Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68032
Title: การใช้ฟิล์มไคโตซานที่มีสารสกัดจากชาเขียว Camellia sinensis ในการยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมู
Other Titles: Use of chitosan film containing green tea (Camellia sinensis) extract for shelf life extension of pork sausage
Authors: สุภารัตน์ น้อยผา
Advisors: อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Ubonratana.S@Chula.ac.th
Subjects: ชาเขียว
ไส้กรอก
การถนอมอาหาร
Green tea
Sausages
Food -- Preservation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการใช้ฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเชียวเพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมู โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสารสกัดชาเขียวโดยศึกษาผลของอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการสกัดต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกทั้งหมด (total phenolic content, TPC) พบว่าอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมต่อการสกัดชาเขียวคือ อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (°C) เวลา 20 นาที (min) ซึ่งเป็นภาวะที่ให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก 154.77 mg gallic acid equivalent/g sample (mg GAE/g) จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชาเขียว โดยแปรความเข้มข้นของสารสกัดชาเขียวเป็น 2, 5, 10 และ 20%(w/v) ติดตามผลโดยการหาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด, ปฏิกิริยาการจับอนุมูล 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ การยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ 4 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus TISTR 118, Salmonella Enteritidis DMST 17368, Escherichia coli TISTR 780 และ Pseudomonas fluorescens TISTR 358 ด้วยวิธี agar diffusion ผลการทดลองพบว่าปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดในสารสกัดชาเขียวอยู่ในช่วง 155.08-605.61 mg GAE/g sample และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดชาเขียว ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05)ส่วนเปอร์เซ็นต์การจับอนุมูล DPPH มีค่าสูงที่สุด (70.32%) เมื่อใช้สารสกัดที่ความเข้มข้น 10% และพบสารสกัดชาเขียวให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ S.aureus ดีที่สุดรองลงมาคือ E.coli อย่างไรก็ตามที่ความเข้มข้นของสารสกัด 2, 5 และ 10% ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ P.fluorescens และ S. enteritidis แต่ยับยั้งได้เล็กน้อยที่ความเข้มข้นของสารสกัด 20% การทดลองขั้นที่ลองศึกษาผลของการเติมสารสกัดชาเขียวความเข้มข้น 0,2,5, 10 และ 20%(w/v) ต่อสมบัติทางกายภาพ, เคมี และจุลินทรีย์ของฟิล์มไคโตซานพบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด ค่าการซึมผ่านของไอน้ำ (water vapor permeability, WVP) และค่าความสว่าง (L*) มีค่าลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความหนา, ค่าสีแดง (a*), ค่าสีเหลือง (b*) และการเปลี่ยนแปลงของค่าสี (E ) มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์การจับอนุมูล DPPH มีค่าสูงที่สุด (70.32%) เมื่อใช้สารสกัดที่ความเข้มข้น 10% และพบว่าสารสกัดชาเขียวให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ S.aureus ดีที่สุดรองลงมาคือ E.coli อย่างไรก็ตามที่ความเข้มข้นของสารสกัด 2, 5 และ 10% ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ P.fluorescens และ S.enteritidis แต่ยับยั้งได้เล็กน้อยที่ความเข้มข้นของสารสกัด 20% การทดลองขั้นที่ลองศึกษาผลของการเติมสารสกัดชาเขียวความเข้มข้น 0, 2, 5, 10 และ 20%(w/v) ต่อสมบัติทางกายภาพ, เคมี และจุลินทรีย์ของฟิล์มไคโตซาน พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด ค่าการซึมผ่านของไอน้ำ (water vapor permeability, WVP) และค่าความสว่าง (L*) มีค่าลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความหนา, ค่าสีแดง (a*), ค่าสีเหลือง (b*) และการเปลี่ยนแปลงของค่าสี (E ) มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อเทียบกับฟิล์มไคโตซานที่ไม่เติมสารสกัดชาเขียว และพบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดชาเชียวไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญจุลินทรีย์ของฟิล์มไคโตซานโดยไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์บริเวณใต้แผ่นฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเขียว นอกจากนี้เมื่อเพิ่มความเข้นข้นของสารสกัดชาเขียวปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และการต้านอนุมูล DPPH จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) ยกเว้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดชาเขียว 20% สมบัติต้านอนุมูล DPPH มีค่าน้อยที่สุด ในขณะที่ฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเขียวความเข้มข้น 10% มีสมบัติต้านอนุมูล DPPH สูงที่สุด (63.74%) จึงเลือกฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดความเข้มข้นดังกล่าวไปใช้ในการทดลองขั้นต่อไป การทดลองในส่วนสุดท้ายจึงเป็นการนำฟิล์มไคโตซานที่มีความเข้มข้นของสารสกัดชาเขียว 10% มาประยุกต์ใช้ในการห่อผลิตภัณฑ์ไส้กรอกโดยเปรียบเทียบกับฟิล์มไคโตซานที่ไม่เติมสารสกัดชาเขียว และการไม่ใช้ฟิล์มไคโตซาน จากนั้นติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกทางกายภาพ ได้แก่ ค่าทางสี (L* a* และ b*) และเนื้อสัมผัส (แรงตัดขาด), ทางเคมี ได้แก่ ค่า pH และค่ากรดไทโอบาร์บิทูริก (Thiobarbituric acid value, TBA) ทางจุลินทรีย์ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์ รา และแบคทีเรียแลกติกและการทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยพิจารณา ระดับสี, การเกิดเมือก, กลิ่นผิดปรกติ และการยอมรับโดยรวม ของผลิตภัณฑ์ไส้กรอก พบว่าฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเขียวมีค่า TBA