Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67964
Title: อิทธิพลของไนโตรเจนต่อการผุกร่อนแบบรูพรุนของรอยเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทนนิติเกรด 304 และ 316L ในสารละลายมาตรฐาน NACE และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3.5% โดยน้ำหนัก
Other Titles: Effects of nitrogen on pitting corrosion of 304 and 316L austenitic stainless steel weld metals in nace and 3.5Wt% NaCl solution
Authors: กนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ
Advisors: กอบบุญ หล่อทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Gobboon.L@Chula.ac.th
Subjects: เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก
เหล็กกล้า -- ปริมาณไนโตรเจน
ไนโตรเจน
เหล็กกล้า -- การเชื่อม
การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
Austenitic stainless steel
Steel -- Nitrogen content
Nitrogen
Steel -- Welding
Corrosion and anti-corrosives
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมโดยวิธีใช้แก๊สปกคลุมจะใช้ไนโตรเจนผสมในแก๊สปกคลุมอาร์กอน เพื่อควบคุมปริมาณของเดลต้าเฟอร์ไรท์ให้อยู่ในช่วง 5-10% โดยปริมาตร ป้องกันการแตกร้าวขณะร้อนและการกัดกร่อนแบบโครงสร้างตาข่ายของเดลต้าเฟอร์ไรท์ งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของไนโตรเจนต่อการกัดกร่อนแบบรูพรุนของรอยเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทนนิติกเกรด 304 และ 316L ที่เกิดจากการเชื่อมแบบทิกพัลส์ โดยใช้แก๊สอาร์กอนผสมแก๊สไนโตรเจนในอัตราส่วน 1-4% โดยปริมาตร ในสารละลายมาตรฐาน NACE และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3.5% โดยน้ำหนัก โดยการวัดเส้นโพลาไรเซชั่นและศึกษาผลของโครงสร้างจุลภาคที่เกิดจากการเชื่อมต่อการกัดกร่อนแบบรูพรุน การเพิ่มปริมาณส่วนผสมของแก๊สไนโตรเจนในแก๊สปกคลุมอาร์กอนในการเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม ออสเทนนิติกเกรด 304 และ 316L จะทำให้ปริมาณการละลายของไนโตรเจนในรอยเชื่อมเพิ่มขึ้น โดยการละลายของไนโตรเจนจะขึ้นกับธาตุที่ผสมอยู่ในรอยเชื่อม ปริมาณไนโตรเจนในรอยเชื่อมเพิ่มขึ้นจะทำให้เส้นโพลาไรเซชั่นของรอยเชื่อมเคลื่อนไปในทิศทางเพิ่มค่าศักย์ไฟฟ้า ทั้งในกรณีการวัดเส้นโพลาไรเซชั่นในสารละลายมาตรฐาน NACE และสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3.5% โดยน้ำหนัก คือทำให้ค่าศักย์ไฟฟ้าของการเกิดรูพรุนเพิ่มขึ้น แต่ค่าความหนาแน่นของกระแสในช่วงพาสซีฟลดลง สารละลายมาตรฐาน NACE จะมีผลต่อค่าศักย์ไฟฟ้าของการเกิดรูพรุน และค่าความหนาแน่นของกระแสในช่วงพาสซีฟมากกว่าสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3.5% โดยน้ำหนัก เพราะมีความเป็นกรดและปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์สูงกว่า การกัดกร่อนแบบรูพรุนของรอยเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทนนิติกเกรด 304 และ 316L เกิดขึ้นที่บริเวณขอบเกรนออสเทนไนท์กับเดลต้าเฟอร์ไรท์เนื่องจากบริเวณของเกรนมีพลังงานสูงเกิดการตกผลึกของสารประกอบโครเมียมไนไตรด์ได้ง่ายทำให้บริเวณข้างเคียงมีปริมาณโครเมียมที่จำเป็นแก่การเกิดฟิลม์น้อยกว่า 13% การกัดกร่อนแบบรูพรุนจะขยายตัวเข้าสู่โครงสร้างออสเทนไนท์
Other Abstract: In TIG welding of austenitic stainless steel nitrogen is mixed with argon shielding gas in order to control delta ferrite contents of weld metal between 5-10% by volume to prevent hot cracking and corrosion network of the delta ferrite. This research studied the effects of nitrogen on pitting corrosion of the 304 and 316L austenitic stainless steel weld metals produced by TIG pulse welding. Argon and argon with nitrogen 1-4% by volume were used as shielding gas. The polarization curves of weld metals were measured in the standard NACE and 3.5 Wt% NaCl solutions. Microstructure responsibility for pitting corrosion was also studied. Increasing nitrogen contents in argon shielding gas for TIG pulse welding of the 304 and 316L austenitic stainless steel will increase the nitrogen contents in weld metals. Increasing nitrogen contents of weld metal will shift the polarization curves measured in the standard NACE and 3.5 Wt% NaCl solutions to positive potentials. Pitting potentials increase and the passive current density decrease when nitrogen contents of weld metal increase. The NACE solution has more effects on the pitting potentials and passive current density than 3.5 Wt% NaCl solution because the NACE solution has lower pH and higher NaCl contents than 3.5 Wt% NaCl solution. Pitting corrosion of the 304 and 316L austenitic stainless steel weld metals was found at the austenite and delta ferrite interfaces and propagated to austenite phases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67964
ISBN: 9743311238
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokwan_sa_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.25 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1686.56 kBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.28 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.29 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_ch4_p.pdfบทที่ 42.13 MBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5621.96 kBAdobe PDFView/Open
Kanokwan_sa_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.