Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66800
Title: ผลกระทบในเชิงสัณฐานของเมืองจากโครงการวางผังออกแบบชุมชนในพื้นที่พัฒนาพิเศษเขตเศรษฐกิจใหม่พระราม 3 กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Urban morphological impacts from the iii new economic area development project, Bangkok
Authors: วิศาล ชูประดิษฐ์
Advisors: ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
อภิรดี เกษมสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Khaisri.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ถนนพระรามที่ 3 (กรุงเทพฯ)
ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Land use -- Thailand -- Rama III (Bangkok)
Central business districts -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเมือง ตลอดจนเทคนิคและวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสัณฐานของเมือง / วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างเชิงสัณฐานทางกายภาพในแง่ของรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินและการสัญจร ความหนาแน่นของมวลอาคาร และโครงข่ายพื้นที่สาธารณะในเขตพื้นที่พัฒนาฯ พระราม 3 รวมทั้งบริเวณใกล้เคียงโดยรอบก่อนและหลังการวางผังพัฒนา / ประเมินประสิทธิภาพของผังพัฒนาฯ พระราม 3 โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างเชิงสัณฐานทางกายภาพของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการพัฒนากับโครงสร้างเชิงสัณฐานทางกายภาพของพื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบ / ความสามารถในการเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงของพื้นที่ศึกษา รวมทั้งความสอดคล้องระหว่างศักยภาพการเข้าถึงของพื้นที่หลังการพัฒนากับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และความหนาแน่นของมวลอาคาร สุดท้ายเพื่อสรุปเป็นผลกระทบเชิงสัณฐานของเมืองจากผังพัฒนาฯ พระราม 3 และข้อเสนอแนะในการวางผังโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน พื้นที่พระราม 3 ก่อนการพัฒนามีศักยภาพในการเข้าถึงค่อนข้างต่ำ ขาดโครงข่ายถนนตัดผ่านภายในที่เพียงพอ รูปแบบมวลของอาคารในพื้นที่ค่อนข้างละเอียดเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย มวลอาคารขนาดใหญ่เป็นกลุ่มอาคารพาณิชยกรรม เกาะตัวตามแนวถนนหลักที่มีศักยภาพในการเข้าถึงสูง การวิเคราะห์พื้นที่ภายหลังการพัฒนาพบว่า พื้นที่พระราม 3 ในภาพรวมมีศักยภาพในการเข้าถึงที่สูงขึ้น พื้นที่โล่งว่างภายในมีการเข้าถึงมากขึ้นมีมวลอาคารขนาดใหญ่เกิดขึ้นทางด้านใต้ของพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารพาณิชยกรรมใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามวลอาคารของย่านชุมชนเดิมอย่างมาก บริเวณดังกล่าวมีศักยภาพในการเข้าถึงที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับย่านชุมชนพักอาศัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผังพัฒนาฯ สร้างให้เกิดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพการเข้าถึงของโครงข่ายพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ เนื่องจากย่านธุรกิจใหม่ต้องการความคล่องตัวสูงในการสัญจร แต่พื้นที่ดังกล่าวกลับมีศักยภาพการเข้าถึงที่ต่ำอาจไม่สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบได้ดีนัก และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหาจราจรตามมา ส่วนย่านชุมชนพักอาศัยเดิมนั้น การพัฒนาสร้างให้เกิดเส้นทางสัญจรที่มีศักยภาพในการเข้าถึงสูงมาก ซึ่งอาจทำให้เสียสภาพของการเป็นย่านพักอาศัยที่ต้องการความเงียบสงบกว่า ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงย่านพักอาศัยดังกล่าวในย่านพาณิชยกรรมได้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความไม่สอดคล้องระหว่างปริมาณจราจรและรูปแบบการใช้ที่ดินแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดความแออัดจากการสัญจรตามมา รวมทั้งการขาดความพร้อมในการรองรับของระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ที่ดีอีกด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องอย่างชัดเจนของผังที่เกิดขึ้นใหม่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบการสัญจร อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การวางผังพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่จะมีผลกระทบต่อเมืองอย่างมากนั้น ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสัณฐานทางกายภาพของเมืองเป็นสำคัญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ย่อมส่งผลกระทบต่อปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ การวางผังพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ยังต้องพิจารณาศักยภาพในการเข้าถึงของพื้นที่ที่สอดคล้องกับเมืองในภาพรวมด้วย
Other Abstract: The objectives of this thesis are; to review the concept of urban renewal including techniques and methods for urban morphological analysis; to comparatively analyze urban morphological structures, in terms of land use, transportation network, figure and ground and spatial configuration patterns of Rama III area and its surroundings before and after the development; to evaluate efficiency of the project by analyzing the integration of the developed area’s morphological structure and its surroundings, the increase of potential accessibility, and the coherence between the potential accessibility and the change of land use, figure and ground patterns. All findings are summarized as urban morphological impacts from the Rama III new economic area development project. Rama III area before the development is rather low accessible with very few interconnected routes within. Its inner fine grained figure-ground pattern is of residential land use and the larger but coarser one is of commercial aligning along major roads. The after- development area analysis suggests that the Rama III area as a whole would have a higher level of accessibility. Its inner vacant spaces would be more interconnected. However, large built-up figures, mostly commercial complexes, that are evident in the southern part of the area would rather be alienated from those fine grained figures of the surrounding context. According to the configuration analysis using Space Syntax technique, these commercial areas have rather low potential accessibility comparing to the residential ones. The result suggests that the Rama III development project creates a land use plan that is incompatible with its potential accessibility. While the commercial land use needs to be highly accessible and well integrated with a larger urban area, the plan offers the contrary. On the other hand, the residential land use which needs a lower accessibility and a more serene and ‘quite’ environment, the area would turn out to be ‘busy’ with heavily traffic streets. This would consequently transform the residential area into a commercial one, worsen the traffic and under-supplied infrastructure and facility problems in the area. The analytical findings evidently suggest the unbalance between the plan’s prospective land use and its supporting infrastructure. The study confirms that the large scale urban development needs to concern greatly on its morphological impact on the city as any unbalanced spatial change would consequently have negative effects on other social and economic factors. Any large scale urban development plan should then also include the integration analysis of the area and its urban context.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66800
ISBN: 9741765843
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisan_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.24 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.46 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch2_p.pdfบทที่ 23.59 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch3_p.pdfบทที่ 37.91 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch4_p.pdfบทที่ 44.16 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch5_p.pdfบทที่ 52.84 MBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6967.6 kBAdobe PDFView/Open
Wisan_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก791.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.