Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71059
Title: ผลของการจัดกิจกรรมบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ความคาดหวังในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของเด็กที่ถูกทารุณกรรม
Other Titles: The results of activity therapy on self esteem, life expectation and depression of abused children
Authors: สุภาเพ็ญ คชพลายุกต์
Advisors: อุมาพร ตรังคสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Umaporn.Tr@Chula.ac.th
Subjects: การทารุณเด็ก
ความนับถือตนเองในเด็ก
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
ความซึมเศร้า
นันทนาการบำบัด
นันทนาการบำบัดสำหรับเด็ก
Child abuse
Self-esteem in children
Expectation (Psychology)
Depression
Recreational therapy
Recreational therapy for children
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมบำบัดต่อควารรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก ที่ถูกทารุณกรรม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางกาย และ/หรือ ทางเพศ ที่มีอายุ 12-18 ปี ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก การสุ่มตัวอย่างใช้วิธี Stratified Randomization เพื่อแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เด็กแต่ละคนจะได้รับการประเมิน ระดับสติปัญญาโดยเครื่องมือ Standard Progressive Matrices และแบบประเมินด้วยตนเอง 3 ฉบับ ก่อนและหลัง การทำกิจกรรมบำบัด คือ แบบประเมินความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem inventory : CSEI) ของ Coopersmith แบบประเมินด้วยตนเองด้านความคาดหวังในชีวิต และ แบบประเมินด้วยตนเองด้านภาวะซึมเศร้า (Child depression inventory : CDI) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Unpaired t-test ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. หลังการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด เด็กในกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง เพิ่มขึ้นจาก 20.4 เป็น 25.1 ส่วนกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นจาก 22.4 เป็น 23.7 ซึ่งทำให้ระดับคะแนนเฉลี่ยของความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กในกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กในกลุ่มควบคุม ร้อยละ 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด เด็กในกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 80.3 เป็น 87 ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยคงที่ แต่ระดับคะแนนความคาดหวังในชีวิตของกลุ่มทดลองที่เพิ่มขึ้นนั้น พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ. 3. หลังการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด เด็กในกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงจาก 19 เป็น 12.9 สวนกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นจาก 15.6 เป็น 15.7 ซึ่งพบว่า ระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองที่ต่ำลงนั้น ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ. ผลการวิจัยสรุปว่า กิจกรรมบำบัดที่จัดขึ้นสามารถเพิ่มระดับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กที่ถูก ทารุณกรรมได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่มิการเพิ่มของระดับความคาดหวังในชีวิต และลดภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ.
Other Abstract: The objective of this study was to evaluate the efficacy of activity therapy for abused children. Twenty children, aged 12 to 18 years, from the Child Protection Foundation, were equally assignee by a stratified randomization method to an experimental treatment group and a control group. Standard Progressive Matrices, Cooper Smith’s Self-esteem nventory, Life-expectation Inventory and the Children Depression Inventory were used for measurement before and after the activity: herapy. Data analysis was done by finding mean, standard deviation, paired t-test and unpaired t-test. The results indicated that. 1. After activity therapy, the mean of self - esteem score for the experimental group increase: from 20.4 to 25.1 and for the control group increased from 22.4 to 23.7. The mean scores of the experimental group was 10% higher than the con rol group with statistical significance of p<0.05. 2. After activity therapy, the mean of life-expectation score for the experimental group increased from 80.3 to 87. There was no increse in the score of the control group. The life-expectation score of the experimental group was higher than the control group but the difference had no statistical significance. 3. After activity therapy, the mean of depression score for the experimental group decreased from 19 to 12.9 and that of the control group increased from 15.6 to 15.7. The depression score of the experimental group was lower than the control group but the difference had no statistical significance. In conclusion, after activity therapy there was a significant increase in self-esteem score of the abused children.Life-expectation score also increased end the depression score decreased but the changes were not statistically significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71059
ISBN: 9743315616
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaphen_ko_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ924.57 kBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1895.31 kBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_ch2_p.pdfบทที่ 24.15 MBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_ch3_p.pdfบทที่ 31.24 MBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_ch4_p.pdfบทที่ 41.35 MBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.48 MBAdobe PDFView/Open
Supaphen_ko_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.