Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68322
Title: ผลการใช้สื่ออารมณ์ขันที่มีต่อความเจ็บปวดและความเครียด ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
Other Titles: Effects of using humorous media on pain and stress of postoperative patients with gastrointestinal problems
Authors: พรนิภา ลีละธนาฤกษ์
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความเจ็บปวด
ความเครียด (จิตวิทยา)
ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย
อารมณ์ขัน
การ์ตูน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตอุประสงค์เพื่อสศึกษาผลการใช้สื่ออารมณ์ขันที่มีต่อความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยชายและหญิงจำนวน 30 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ การผ่าตัดนิ่วของถุงน้ำดีและริดสีดวงทวารหนัก ที่พักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชายและหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างเดือนธันวาคม 2542- กุมภาพันธ์ 2543 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 15 คน โดยการจับคู่เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ใช้สื่ออารมณ์ขัน กลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใด้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือส่ออารมณ์ขันประกอบด้วย หนังสือการ์ตูน3เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป มาตรวัดความเจ็บปวดแบบช่อง แบบวัดความเครียด แบบสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ขันของผู้ป่วย แบบบันทึกการได้รับยา การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความเจ็บปวดและความเครียดก่อนใช้สื่ออารมณ์ขัน หลังจากนั้นกลุ่มทดลองจะได้อ่านสื่ออารมณ์ขันครั้งละ30 นาทีโดยวันแรกหลังผ่าตัดหลังอ่านเล่ม 1 และวันที่ 2 หลังผ่าตัดอ่านเล่ม 2 และ 3 ทำการสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ขันของผู้ป่วยขณะอ่านหนังสือการ์ตูน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และประเมินความเจ็บปวดและความเครียดในวันที่ 1 และ 2 หลังการผ่าตัดวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารภายหลังใช้สื่ออารมณ์ขันต่ำกว่าก่อนใช้สื่ออารมณ์ขันในวันแรกและวันที่สองหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารของกลุ่มที่ใช้สื่ออารมณ์ขันต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในวันแรกและวันที่สองหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to determine the effects of using humorous media on pain and stress of postoperative patients with gastrointestinal problems. Sample were 30 male and female patients undergoing appendectomy, laparoscopic cholecystectomy and hemorrhoidectomy and admitted ๒ surgical wards at Chaiyaphum Hospital during Decemberl999- February 2000. Samples were random assigned into 2 groups by match pairs, each group consisted of 15 patients, the experimental group used humorous media and the control group had traditional care. The research instruments consisted of experimental instrument which were 3 comic books and data collection instrument were patients’ record form, 11-point box pain scale, stress test 1 humorous behavioral observation form and analgesics’ record form. Personal data was collected by interviewing. Sample were measured pain and stress before using humorous media. The experimental group read comic book for 30 minutes, read comic book 1 on the first day after surgery, comic book II and III on the second postoperative day respectively. The experimental group were observed humorous behavior during reading comic books, the control group had traditional care. Sample were measured of pain and stress on the first and second day after surgery. The data were analyzed by using t-test. The results of the study revealed that: 1.The mean pain score and stress score of postoperative patients with gastrointestinal problems on the first and second day after surgery in the experimental group was lower than before using the humorous media and statistically significant difference at the .05 level. 2. The mean pain score and stress score of postoperative patients with gastrointestinal problems on the first and second day after surgery in the experimental group was lower than the control group and statistically significant difference at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68322
ISBN: 9743340998
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornnipa_le_front_p.pdf960.92 kBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_ch1_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_ch2_p.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_ch3_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_ch4_p.pdf686.37 kBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_ch5_p.pdf849.66 kBAdobe PDFView/Open
Pornnipa_le_back_p.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.