Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71603
Title: ความแตกต่างของค่าสูงสุดและค่าครึ่งชีวิต ของค่าแอนตี้แฟคเตอร์สิบแอคทีฟหลังฉีดแฟรกซิพารินเข้าหลอดเลือดดำ ระหว่างคนปกติอาสาสมัคร กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการฟอกเลือดผ่านไตเทียม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และขนาดยา ที่เหมาะสมในผู้ป่วยเหล่านี้
Other Titles: Difference of the maximal level and half-life of anti-xa activity after intravenous injection of fraxiparine between healthy volunteers and chronic hemodialysis patients in Chulalongkorn Hospital and the appropriate dose in these patients
Authors: พงศ์ศักดิ์ ด่านเดชา
Advisors: เกรียง ตั้งสง่า
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม -- การรักษา
ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
หลอดเลือดดำ
Hemodialysis -- Treatment
Chronic renal failure -- Patients
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Fraxiparine เป็นยาในกลุ่ม low-molecular weight heparin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยขาออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrobin III และจะเพิ่มฤทธิ์ของสารดังกล่าว เนื่องจากมีข้อดีที่บริหารยาง่ายและไม่ต้องการการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการวัดดัชนีผลของยา จึงเป็นที่ใช้กันมากขึ้นในหลายโรค การศึกษาเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในคนไทยพบว่า คนไทยมีโอกาสเสี่ยงต่ำกว่าชาวตะวันตก เพราะว่ามีระบบการสลายลิ่มเลือด (fibrinolysis ) และ anti-thrombin III สูงกว่า นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายมีปริมาณ anti-thrombin III ต่ำกว่าคนปกติด้วยดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าการใช้ยาดังกล่าวในคนไทยอาจใช้ขนาดยาน้อยกว่าที่มีการกำหนดไว้และขนาดยาอาจแตกต่างกัน ระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะไตวายเรื้อรัง การศึกษา เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบค่าสูงสุดและค่าครึ่งชีวิตของ anti-Xa activity ระหว่างอาสาสมัครซึ่งไม่มีโรคไตวายกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดผ่านไตเทียมในวันเว้นและทำฟอกเลือด วิธีการศึกษาคือการเก็บตัวอย่างเลือดหลัง จากฉีด Fraxiparine 40 U/kg หรือ 100 ICU/kg เข้าทางหลอดเลือดดำของกลุ่มศึกษาทั้งสองกลุ่มตามเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นจึงตรวจหาค่า : anti-Xa activity ของตัวอย่างเลือดแต่ละจุดแล้วจึงคำนวณหาค่าสูงสุดและค่าครึ่งชีวิตของค่า anti-Xa activity ในช่วงการหาขนาดยาในการทำฟอกเลือดจะใช้วิธีปรับขนาดยาร่วมกับการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อหาค่า anti-Xa activity และตรวจระบบฟอกเลือดว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้นหรือไม่และการวัดการลดลงของปริมาตรไตเทียม การคำนวณทางสถิติจะถือว่ามีความสำคัญทางสถิติเมื่อค่า p<0.05
ผลการศึกษา ตัวอย่างของแต่ละกลุ่มมีจำนวน 6 คน กลุ่มอาสาสมัครและผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ฟอกเลือดผ่านไตเทียม เป็นหญิงต่อชายเท่ากับ 4:2 และ 3:3 ตามลำดับ กลุ่มอาสาสมัครมีอายุเฉลี่ย 29.5 ปีส่วนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ฟอกเลือดผ่านไตเทียมมีอายุ เฉลี่ย 45 ปี ระดับพลาสมาครีเอทินินในกลุ่มอาสาสมัครและกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรือรังระยะท้ายที่ฟอกเลือดผ่านไตเทียมมีค่า 0.9 และ 11.6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรตามลำดับ หลังการฉีด Fraxiparine 40 U/kg. เข้าทางหลอดเลือดดำพบว่ากลุ่มอาสาสมัครมีระดับสูงสุดและค่าครึ่งชีวิตค่า anti-Xa activity เท่ากับ 1.07±0.04 (IU/ml)และ 2.8±0.38 (ชั่วโมง) ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ฟอกเลือดในวันทำฟอกเลือดมีค่าสูงสุด anti-Xa activity เท่ากับ 0.86±0.01 (IU/ml) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มคนปกติอาสาสมัครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 และค่าครึ่ง : ชีวิตของ anti-Xa activity มีค่า 3.2±0.8 (ชั่วโมง) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p>0.05 การทำฟอกเลือดไม่มีผลต่อค่าสูงสุดและค่าครึ่งชีวิตของ anti-Xa activity ในการทำฟอกเลือดพบว่าการใช้ยา Fraxiparine 80 U/kg หรือ 200 ICU/kg ทำให้ไม่เกิดลิ่มเลือดในระบบฟอกเลือดและไม่ทำให้ปริมาตรไตเทียมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยบริหารยาทางสายแดงของระบบฟอกเลือดเพียง 1 