Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67719
Title: เกณฑ์การออกแบบโครงสร้างคันดักตะกอนกรณีชายฝั่งสมดุล
Other Titles: Design criteria of groins for equilibrium shoreline
Authors: บุศวรรณ โพธิทอง
Advisors: ชัยพันธุ์ รักวิจัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: คันดักตะกอน (การป้องกันชายฝั่ง)
ชายฝั่ง
การป้องกันชายฝั่ง (ชลศาสตร์)
คลื่น
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานป้องกันชายฝั่งทะเลมักใช้โครงสร้างคันดักตะกอน (groin) ในการปรับปรุงชายฝั่งให้มั่นคงและชายฝั่งจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมดุลตามลักษณะของคลื่นที่เข้ามากระทำ สำหรับการศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งหาเกณฑ์การออกแบบโครงสร้างคันดักตะกอนในกรณีชายฝั่งสมดุล โดยศึกษาจากแนวชายฝั่งที่มีคลื่นกระทำเป็นมุมในแบบจำลองแอ่งคลื่น ณ ห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเลภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อกำหนดให้ความยาวและระยะห่างระหว่างโครงสร้าง เป็นตัวแปรออกแบบ ส่วนความสูงคลื่น คาบเวลาคลื่น ความยาวคลื่น และมุมที่คลื่นกระทำต่อแนวชายฝั่งเป็นตัวแปรสภาวการณ์คลื่น สิ่งที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วยแบบจำลองแอ่งคลื่น แบบจำลองโครงสร้างคันดักตะกอนเครื่องกำเนิดคลื่น เครื่องมือวัดความสูงคลื่น และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งแผงวงจรแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัลในการวัดข้อมูลคลื่น โดยในแบบจำลองแอ่งคลื่นนี้ใช้ชายฝั่งเป็นทรายขนาดเฉลี่ย0.25 มม. และกำหนดแนวคลื่น (wave front) ทำมุมกับแนวชายฝั่ง 3 มุม คือ 15 องศา, 30 องศา และ45 องศา โดยผันแปรค่าความสูงของคลื่น และคาบเวลาของคลื่น ให้มีค่าความชันคลื่นในแอ่งคลื่นอยู่ในช่วง 0.004 ถึง 0.05 และกำหนดติดตั้งโครงสร้างคันดักตะกอนให้มีระยะห่าง 1, 2, 3 และ 4 เมตร ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งที่สภาวะสมดุลจากกรณีของการทดลองทั้งหมด 60 กรณี สรุปได้ว่าระยะเว้าของชายฝั่งหรือระยะการกัดเซาะชายฝั่งระหว่างโครงสร้างคันดักตะกอน ได้รับอิทธิพลจากมุมที่คลื่นกระทำต่อชายฝั่งเป็นสำคัญ และระยะห่างระหว่างโครงสร้างมีอิทธิพลต่อแนวชายฝั่งเป็นอันดับสอง ส่วนความชันคลื่นมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยต่อรูปร่างแนวชายฝั่งสมดุล แต่จะมีความสัมพันธ์กับระยะคลื่นแตกตัว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการกำหนดความยาวของโครงสร้างในการออกแบบจากการศึกษาพบว่า ระยะเว้าของชายฝั่งและระยะคลื่นแตกตัวมีความสัมพันธ์กับลักษณะคลื่นในน้ำลึกคลื่นบริเวณน้ำลึกปานกลาง และคลื่นในน้ำตื้น และสามารถสรุปเป็นเกณฑ์การออกแบบโครงสร้างคันดักตะกอนที่สัมพันธ์กับคลื่นในน้ำลึกได้ ดังนั้นเมื่อทราบคุณสมบัติคลื่นในน้ำลึกและทิศทางที่คลื่นกระทำต่อแนวชายฝั่ง สามารถใช้เกณฑ์การออกแบบนี้กำหนดระยะห่างระหว่างโครงสร้าง และระยะเว้าของชายฝั่งที่เหมาะสมได้
Other Abstract: In coastal protection, groins are usually used to stabilize shoreline, which will finally reach an equilibrium state corresponding to the incoming wave characteristics. This investigation aims at the design criteria of groins for an equilibrium shoreline. A set of shorelines under oblique wave attacks has been studied in the wave basin of Hydraulic and Coastal Model Laboratory, the Department of Water Resources Engineering, Chulalongkorn University. The length and spacing of groins are the design variables while wave height, wave period, wave length and wave direction represent the design condition. The tools used in this study consists of a wave basin, groin models, wave generator, wave height meter, and an IBM-PC computer with an analog to digital conversion card for measuring wave data. The shoreline was made of fine sand with an average size of 0.25 mm and was adjusted with the angle of 15, 30, and 45 to the wave front. For each experiment, wave height and wave period were varied to give a wave steepness of 0.004-0.050 in the wave basin and the spacing of groins set of 1,2, 3 and 4 m. About 60 case studies were experimented, and the obtained equilibrium shoreline was analyzed. It was found that the recession of a shoreline depended on the wave direction and the spacing of groins. The wave steepness had little effect on the shoreline shape but it affected the wave breaking distance, which was one of the important factors to design length of groin. The recession distance of a shoreline and the wave breaking distance were related to the wave climate condition at deepwater, intermediate depth and shallow water. Finally a set of design criteria was then formulated using the wave, climate at deepwater condition. If the characteristics of deepwater wave were known, the groin length, the groin spacing and the recession distance could be determined.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67719
ISBN: 9743328068
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Butsawan_po_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_ch1_p.pdfบทที่ 11.09 MBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_ch2_p.pdfบทที่ 22.25 MBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_ch3_p.pdfบทที่ 32.27 MBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_ch4_p.pdfบทที่ 44 MBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_ch5_p.pdfบทที่ 5938.32 kBAdobe PDFView/Open
Butsawan_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก8.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.