Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67803
Title: คุณค่าของการกระจายคิวทีจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
Other Titles: Diagnostic value of QT dispersion for detecting myocardial ischemia
Authors: พจน์ เจียรณ์มงคล
Advisors: สุรพันธ์ สิทธิสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Surapun.S@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
กล้ามเนื้อหัวใจ
หัวใจ -- โรค -- การวินิจฉัย
Coronary heart disease
Heart -- Diseases -- Diagnosis
Myocardium
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ค่าการกระจายคิวทีจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (QT dispersion) เป็นที่วัดได้จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาตรฐาน ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างกันของ repolarization ของกล้ามเนื้อหัวใจในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ มีการศึกษาพบว่าค่าการกระจายคิวทีจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าจะมีคุณค่าในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพียงใด การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อวัดค่าการกระจายคิวทีจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนและหลังการฉีดยา dipyridamole ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดวิธีหนึ่ง โดยเทียบผลที่ได้กับการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ dipyridamole stress 99 mtechnetium sestamibi single photon emission compute tomography (dipyridamole stress MIBI SPECT) เพื่อหาว่าค่าการกระจายคิวทีจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังฉีด dipyridamole และจะมีความไวและความจำเพาะเพียงใดในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผลการวิจัยปรากฏว่า มีจำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นน 56 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่ม dipyridamole stress MIBI SPECT ให้ผลลบ และให้ผลบวก ค่าการกระจายคิวทีก่อนฉีด dipyridamole เท่ากับ 37.3±14.0 และ 43.3±17.4 ms ตามลำดับ และเมื่อหลังฉีด dipyridamole ค่าการกระจายคิวทีเท่ากับ 43.2±16.0 และ 59.7±25.8 ms ตามลำดับ โดยที่ค่าการกระจายคิวทีก่อนและหลังการฉีด dipyridamole ในกลุ่มที่ dipyridamole stress MIBI SPECT ให้ผลบวก จะสูงกว่าในกลุ่มที่ให้ผลลบอย่างมีนัยสำคัญ และผลต่างของค่าการกระจายคิวทีหลังและก่อนฉีด dipyridamole ในกลุ่มที่ dipyridamole stress MIBI SPECT ให้ผลบวกจะสูงกว่าในกลุ่มที่ให้ผลลบอย่างมีนัยสำคัญ (5.9±10.3, 16.5±16.8 ms, p=0.032) เมื่อใช้ ROC curve เพื่อหาค่าที่ดีที่สุดของผลต่างของค่าการกระจายคิวทีหลังและก่อนฉีด dipyridamole ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พบว่าได้ค่าเท่ากับ 15 ซึ่งที่ค่านี้จะมีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่ากับ ร้อยละ 55, 65 ตามลำดับ โดยสรุป การศึกษานี้ยืนยันว่าค่าการกระจายคิวทีจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ว่าความไวและความจำเพาะในการที่จะใช้วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไม่สูงมากนัก
Other Abstract: QT dispersion has been proposed as a noninvasive measurement of the degree of inhomogeneity เท myocardial repolarization. Increased QT dispersion has been reported after myocardial ischemia. We investigated whether QT dispersion at baseline and after dipyridamole injection correlate with the imaging patterns obtained from dipyridamole stress tecnitium-99 MIBI single photon emission computed tomography (dipyridamole SPECT). Method and Results: QT dispersion was determined in 56 patients who underwent dipyridamole-SPECT from 12-lead electrocardiograms obtained at baseline and 8 minutes after beginning of dipyridamole injection. Based on the results of dipyridamole-SPECT, patients were divided into 2 groups: negative and positive group. Baseline QT dispersion in both groups were 37.3 ± 14.0 and 43.3 ± 17.4 ms, respectively. QT dispersion after injection of dipyridamole were 43.2 ±16.0, 59.7 ± 25.8 ms, respectively. Baseline QT dispersion and QT dispersion after dipyridamole injection were significantly greater in the group with positive for dipyridamole-SPECT. The change of QT dispersion before and after dipyridamole injection is significantly greater in patient with positive for dipyridamole-SPECT compared with patients with negative for dipyridamole-SPECT (5.9±10.3, 16.5±16.8 ms, p=0.032). These findings suggest that the change in QT dispersion before and after dipyridamole injection is significantly greater in patient with ischemic heart disease. But it is not very sensitive and specific for use as diagnostic tool for detecting myocardial ischemia.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67803
ISSN: 9741306253
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poj_ji_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ267.85 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch1.pdfบทที่ 191.72 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch2.pdfบทที่ 2349.06 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch3.pdfบทที่ 382.13 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch4.pdfบทที่ 4419.32 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch5.pdfบทที่ 596.14 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch6.pdfบทที่ 61.2 MBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch7.pdfบทที่ 746.23 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_ch8.pdfบทที่ 852.31 kBAdobe PDFView/Open
Poj_ji_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก119.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.