Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71484
Title: การศึกษาระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์สำหรับอาคาร ที่พักอาศัยแนวราบ : กรณีศึกษาแบบอาคารที่พักอาศัยแนวราบ ของการเคหะแห่งชาติ
Other Titles: Study of ferrocement prefabricated system for low rise housing : a case study of National Housing Authority's low rise housing
Authors: สัมภาษณ์ ชนานิยม
Advisors: ฐานิศวร์ เจริญพงศ์
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เฟอร์โรซีเมนต์
คอนกรีตเสริมเหล็ก
ผนัง
ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนเป็นการศึกษาการนำวัสดุประเภทใหม่ที่ชื่อว่า ผนังเฟอร์โรซีเมนต์มาใช้แทนผนังก่อ อิฐฉาบปูนที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันโดยการนำผนังเฟอร์โรซีเมนต์มาใช้แทนผนังก่ออิฐนั้นต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของขนาดผนังและการติดตั้งผนังกับโครงสร้างหลัก เพื่อพัฒนาผนังเฟอร์โรซีเมนต์สำหรับการก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซึ่งเป็นระบบที่ราคาก่อสร้างตํ่ากว่าการก่อสร้างระบบท้องถิ่น จากการศึกษาองค์ประกอบของเฟอร์โรซีเมนต์จากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ และงานเฟอร์โรซีเมนต์ที่มีการก่อสร้างมาแล้วในอดีตพบว่าเฟอร์โรซีเมนต์สามารถใช้เป็นองค์ประกอบของอาคารได้หลายส่วน เช่น คาน. เสา,พื้น.ผนังและหลังคาเป็นต้น สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เลือกงานเฟอร์โรซีเมนต์มาใช้ในการทำผนัง ของอาคารแนวราบและเลือกอาคารแนวราบของการเคหะแห่งชาติมาเป็นกรณีศึกษา โดยได้วางแนวความคิดในกาศึกษาประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญได้แก่ การกำหนดขนาดของผนังเฟอร์โรซีเมนต์ตลอดจนรูปลักษณะทางกายภาพและการออกแบบชิ้นส่วน สำเร็จรูปเพ่อร้โรซีเมนต์ตามขนาดของอาคารแนวราบที่ปรับปรุงมาจากแบบของการเคหะแห่งชาติโดยคำนึงถึงรูป แบบสถาปัตยกรรมและความแข็งแรงในด้านโครงสร้างให้มีคุณภาพไม่แตกต่างไปจากการก่อสร้างระบบท้องถิ่น จากแนวความคิดนี้ได้ดำเนินการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์เพื่อทดสอบความแข็งแรงและเปรียบเทียบ ราคาระหว่างการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปกับการก่อสร้างระบบท้องถิ่น การประมาณราคาค่าก่อสร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์นั้นประกอบด้วยการวิเคราะห์ราคาของชิ้นส่วนต่างๆ และราคาการติดตั้งกับโครงสร้าง ซึ่งผลการเปรียบเทียบสามารถสรุปได้ว่า ราคาค่าก่อสร้างงานผนังของการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์มีราคาถูกกว่าราคาค่าก่อสร้างงานผนังของการก่อสร้าง ระบบท้องถิ่นถึง 10.49% และน้ำหนักของผนังสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์เบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน 133 กก./ตร ม. ส่งผลให้สามารถลดราคาค่าโครงสร้างของอาคารโดยรวมได้อีกทางหนึ่งและเวลาในการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์ยังน้อยกว่าระบบท้องถิ่น จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าผนังเฟอร์โรซีเมนต์มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ สืบต่อไปในอนาคค
Other Abstract: This thesis is the study of using a new type of material named Ferrocement Panel instead of mansory panel; which is conventionally used. To develop ferrocement panel for prefabrication system which costs lower than conventional system, there has to be the consideration of the size and also the installation of the panel with main structure. Due to the study of ferrocement conponents from various papers and ferrocement used in the past construction, it has been found that ferrocement can be used in many parts of housing such as beam, column, floor, panel, roof, etc. For this thesis, ferrocement is selected for panels of low rise housing and use National Housing Authority ร low rise housing as a case study. The main ideas in the study compose of setting the size and physical look of ferrocement panel and design prefabricated ferrocement panel based on the size of low rise housing adapted from National Housing Authority ร design. Anyway, architectural design and the strength of the structure is concerned to be the same as conventional system. Prefabricated ferrocement panel IS made for testing its strength, and then the costs between prefabricated ferrocement system and conventional system are compared. Cost of prefabricated ferrocement panel is calculated by analysis of the costs of each component including the installation cost. The comparison shows that the cost of prefabricated ferocement panel IS lower than conventional system panel 10.49 % Prefabricated ferrocement panal is lighter than mansory panel 133 kg/sq.m. so the cost of housing structure IS also reduced. Moreover, time to construct prefabricated ferrocement system IS less than conventional system. As a result trom testing, terrocement panel should be a good alternative for building construction in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71484
ISBN: 9746334425
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumpas_ch_front_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_ch1_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_ch2_p.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_ch3_p.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_ch4_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_ch5_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sumpas_ch_back_p.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.