Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66606
Title: ลักษณะความขัดแย้งกับบิดามารดาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Conflict with parent among junior high school students in Bangkok
Authors: อังสนา กองกระวี
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครอบครัว
บิดามารดา
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Domestic relations
Parents
Interpersonal conflict -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความขัดแย้งกับบิดามารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 620 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi Stage Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามลักษณะความขัดแย้งกับบิดามารดาเป็นแบบประเมินด้วยตัวเอง (Issues checklist)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่าง independent t-test, analysis of variance (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบ LSD-test การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะความขัดแย้งกับบิดามารดาในระดับมาก (ร้อยละ 64.7) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 33.0) ลักษณะความขัดแย้งมากที่สุด คือ การทะเลาะกับพี่น้อง (ร้อยละ 68.7) อันดับ 2 คือ การวางข้าวของเครื่องใช้หรือถอดเสื้อผ้าไม่เป็นระเบียบ (ร้อยละ 64.9) อันดับ 3 คือ การเล่นคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 64.2) อันดับ 4คือ การเถียงพ่อแม่ (ร้อยละ 63.6) อันดับ 5 คือ การเรียน เช่น ผลการเรียนไม่ดี (ร้อยละ 60.0) 2. เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความขัดแย้งกับบิดามารดากับปัจจัยที่ศึกษา พบว่า เพศ คะแนนเฉลี่ยสะสม จำนวนเงินที่นักเรียนได้รับต่อเดือน อาชีพบิดา รายได้บิดา สถานภาพสมรสของบิดามารดา สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดามีผลต่อลักษณะความขัดแย้งกับบิดามารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05>
Other Abstract: The purpose of this research was to study the conflict with parent among junior high school students in Bangkok. 620 junior high school students were recruited by Multi Stage Cluster Sampling. The Issues Checklist (IC) was used measure the severely of conflict between the subjects and the parents. All questionnaires were analyzed by SPSS/PC for percentages, means, standard deviations, the independent t-test, the analysis of variance (ANOVA) and the LSD-test were used to analysis the difference between groups. The results of the research were as follows 1.The severely conflicts with parents were mostly is the high level (64.7%) and middle level (33%). Types of conflict were found as follows in decreasing frequencies : fighting between sibling (68.7%), putting away cloths (64.9%), playing computer or internet (64.2%), talking back to parents (63.6%) and getting low grades in school (60.0%) 2.Through the analyze by T-test and ANOVA indicated factors found to be associated with conflict as the statistically significant level of P<0.05 were gender, grade point average (GPA), student’s expense monthly allowance, father’s occupation and income, Marital Status and Mental relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66606
ISBN: 9741422202
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angsana_ko_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ864.89 kBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1951.27 kBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_ch2_p.pdfบทที่ 22.1 MBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3805.04 kBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_ch4_p.pdfบทที่ 41.23 MBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5985.36 kBAdobe PDFView/Open
Angsana_ko_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.