Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70059
Title: นวัตกรรมตัวแบบระบบการจัดการความรู้โดยใช้ฐานเว็บเชิงจินตทัศน์สำหรับการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีของไทย 
Other Titles: Innovative knowledge management model with visual web-based application toward incubation of technopreneurs in Thailand
Authors: กิตติชัย ราชมหา
Advisors: มงคลชัย วิริยะพินิจ
วรพรรณ เรืองผกา
อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: mongkolchai.w@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากทุนการศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต “100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (The 100th Anniversary Chulalongkorn University Fund for Doctoral Scholarship) วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการแสวงหา การถ่ายโอน และการรับรู้การถ่ายโอนความรู้ของการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีขั้น Pre-Incubation และ Early-Incubation และเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีการจัดการความรู้สำหรับนำ ไปใช้เชิงพาณิชย์ การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยนี้มุ่งเน้นงานวิจัยและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องคือ ทฤษฏีฐานทรัพยากร ทฤษฏีการจัดการความรู้ ทฤษฏีทุนสังคม และการทบทวนตัวแบบการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ 5 กรณีศึกษาได้แก่ หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ม.สงขลาฯ มทส. ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ และ สวทช. ครอบคลุมมิติด้านผู้จัดการ ทีมงานและผู้ประกอบการ วิธีกำหนดตัวอย่างเป้าหมายคือ วิธีเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง วิธีความสะดวก และวิธีสโนว์บอล และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธิวิเคราะห์เนื้อหาแบบทางตรงและแบบผลรวม  ผลการศึกษาและข้อค้นพบใหม่ทางวิชาการ ขั้น Pre-incubation ด้านการแสวงหาความรู้ การถ่ายโอนความรู้ และการรับรู้การถ่ายโอนความรู้ ปรากฏข้อค้นพบใหม่ทั้งหมดคือ การแสวงหาความรู้มุ่งให้ความสำคัญความถี่เวลาและความรู้ประเภทธุรกิจ วิธีแสวงหาความรู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นหลักประโยชน์การแสวงหาเพื่อแลกเปลี่ยนจากวิทยากรและเพื่อนผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทรัพยากรตามยุทธศาสตร์ของพื้นที่บ่มเพาะ การถ่ายโอนความรู้เน้นความรู้ด้านธุรกิจแต่ไม่ครอบคลุมความรู้ประเภททรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี การถ่ายโอนความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาแนวคิดธุรกิจ เพื่อการถ่ายโอนความรู้จากผู้จัดการ วิทยากร และผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน การรับรู้การถ่ายโอนความรู้ประเภท Pre-business plan แหล่งถ่ายโอนโดยผู้จัดการ วิธีการถ่ายโอนความรู้โดยใช้วิธีฝึกอบรมในพื้นที่ ผลการศึกษาและข้อค้นพบใหม่ทางวิชาการ ขั้น Early-incubation เพื่อการเข้าถึงความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน รุ่นพี่ หรือหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะพื้นที่ แหล่งการถ่ายโอนความรู้จากผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสการถ่ายโอนความรู้ด้านเทคนิคจากผู้เชียวชาญในพื้นที่หน่วยบ่มเพาะ ผลการศึกษาเรื่องคุณลักษณะระบบเทคโนโลยีเพื่อจัดการความรู้เป็นข้อค้นพบใหม่ทั้งหมดในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ข้อเสนอแนะทางวิชาการ ควรมีการขยายขอบเขตการวิจัยเชิงปริมาณหรือผสมและขยายกลุ่มตัวอย่างการบ่มเพาะลักษณะอื่นเพิ่มนอกจากนี้นักวิจัยเสนอแนะภาคปฏิบัติเพื่อการศึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีจัดการความรู้โดยขยายขอบเขตครอบคลุมขั้นบ่มเพาะธุรกิจทั้งหมด  
Other Abstract: This Thesis is funded by scholarship from “The 100th Anniversary Chulalongkorn University Fund for Doctoral Scholarship”.  The research aims to study characters of the knowledge management model consisted of knowledge acquisition, knowledge transfer, perception of knowledge transfer, and development innovative knowledge management system applied commercially toward technology business incubation at pre-incubation and early-incubation stages in Thailand. The research focuses on the literature reviews including resource-based view theory, knowledge management theory, social capital theory, reviews of technology business incubator models. The research is qualitative multiple case studies. The multiple five cases are leading technology business incubators as benchmarks including National Science and Technology Development Agency, Prince of Songkla University, Khonkhaen University, Chiang Mai University, and Suranaree University of Technology. Unit of analysis of the study is Technopreneurs as knowledge acquirers and business incubator manager, teams, and experts as knowledge providers. Samplings focus on purposive sampling, snowball, convenient sampling, and multi-stage sampling. Data analysis concentrates on direct and summative content analyses. Findings and discussions indicated into two stages consisted of pre-incubation and early-incubation stages which both of them found that new academic evidences among knowledge acquisition, knowledge transfer, perception of knowledge transfer and the findings had been developed into knowledge management system for technology business incubators in order to practically commercialize with TBIs that supported by Thai BISPA as our main strategic partner.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70059
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.877
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.877
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687753220.pdf11.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.