ที่ต่ำกว่าตัวอย่างที่ห่อด้วยฟิล์มไคโตซานและตัวอย่างควบคุม เช่นเดียวกันกับค่าแรงตัดขาด, ค่า L* และ ค่า b* ที่เพิ่มขึ้นและค่า a* ที่ลดลง และพบว่าตัวอย่างที่ห่อด้วยฟิล์มที่เติมสารสกัดชาเขียวมีการเจริญของแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์ รา และแบคทีเรียแลกติก ช้ากว่าตัวอย่างอื่นส่งผลให้ ค่า pH มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างอื่น ๆ สอดคล้องกับผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสซึ่งพบว่า เมื่อระยะเวลาการเก็บเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ห่อด้วยฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเขียวมีการเปลี่ยนสี, กลิ่นผิดปรกติ และการเกิดเมือกช้ากว่าตัวอย่างอื่น ทั้งนี้การใช้ฟิล์มไคโตซานที่เติมและไม่เติมสารสกัดชาเขียวจะยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ไส้กรอกได้นาน 16 วันที่อุณหภูมิ 4°C เมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุมที่เก็บรักษาได้น้อยกว่า 12 วันที่อุณหภูมิเดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าฟิล์มไคโตซานที่เติมสารสกัดชาเขียวสามารถรักษาคุณภาพ, ลดการเกิดปฏิกิริยา lipid oxidation ชะลอการเจริญของจุลินทรีย์และช่วยยึดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูได้
Other Abstract: This research purposed the use of chitosan film containing green tea extract to extend shelf life of pork sausage. The experiments were divided into 3 parts. Firstly, to determine the optimum conditions for preparing green tea extract by varying temperature (50, 60, 70 °C) and time (10, 20, 30 min) of extraction. The results showed that temperature and time suitable for green tea extraction was at 70 °C for 20 min, which giving of the highest total phenolic content (TPC) 154.77 mg gallic acid equivalent/g sample (mg GAE/g). The optimum concentration of green tea extract was then determined by 2, 5, 10 and 20% (w /v) by measuring the TPC, radicals scavenging 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) and the ability to inhibit Staphylococcus aureus TISTR 118, Salmonella enteritldis DMST 17368, Escherichia coli TISTR 780 and Pseudomonas fluorescens TISTR 358 using agar diffusion method. The result showed that TPC (ranging from 155.08-605.61 mg GAE /g sample) of the extract significantly increased (p ≤ 0.05) with increasing green tea concentration, and at 10% (w / v) the extract had the highest % DPPH (70.32%) and was able to inhibit S. aureus and E. coli. Secondly, chitosan films containing green tea extract were prepared by adding 0, 2, 5, 10 and 20% (w/v) of green tea extract into film forming solution. It was found that water vapor permeability (WVP), thickness, the color redness (a*), the yellowness (b*) and color differential (E) increased but lightness (L*) decreased significantly (p ≤ 0.05) with increasing green tea concentration. The TPC and % DPPH radicals of the films also increased significantly (p ≤ 0.05) with increasing green tea concentration except for film containing 20% green tea extract. The results also showed that films containing green tea extract were able to inhibit bacterial growth under the film contact area, however, there was no inhibition zone. The results suggested that chitosan film containing 10% green tea extract was the optimum concentration and was then used for further experiment. Finally, the chitosan film containing 10% green tea extract was used as a wrapping film for shelf life extension of pork sausage. The results were compared with those wrapping with chitosan film (without green tea extract). Samples without chitosan film wrapping were used as control. Changes in the physical qualities including color values (L* a* and b*) and texture (cutting force), the chemical qualities including pH and thiobarbituric value (TBA), the microbiological qualites including aerobic total plate count, yeast and mould and lactic acid bacteria, and sensory qualities including color, the occurrence of mucus, odor, and overall acceptance the sausage samples were determined at 4 day intervals throughout the storage period samples wrapping with film containing green tea extract had higher cutting force, L* and b* values, but lower a* value, TBA and microbial growth than those wrapping with chitosan film and control. The results showed that control samples film had shelf life of less than 12 days. Based on microbiological property, both chitosan film and film containing green tea extract were able to extend shelf life of the sausage for up to 16 days. However, samples wrapped with film containing green tea extract had better qualities than those wrapped with chitosan film. Therefore, it was concluded that chitosan film containing green tea extract could maintain sausage qualities, reduce the lipid oxidation and extend shelf life of the pork sausage.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68032
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suparat_no_front_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_ch1_p.pdf670.32 kBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_ch2_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_ch3_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_ch4_p.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_ch5_p.pdf650.99 kBAdobe PDFView/Open
Suparat_no_back_p.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.