Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66377
Title: สถานภาพการทำงานและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของแรงงานเด็กไทย ในจังหวัดเชียงราย ปี 2544
Other Titles: Work situation and accessibility to health services of Thai child labour in Chiang Rai, 2001
Authors: พัชรินทร์ สุริยะ
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: แรงงานเด็ก
บริการทางการแพทย์
Health services
Health services accessibility
Hygicne
เชียงราย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการทำงานและการเข้าถึงบริการสุขภาพทั้ง 5 ด้านได้แก่ การรับข้อมูลข่าวสาร, การเดินทาง, ระยะเวลา, คุณภาพบริการ และค่าใช้จ่ายของ แรงงานเด็กไทยในจังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2544 ถึง กุมภาพันธ์ 2545 กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานเด็กไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 500 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 453 คน เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้ Unpaired t - test , Mann - Whitney U - test, One - way ANOVA และ Kruskal - Wallis H test. ผลการศึกษาพบว่า แรงงานเด็กมีอายุเฉลี่ย 16.43 ปีมีการศึกษาระดับประถมศึกษา 49.00 % รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 3,288.55 บาท/เดือน แรงงานเด็กส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม 46.30 % ชั่วโมงการ ทำงานเฉลี่ย8 ชั่วโมง51 นาที/วัน รายได้เฉลี่ยของแรงงานเด็กคือ 1,919.49บาท/เดือน มีความสุขกับงานที่ทำ 27.10 % ไม่มีสวัสดิการการทำงานใดเลยจากนายจ้างถึง 45.79% ประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพ ในแต่ละด้านพบว่าค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเดินทาง ระยะเวลา คุณภาพบริการ และค่าใช้จ่าย เป็น 3.66, 3.71,3.27, 3.55 และ 3.41 ตามลำดับ โดยเฉพาะแรงงานเด็กที่มีความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 45.79% เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบริการสุขภาพในหลายด้านกับปัจจัยส่วนบุคคล สภาพครัวเรือนสถานภาพการทำงาน และภาวะสุขภาพ พบว่า แรงงานเด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้าน ข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< 0.05) ตามชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการจากนายจ้าง คะแนนเฉลี่ยการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการเดินทางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ตามอายุอาชีพหลักของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ฐานะการเงินประเภทของงาน และสวัสดิการจากนายจ้างคะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านระยะเวลาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(<0.001) ตามอาชีพหลักของครอบครัว คะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านคุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามอาชีพหลักของครอบครัว สวัสดิการจากนายจ้าง คะแนนเฉลี่ยของระตับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้านค่าใช้จ่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามสถานภาพสมรส อาชีพของครอบครัว สวัสดิการจากนายจ้าง ความรู้สึกกับงาน จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแรงงานเด็กประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีสวัสดิการจากนายจ้างซึ่งมีผลต่อสถานภาพการทำงานและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเกี่ยวกับระยะเวลาที่รอรับบริการ ความคุ้มค่าของ บริการที่ได้รับกับค่าใช้จ่าย และขั้นตอนของการรับบริการ
Other Abstract: The purposes of this study were to explore work situation and accessibility to Health Service of Thai Child Labour in Chiang Rai, particularly in five dimensions : information, travel, length of service time, quality of service and payment. The study was conducted with 453 respondents out of 500 child labours, during November 2001 to February 2002. Unpaired t - test, Mann - Whitney U - test, One - way ANOVA and Kruskal - Wallis H test were used for statistical analyses. The results of this study showed that subjects were 16.43 years old on average, most of them finished primary school (49.00%), family incomes were 3,288 bahts per month. About 46 % of them working in agricultural section. Working hour was 8 hours 51 minutes on average, incomes were 1,919 bahts per month, happiness in work 27.10 % and 48.60 % no welfare. It was found that the mean score of five dimensions were 3.66, 3.71,3.27, 3.55 and 3.41,45.79 % of them stated trouble with payment. The items of accessibility to health service, information dimension was significantly difference by working hour, welfare (p<0.05), travel dimension was significantly different by age, occupation of family, number of family, status of family finance, type of work and welfare(p<0.05). Length of service time and quality of services dimension were significantly different by occupation of family(p<0.001). Service cost dimension was significantly different by marital status, occupation of family, welfare and feel of work (p<0.05). These findings indicated that low incomes and welfare may affect work situation and accessibility to health services, especially waiting time, cost effectiveness and service quality process. Those child labour quality of life needs more concern from all related agencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66377
ISBN: 9741702973
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin_su_front_p.pdf858.26 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_ch1_p.pdf812.56 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_ch2_p.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_ch3_p.pdf736.59 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_ch4_p.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_ch5_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_su_back_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.