ครั้งเมื่อเริ่มทำ การใช้ยาขนาด 60 U/kg หรือ 150 ICU/kg ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้น้อยมาก แต่มีการลดลงของปริมาตรไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 การใช้ยาขนาด 40 และ 50 IU/kg จะทำให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นมากและปริมาตรไตเทียมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 สรุป การบริหารยาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายจะให้ค่าสูงสุด anti-Xa activity น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีไตวาย แต่ค่าครึ่งชีวิต ของค่า anti-Xa activity ไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ฟอกเลือดผ่านไตเทียมการบริหารยา Fraxiparine ขนาด 80 U/kg หรือ 200 ICU/kg โดยฉีดเข้าทางสายแดงของระบบฟอกเลือดเมื่อเริ่มการทำจะให้ผลดีที่สุด
Other Abstract: Fraxiparme is a low-molecular weight heparin which has market in Thailand. It acts by binding with antithrombin III and accelerate antithrombin III’ s effect. It has been used worldwide because of the easiness of use and need no laboratoty monitoring. Thai people has low risk of thromboembolism because of high fibrinolytic activity and antithrombin III. In chronic hemodialysis patients, antithrombin III is lower than in healthy people. It may be possible that Thais respond to Fraxiparine different from Western people. This study is a comparative study; compare the maximal level and half-live of the anti-Xa activity between healthy volunteers and chronic hemodialysis patients after intravenous injection of Fraxiparine, and to find the appropriate dose in these patients. During hemodialysis, we monitor anti- Xa activity, blood clot in hemodialysis blood line and measure the bundle fiber volume of dialyzer. The statistics is considered to be significant if the p value is less than 0.05. The result of study in 6 healthy volunteers and 6 chronic hemodialysis patients show that male to female ratio is 4:2 and 3:3 respectively. The mean age in healthy volunteers is 29.5 years and is 45 years in chronic hemodialysis patients. Plasma creatinine in healthy voluteers and in chronic hemodialysis patients is 0.9 and 11.6 mg/dl. respectively. After intravenous Fraxiparine 40 IU/kg.,healthy volunteers have the maximal level and half-live of anti-Xa activity equal 1.07±0.04 IU/ml and 2.8±0.38 hours respectively. In chronic hemodialysis patients, the maximal level and half- live of anti-Xa activity are 0.86±0.01 IU/ml and 3.1±0.46 hours respectively. It is different between the two groups (p<0.05). Hemodialysis does not affect the maximal level and half-live of anti-Xa activity. Fraxiparine in the dose 80 IU/kg at the beginning of hemodialysis does not lead to have clot in the hemodialysis system and does not decrese the fiber bundle volume. Dosage at 60 IU/kg cause to have clot minimally, but it make to lost the volume of dialyzer significantly (p<0.05). In conclusion, intravenous injection of Fraxiparine in healthy volunteers has the maximal level of anti-Xa activity more than in chronic hemodialysis patients, but half-live of anti-Xa activity is comparable between the two groups. For hemodialysis purpose, the appropriate dose of Fraxiparine is 80 IU/kg.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71603
ISBN: 9746366998
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak_da_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ894.66 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch1_p.pdfบทที่ 1743.87 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch2_p.pdfบทที่ 21.21 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch3_p.pdfบทที่ 3610.56 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch4_p.pdfบทที่ 4755.15 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch5_p.pdfบทที่ 5967.47 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_ch6_p.pdfบทที่ 6855.98 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_da_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก828.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.