Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66879
Title: การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้ที่ประสบความสำเร็จตามกฎแห่งความสำเร็จของนโปเลียน ฮิลล์
Other Titles: Development of non-formal education activity models based on the Neo-humanist approach to enhance learning about desirable characteristics of a successful person in accordance with Napoleon Hill's law of success
Authors: วรรัตน์ อภินันท์กูล
Advisors: เกียรติวรรณ อมาตยกุล
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kiatiwan.A@Chula.ac.th
Wirathep.P@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จตามกฎแห่งความสำเร็จของนโปเลียน ฮิลล์ ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมและคู่มือการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จตามกฎแห่งความสำเร็จของนโปเลียน ฮิลล์ โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จตามกฎแห่งความสำเร็จของนโปเลียน ฮิลล์ และกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ กลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนี้ใน 2 ส่วนคือส่วนที่ 1 การเข้าร่วมโปรแกรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 40 ชั่วโมง และส่วนที่ 2 เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเรียนจากคู่มือ เป็นเวลา 15 ชั่วโมง ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. กระบวนการของรูปแบบ ได้แก่ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษา (2) การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (4) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มทดลองมีการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop the non-formal education activity models based on the Neo-Humanist approach to enhance learning about desirable characteristics of a successful person in accordance with Napoleon Hill's law of success. The program and handbook of non-formal education activity were based on the Neo-Humanist approach to enhance learning about desirable characteristics of a successful person in accordance with Napoleon Hill's law of success and were used with 40 students from Faculty of Education, Chulalongkorn University as a sample group. The subjects were divided into 2 groups. Both groups were then divided into the experimental group and the control group with 20 people in each. The experimental group had been participated in this activity which had 2 parts: workshop program for 40 hours and do activities by self-study in handbook for 15 hours. The research results were as follow: 1. process of model such as (1) educational goal setting (2) learning experience selection(3) learning experience organization (4) learning evaluation 2. Summary of model for experimental group was that the posttest learning about desirable characteristics of a successful person of the experimental group was higher than that of the control group significantly at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66879
ISBN: 9745324485
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worarat_ap_front_p.pdf959.6 kBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_ch1_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_ch2_p.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_ch3_p.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_ch4_p.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_ch5_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Worarat_ap_back_p.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.