไฟด์ในน้ำออกเท่ากับ 34.33 มก./ล. และเมื่อเพิ่มภาระสารอินทรีย์เป็น 3.67 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ด้วยการป้อนน้ำเสียซีโอดี 4,000 มก./ล. พบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีลดลงเหลือร้อยละ 83.96 ซึ่งมีค่าซีโอดีในนี้ออกสูงถึง 612 มก./ล. แต่ยังเกิดซัลไฟด์ร้อยละ 31.57 ของซัลเฟตที่เติม และมีความเข้มข้นซัลไฟด์ในน้ำออกเท่ากับ 42.37 มก./ล. การทดลองป้อนน้ำเสียที่เป็นนี้าอ้อยปนเปื้อนตะกั่วโดยปรับเปลี่ยนความเข้มข้นตะกั่วในน้ำเข้าเป็น 5 และ 10 มก./ล. พบว่าที่ภาระสารอินทรีย์อ1.83 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วเท่ากับร้อยละ 89.86 และ 96.25 ตามลำดับ โดยมีค่าความเข้มข้นตะกั่วละลายในน้ำออกเท่าถันคือ 0.48 มก./ล. และประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดียังคงมีค่าเท่าเดิม และเมื่อเพิ่มภาระสารอินทรีย์เป็น 3.67 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน พบว่าระบบยังคงมีประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วใกล้เคียงถับที่ภาระสารอินทรีย์ 1.83 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ดังมีความเข้มข้นตะกั่วละลายในน้ำออกและประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วเท่ากับ 0.43 และ 0.36 มก./ล. และร้อยละ 91.34 และ 96.08 ที่ความเข้มข้นตะกั่วในนี้เข้าเท่ากับ 5 และ 10 มก./ล. ตามลำดับ
Other Abstract: This research studied the optimum condition of the treatment of lead-contaminated cane juice from sucrose-measurement lab by anaerobic filter. Three identical reactors were consisted of clear acrylic cylinders, 140 cm. in height and 10 cm. in diameter. Total volume ,11 liters, of each reactor was filled with 9.425 liters of PVC rings, 15 mm. in diameter and 10-15 mm. in length. Feeding rate was 8.64 liters/day. equal to 26 hours detention time. The reactors were fed, without heavy metal, by cane juice in the first experimental runs. One was fed with COD concentration of 2,000 mg/L, equal to 1.83 kg.COD/m3/d, as well as sulfate concentration of 135 mg/L, it was found that the COD removal efficiency was 98.72% with effluent COD concentration equal to 26 mg/L and effluent sulfide concentration was 34.33 mg/L, equal to 25.39% of influent sulfate concentration. However, it was found, when another one was performed at a volumetric organic loading rate of 3.67 kg.COD/m3/d by feeding COD concentration of 4,000 mg/L, that the COD removal efficiency decreased to 83.96% with rising effluent COD concentration equal to 612 mg/L while effluent sulfide concentration was 42.37 mg/L, equal to 31.57% of influent sulfate concentration. The second experimental runs were performed with lead-contaminated can juice by vary lead concentrations to 5 and 10 mg/L respectively. One was run at the volumetric organic loading rate of 1.83 kg.COD/m3/d and was found that lead removal efficiencies were 89.86% and 96.25% respectively with the same effluent dissolved lead concentration ,0.48 mg/L, while COD removal efficiencies were consistent and almost the same value as in previous experiment. However, another one was increased the volumetric organic loading rate to 3.67 kg.COD/m3/d and was found that lead removal efficiencies closed by the values at the lower rate as it resulted in dissolved lead concentrations and lead removal efficiencies of 0.43,0.36 mg/L and 91.34%,96.08% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65295
ISBN: 9741727445
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cholakorn_ma_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ851.25 kBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch1_p.pdfบทที่ 1641.84 kBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch2_p.pdfบทที่ 2604.3 kBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch3_p.pdfบทที่ 31.36 MBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch4_p.pdfบทที่ 41.15 MBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch5_p.pdfบทที่ 52.69 MBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_ch6_p.pdfบทที่ 6628.83 kBAdobe PDFView/Open
Cholakorn_ma_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.