Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6821
Title: กิจนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : รายงานการวิจัย
Authors: ธิดารัตน์ บุญนุช
Email: Thidarat.B@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
นักศึกษา -- ทัศนคติ
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษากิจนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 3,506 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2534 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจพฤติกรรมในการเรียนที่นิสิตนักศึกษาปฏิบัติจนเป็นนิสัยโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ปฏิบัตินานๆครั้ง บางครั้งบางคราว และสม่ำเสมอ ผลการวิจัย พบว่า ด้านเทคนิคการอ่านและการจดโน๊ต ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับ ความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำตั้งแต่การอ่านครั้งแรก สามารถจับจุดและจดเนื้อหาที่สำคัญของเอกสารที่ศึกษา มีการทบทวนและท่องจำสิ่งที่เรียนมาแล้ว ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจะไม่อ่านออกเสียงในการจดคำบรรยายช่วงแรกๆ สามารถจับจุดสำคัญของการบรรยายช่วงต่อไปได้ทัน นำเนื้อหาที่เรียนครั้งใหม่ไปเชื่อมโยงกับการเรียนครั้งก่อนและเมื่อเรียนแล้วได้นำมาทำโน้ตย่อและจัดระบบใหม่ นั้น มีเพียง 3 ประเด็นที่นิสิตนักศึกษาทุกสถาบัน ปฏิบัติในระดับสม่ำเสมอ คือ สามารถจับจุดและจดเนื้อหาที่สำคัญของเอกสารที่ศึกษา ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจะไม่อ่านออกเสียง และนำเนื้อหาที่เรียนไปแล้วมาทำโน๊ตย่อและจัดระบบเสียใหม่ นอกนั้นมีการปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้งบางคราว ด้านสมาธิ ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับความลำบากในการที่จะมีสมาธิกับสิ่งที่กำลังศึกษาและสามารถจับเนื้อหาที่อ่านไปแล้วได้ดี ไม่เคยฝันกลางวันขณะที่กำลังเรียนหรืออ่านตำรา ไม่เสียเวลาในการตั้งตัวและอุ่นเครื่องก่อนที่จะเริ่มลงมือทำงาน ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอารมณ์หรือแรงบันดาลใจก่อนลงมือทำงาน นั้นมีเพียงประเด็นเดียวที่นิสิตนักศึกษาทุกสถาบัน ปฏิบัติสม่ำเสมอ คือ ไม่เคยฝันกลางวันหรือคิดเรื่องอื่นขณะที่กำลังเรียนหรืออ่านตำรา นอกจากนั้นมีการปฏิบัติในบางครั้งบางคราว ด้านการแบ่งเวลาในการศึกษาและการสังคม ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับการไม่เสียเวลาในการอุ่นเครื่องและสร้างสมาธิจึงทำให้มีเวลาในการศึกษามากพอ สามารถแบ่งเวลาในการทำงานแต่ละเรื่องได้อย่างพอดี ไม่ยอมให้การพูดโทรศัพท์หรือสิ่งรบกวนภายนอกมาขัดจังหวะในการทำงาน สามารถบังคับตนเองให้ทำงานได้ดีและเสร็จทันตามกำหนด มักจะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากกว่าศึกษาร่วมกับคนอื่น ไม่เสียเวลาในการศึกษาไปสนุกสนานในเรื่องไร้สาระ ไม่ใช้เวลาอ่านนวนิยายหรือดูโทรทัศน์จนทำให้เสียเวลาเรียน ไม่ยอมให้การเที่ยวกลางคืนหรือนัดเพื่อนต่างเพศมาทำให้เกิดผลกระทบต่อความสำเร็จในการศึกษา นั้น มีเพียงประเด็นเดียวที่นิสิตนักศึกษาทุกสถาบันปฏิบัติสม่ำเสมอ คือ ไม่ยอมให้การเที่ยวกลางคืนและการคบเพื่อนต่างเพศมาทำให้เกิดผลกระทบต่อความสำเร็จในการศึกษา นอกจากนั้นมีการปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้งบางคราว ด้านการสอบ ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับ เมื่อมีการสอบไม่รู้สึกหงุดหงิด ตื่นเต้น ตกใจง่ายหรือไม่สบายจนไม่สามารถตอบข้อสอบได้ มักจะวางแผนไว้ในใจก่อนว่าจะตอบอย่างไรในการตอบข้อสอบแบบอัตนัย มักจะทำข้อสอบเสร็จและส่งก่อนเวลาเสมอ และเมื่อมีข้อสอบบางข้อที่ทำไม่ได้ จะเว้นเอาไว้จนกระทั่งทำข้ออื่นเสร็จแล้วจึงย้อนกลับมาทำภายหลังนั้น ทุกประเด็นในด้านนี้นิสิตนักศึกษาได้ปฏิบัติเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
Other Abstract: The objective of this research was to determine study habits of college students in ten universities within the Bangkok Metropolis. The Sample comprised 3,506 first and fourth-year students who enrolled in the academic year 1991. Through the use of behavioral survey, frequency of study habits students did was identified at three levels, namely, seldom, occasional and usual. The findings of this study revealed the following: On reading techniques and note talking: This aspect encompasses abilities to understand the meaning of words from the first reading, to grasp the main ideas and jot down the gists of the documents, to review and memorize what has been learned, and to read silently. It also includes the ability to get the main ideas of the following portions of the lecture while talking note of the previous ones; the ability to link knowledge that has been learned, as well as to make short notes and to organize the subject matter. Only three habits were identified as frequently carried out, which were grasping the main ideas and jotting down the gists, doing silent reading, making short notes and organizing the subject matter. Other habits were found to be occasionally done. On concentration: This aspect concerns the abilities to draw main ideas despite difficulties in making concentration, not to daydream while studying in class or reading, and not to wait for working mood or aspiration before starting to study. Only one habit that students from all the universities had was their not daydreaming while learning or reading. Other habits were found to be occasionally done. On time allocated for education and social life: It includes the ability to concentrate on the studies without any warm-ups, allowing students to have ample time to study. It also means the ability not to be interrupted by phone calls or other external disturbances while working, self-control to complete the work well and on schedule, self-study rather than group-study, time not spent on unnecessary social gatherings, ability not to spend too much time on reading novels and watching televisions and not letting social life at night or dating boyfriend/girlfriend affect learning achievement. The findings revealed that the only one habit that students from all the universities had was their not letting social life at night or dating affect their learning performance. Other habits were done at the occasional level. On examinations: This aspect covers the emotional control not to feel disturbed, excited, nervous or sick to the extent that one can not work on the exams, the ability to plan before hand how to do written tests, the habits of finishing and hading in the exam papers well before scheduled time and completing the unable-to-answer items after all the rest are done. The study showed that these habits were seen occasionally.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6821
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidaratana(study).pdf15.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.