Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67274
Title: | การแสดงโขนของอากาศตไล |
Other Titles: | Khon performance of Akattalai |
Authors: | อนุชา บุญยัง |
Advisors: | สวภา เวชสุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | โขน การรำ -- ไทย |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะท่ารำอากาศตไล ซึ่งเป็นยักษ์ผู้ชายผสมผสานกับยักษ์ผู้หญิง วิธีการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์โขนตัวอากาศตไล แล้วนำกระบวนท่าทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท่ารำที่เป็นรูปแบบของยักษ์ผู้ชายและยักษ์ผู้หญิง ตลอดจนการแต่งกายของอากาศตไลที่มีลักษณะแตกต่างจากยักษ์ตนอื่นที่ปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ โดยข้อมูลจากครู 3 ท่าน คือ นายทองเริ่ม มงคลนัฏ นายหยัด ช้างทอง และนายราฆพ โพธิเวส ผลการวิจัยพบว่า อากาศตไลคือยักษ์เสื้อเมืองที่มีกระบวนท่ารำที่ปรากฏในการแสดงโขนที่เด่นชัด คือ การรำตรวจพล การรำกระบวนท่ารบกับหนุมาน ซึ่งปรากฏอยู่ในการแสดงโขนตอน สืบมรรคา รูปแบบกระบวนท่ารำของครู 3 ท่านดังนี้ 1.ท่ารำตรวจพลของ นายทองเริ่ม มงคลนัฏ และนายหยัด ช้างทอง มีกระบวนท่าเหมือนกัน ใช้อาวุธประกอบการรำคือหอก ของนายราฆพ โพธิเวส กระบวนท่ารำแตกต่างจากครู 2 ท่าน และใช้อาวุธประกอบการรำ คือ กระบอง 2.การรำกระบวนท่ารบกับหนุมานของ นายทองเริ่ม มงคลนัฏ และ นายหยัด ช้างทอง คล้ายคลึงกับใช้อาวุธประกอบการรำคือกระบวน สำหรับทำเฉพาะของครู 3 ท่าน มีลักษณะเดียวกัน คือ การจับอก จับก้น ของ หนุมาน และการเขินอาย สะบัดค้อน ของอากาศตไล เป็นต้น ผู้แสดงอากาศตไลต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกหัดเบื้องต้นขั้นพื้นฐานของตัวยักษ์ผู้ชายตามขั้นตอนแล้วจึงฝึกหัดบทบาทเฉพาะของอากาศตไล เพื่อใช้ในการแสดงที่มี 2 รูปแบบ คือ โขนหน้าจอและโขนฉาก ใช้วงปีพาทย์เครื่องห้า บรรเลงเพลงกราวในสำหรับการรำตรวจพล เพลงเชิด ในการรำกระบวนท่ารบ มีบทพาทย์เจรจาในอารมณ์โกรธที่ใช้ในการต่อสู้กับหนุมาน อากาศตไลมีรูปแบบการแต่งกายที่ปรากฏในการแสดงอยู่ 2 รูปแบบคือ การนุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่สวมสนับเพลา และการนุ่งผ้าจีบน้านาง สวมเสื้อแขนยาวสีส้ม สวมผ้าห่มชายปีกกาทั่วไปของตัวนางยักษ์และสวมเครื่องประดับของตัวนาง การแสดงโขนของอากาศตไล ไม่ค่อยได้รับความนิยมออกแสดงเนื่องจากมีบทบาทน้อย และกระบวนท่ารำที่ผสมผสานกันระหว่างยักษ์ผู้ชายและผู้หญิง ยังไม่ได้มีการสืบทอดที่ชัดเจน และบุคลิกลักษณะตลอดจนรูปร่างของผู้แสดงอากาศตไลหาได้ยาก จึงควรได้รับการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this thesis was to study the dance movements of “Arkasatalai,” a hermaphroditic demon. The data collection was conducted by means of interviewing experts and those with experience performing this character and conducting analyses of the differences between the dance movements of male demons and female demons, as well as the costumes of Arkasatalai which is different from those of other demons in the Ramayana epic. The three experts who participated in the interviews were (1) Mr. Thongrerm Mongkolnat, (2) Mr. Yud Changthong, and (3) Mr. Rakhop Bhodives. The findings of the study reveal that Arkasatalai is considered a suer muang demon, or a demon which has the responsibility to protect the realm. In khon performance (or masked play), there are two dance movements which are considered unique for this particular character called “rum truoj pol” (reviewing the troop) and “rum krabuanta rob kub Hanuman” (combating with Hamuman) which are prominent in che Sueb Munka episode of khon. A comparison of the three experts’ dance movements are as follows: As for the “rum truoj pol” movement, the movements of Mr. Thongrerm Mongkholnat and Mr. Yud Changthong were identical, with a spear as their weapon, but they were was different from tf.at of Mr. Rakhop Bhodives who used a club. Regarding the “rum krabuanta rob kub Hanuman,” the dance movements of Mr. Thongrerm Mongkholnat and Mr. Yud Changthong were similar with the use of a club. The specific movements of these three experts were the same, with the Arkasatalai character touching the breast and buttock of Hanuman, or showing his embarrassment and displeasure, to name a few. In general, the performers of this character have to master the dance movements of regular male demons before practicing the specific dance movements of Arkasatalai to be performed in two types of performance-khon na jaw and khon chak. The Thai orchestra is used for background music when performing the former movement, while there is a dialogue expressing the character’s anger toward Hanuman in the latter. There are two types of costumes for Arkasatalai. When dressed as a male, the character wraps a long cloth around the waist, fan-fold the edges together and pass the folded portion between the legs and hitch it at the waist in the back, and without a pair of shorts. When dressed as a female, the character wears a floor-length tube skirt with a pleat in the front, a long-sleeved orange blouse, a shoulder wrap, and jewelry. The performance of Arkasatalai is not popular because it is not considered a major role. A lack of a specific set of dance movements combining the movements of both male and female demons as well as a difficulty in finding a performer with the right body type for the role also contribute to its lack of popularity. Therefore, this performance should be studied, preserved and passed on for generations to come. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67274 |
ISBN: | 9741304382 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anucha_bo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 847.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 715.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 736.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anucha_bo_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.