Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66833
Title: ความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนพืชขนาดไมโครแพลงก์ตอนบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Diversity and abundance of microphytoplankton in Bangpakong River mouth, Chachoengsao Province
Authors: วรญา ไขว้พันธุ์
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Ajcharaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: แพลงก์ตอนพืช -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
แม่น้ำบางปะกง
Phytoplankton -- Thailand -- Chachoengsao
Bang Pakong River ‪(Thailand)‬
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนพืชขนาดไมโครแพลงก์ตอน(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 ไมโครเมตร) บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์ เมษายน ธันวาคม พ.ศ. 2547 และกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม และกันยายน พ.ศ. 2547) จาก 8 สถานี พร้อมวัดค่าปัจจัยสิ่งแวดล้อม และเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์_เอ และปริมาณสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 ดิวิชัน 87 สกุล 189 ชนิด แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายสูงสุดคือ พบทั้งสิ้น 48 สกุล 98 ชนิด แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นที่พบสม่ำเสมอทุกเดือนได้แก่ ไดอะตอม Thalassiosira และไซยาโนแบคทีเรีย Oscillatoria ซึ่ง Oscillatoria เป็นสกุลเด่นที่พบทั้ง 2 ฤดูทั้งในบริเวณปากแม่น้ำและในทะเล นอกจากนี้พบไดโนแฟลกเจลเลตสกุล Ceratium มีความหลากหลายสูงถึง 10 ชนิด ดัชนีความหลากหลายมีค่าสูงสุดในฤดูแล้ง พ.ศ. 2548 โดยมีค่าเฉลี่ย 1.78±0.26 และมีค่าต่ำสุดฤดูแล้ง พ.ศ. 2547 โดยมีค่าเฉลี่ย 0.63±0.05 เนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Skeletonema costatum ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชมีค่าสูงสุดในฤดูแล้ง พ.ศ. 2547 และมีค่าต่ำสุดในฤดูฝน โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1.83x103-1.66x106 เซลล์ต่อลิตร และ 8.77x102-4.02x104 เซลล์ต่ลิตรตามลำดับ สอดคล้องกับการผันแปรของอุณหภูมิและสารอาหารแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ปริมาณคลอโรฟิลล์_เอทั้งหมดมีค่าอยู่ในช่วง 0.45-9.49 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบว่าในช่วงฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าในช่วงฤดูแล้ง สัดส่วนปริมาณคลอโรฟิลล์_เอจากไมโครแพลงก์ตอนคิดเป็นร้อยละน้อยกว่า 1 ถึงร้อยละ 56.33 ของปริมาณคลอโรฟิลล์_เอทั้งหมด ชุมชนแพลงก์ตอนพืชสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ชุมชนแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำในฤดูแล้งที่มี Skeletonema เป็นสกุลเด่นชุมชนแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำในฤดูฝนมีไซยาโนแบคทีเรีย Oscillatoria เป็นสกุลเด่น และชุมชนแพลงก์ตอนพืชในทะเลทั้ง 2 ฤดู โดยพบไดอะตอมหลายชนิดเป็นสกุลเด่นร่วมกัน ความชุกชุมและมวลชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชรวมทั้งปริมาณสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงแสดงว่าบริเวณนี้มีสภาพเป็น mesotrophic environment แต่ในฤดูแล้งบริเวณปากแม่น้ำอาจมีสภาพเป็น eutrophic environment จนเกิดปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีได้
Other Abstract: The diversity and abundance of microphytoplankton (diameter > 20 μm) in the Bangpakong river mouth Chachoengsao province in the dry season (February, April and December 2004 and February 2005) and the wet season (July and September 2004) was investigated from 8 stations. Physico-chemical parameters were determined in situ. Water samples were also collected for the analyses of dissolved inorganic nutrients and chlorophyll a content. One hundred and eighty nine species of phytoplankton from eighty-seven genera and 4 divisions were recorded from the study area. Diatoms are the most diverse group comprised 48 genera and ninety eight species. The most frequent phytoplankton genera found in this area are a diatom Thalassiosira and a cyanobacterium Oscillatoria. The latter genus can be found in both seasons in the river mouth and the coastal sea. There were 10 species of a dinoflagellate Ceratium in this area. The highest diversity index of 1.78±0.26 was found in the dry season 2005 where the lowest diversity index of 0.63±0.05 was found in the dry season 2004 due to the bloom of a diatom Skeletonema costatum in April 2004. The highest density of phytoplankton were reported in the dry season 2004 (1.83x103-1.66x106cell/I) and the lowest density of phytoplankton were reported in the wet season (8.77x102-4.03x104 cell/I). The abundance of phytoplankton in dry season was higher than in the wet season and the value tended to increase with increasing temperature and concentration of ammonium. The amounts of chlorophyll a as a representative of phytoplankton biomass were in the ranges of 0.45-9.49 μg/l with the higher value in the wet season. Microphytoplankton contributed for <1.56.33 % of total chlorophyll a contents. Phytoplankton communities in the Bangpakong river mouth can be distinguished into three separate groups. The communities of phytoplankton in the river mouth in the dry season with the dominance of diatom S. costatum. The cyanobacteria Oscillatoria dominated communities of the river mouth area in the wet season and the communities in the sea in both seasons with co-occurrence of multi-species of diatom. The results on phytoplankton abundance and biomass as well as the concentration of dissolved inorganic nutrients indicated the mesotrophic nature of this area with the exception of a eutrophic condition of the river mouth with will result in the plankton bloom in the dry season.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66833
ISBN: 9741423454
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worraya_kh_front_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_ch1_p.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_ch2_p.pdf939.02 kBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_ch3_p.pdf11.65 MBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_ch4_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_ch5_p.pdf667.99 kBAdobe PDFView/Open
Worraya_kh_back_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.