Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77772
Title: การรับสัมผัสมลพิษอากาศจากไฟป่าและผลกระทบต่อ โรคระบบทางเดินหายใจในเขตพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Other Titles: Exposure of bush fire air pollutants and effect to respiratory disease in the North of Thailand
Authors: พรรษา ปวงคำ
Advisors: วนิดา จีนศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มลพิษทางอากาศ -- ไทย(ภาคเหนือ)
ทางเดินหายใจ -- โรค
ไฟป่า
Air -- Pollution -- Thailand (North)
Respiratory organs -- Diseases
Forest fires
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศจากหมอกควันในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนของทุกปี สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาหมอกควัน คือ การเผาในที่โล่งเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจนเกิดการลุกลามไปยังพื้นที่ป่า ก่อให้เกิดมลพิษจากไฟป่า เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน คาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน และสารประกอบออินทรีย์ระเหย จากการศึกษาพบว่า ความถี่การเกิดไฟป่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณมลพิษอากาศ ในช่วงเกิดไฟป่ามีปริมาณมลพิษอากาศสูงกว่าช่วงไม่เกิดไฟป่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลพิษอากาศ 24 ชั่วโมง (Hazard Index : HI) พบว่า การรับสัมผัสก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และโอโซนในอากาศ ไม่ก่อให้อาจเกิดความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และประชาชนที่ได้รับสัมผัสสารเบนซีนและเอทิลเบนซีนในอากาศมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยความถี่การเกิดไฟป่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่า HQ เฉลี่ยของคาร์บอนมอนอกไซด์และโอโซนในระดับสูง (r = 0.806 และ 0.745) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) สำหรับสารอินทรีย์ระเหยกลุ่ม BTEX ความถี่การเกิดไฟป่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ เบนซีนและไซลีนในระดับต่ำ (r = 0.381 และ 0.187) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) นอกจากนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณมลพิษอากาศจากไฟป่ากับโรคระบบทางเดินหายใจในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดพะเยา พบว่า มลพิษอากาศช่วงเกิดไฟป่าเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)
Other Abstract: The assessment of environmental health effects to air pollution exposure in the upper part of Northem Thailand concerned. According to air pollution haze has frequently taken place during the dry season, between January and April of each year , in this region. The focal cause of the haze is open agricultural burning for landclearing and preparing for cultivation. Then, the plantation fire extensively spreads to the bush area. Air pollutants, such as particulate matter smaller than 10 microns (PM10), carbon monoxide (CO), ozone (O3) and volatile organic compounds (VOCs), are evenly widespread over the region. This study indicates thatthe frequency of the bushfires associates through air pollution emissions: during the bushfires, the amount of air pollutants significantly exceeds the typical air pollutants levels (p < 0.05). By way of evaluating health risks from 24 hour-exposure to air pollution directed as hazard index (HI), ambient carbon monoxide and ozone exposure, on a monthly basis, are not harmful to health (HI<1). In addition, people who have been monthly exposed to atmospheric benzene and ethyl benzene are at risk of cancer. The frequency of the bushfires is high positively correlated to the average of HQco and HQ03 (r = 0.806 และ 0.745), and weak positively correlated to the HQBenzene and HQxylene levels (r = 0.381 และ 0.187) with statistical significances (p <0.05). Furthemore, this research achieves that the relationship of the bushfire air pollutants and diseases of the respiratory system in Mae Hong Son and Phayao Provinces significantly increases the risk of respiratory diseases (p = 0.001).
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77772
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1912
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1912
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punsa_pu_front_P.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_ch1_p.pdfบทที่ 1843.3 kBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_ch2_p.pdfบทที่ 22.69 MBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_ch3_p.pdfบทที่ 31.27 MBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_ch4_p.pdfบทที่ 41.89 MBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_ch5_p.pdfบทที่ 5796.27 kBAdobe PDFView/Open
Punsa_pu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.