Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77859
Title: การศึกษาการผลิตเอทานอลจากน้ำสับปะรดโดยเครื่องหมักแบบคอลัมน์
Other Titles: A study of ethanol production from pineapple juice by column fermenter
Authors: วิชาพงษ์ หาญเบญจพงศ์
Advisors: วิชา วนดุงค์วรรณ
สุทธิศักดิ์ สุขในศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เอทานอล
กรรมวิธีการผลิต
การหมัก
Ethanol
Manufacturing processes
Fermentation
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานนี้เป็นการศึกษาการผลิตเอทานอลจากน้ำสับปะรดโดยเครื่องหมักแบบคอลัมน์ พบว่า อัตราการผลิตเอทานอลที่เหมาะสม เมื่อใช้สารละลายน้ำสับปะรดที่มีความเข้มข้นน้ำตาลอยู่ในช่วง 14-20 องศาบริกซ์ เป็นสารอาหาร และใช้สารอาหารเสริมประกอบด้วย แอมโมเนียมซัลเฟต, ไดแอมโมเนียม ไฮโดรเจน ฟอสเฟต อย่างละ 0.05 และแมกเนเซียม ซัลเฟต ร้อยละ 0.01 (น้ำหนักต่อปริมาตร) จากการทดลองเบื้องต้นในขวดเขย่า โดยใช้เชื้อยีสต์ S. ellipsoideus S. cerevisiae ปริมาณการป้องอากาศ 0.5 ปริมาตรอากาศต่อปริมาตร น้ำหมัก ต่อนาที เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ในช่วงแรกของการหมัก ที่ความเข้มข้นน้ำตาล 18 องศาบริกซ์ จะให้ปริมาณเอทานอลดีที่สุดถึงร้อยละ 10.9 (โดยปริมาตร) ภายในเวลา 16 ชั่วโมง โดยใช้น้ำตาลร้อยละ 97 ซึ่งดีกว่าผลที่ได้จากการทดลองโดยใช้สารละลายน้ำสับปะรดที่ได้จากการเจือจางน้ำสับปะรดเข้มข้น ในสภาวะเดียวกัน ในการหมักที่จะให้ปริมาณเอทานอลสูงกว่าร้อยละ 13 (โดยปริมาตร) จะต้องใช้สารละลาย น้ำสับปะรดมีความเข้มข้นน้ำตาลอยู่ในช่วง 21-25 องศาบริกซ์ ปริมาณการป้อนอากาศนาน 6 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาในการหมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง การผลิตเอทานอลจากน้ำสับปะรดโดยใช้เครื่องหมักแบบคอลัมน์ชนิดกึ่งต่อเนื่อง และใช้สภาวะการหมักที่ดีที่สุดดังกล่าวข้างต้น พบว่าที่อัตราการถ่ายเทน้ำหมักที่ดีที่สุดร้อยละ 25 (โดยปริมาตร) ทุก 3 ชั่วโมง ซึ่งให้ปริมาณเอทานอลร้อยละ 8 (โดยปริมาตร) โดยเริ่มการถ่ายเทน้ำหมักครั้งแรกในชั่วโมงที่ 13 ปริมาณการใช้น้ำตาลอยู่ในช่วงร้อยละ 70-75 ซึ่งจะทำให้ขบวนการหมักอยู่ในการถ่ายเทน้ำหมักที่สมดุลได้มากครั้ง กว่าการถ่ายเทน้ำหมักในอัตราอื่น
Other Abstract: This work involved the study of ethanol production from pineapple Juice by column fermenter. The pure culture of Saccharomyces ellipsoideus or Saccharomyces cerevisiae was used throughout this study. It was found that the optimum substrate concentrations used were in the range of 14-20 degree Brix with Diammonium Hydrogen Phosphate and 0.01% (w/v) Magnesium Sulfate. The appropriate aeration was 0.5 volume of air/volume of fermented liquid/minute (VVM) for 4 hours. When 18 degree Brix of ethanol was produced in 16 hours with 97% sugar consumption. Fermentation using diluted concentrated pineapple juice gave poorer results and when more concentrated juice viz. 21-25 degree Brix was used, longer aeration at the initial period was necessary. Semicontinuous condition was also studied using the above conditions. It was found that optimum rate for removal of fermenting medium was 25% by volume for every 3 hours when the first transfer was conducted at 13 ͭͪ ͪ hours. The sugar consumption was in the range of 70-75%
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77859
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1981.9
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1981.9
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wicharphong_ha_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.61 MBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch1_p.pdfบทที่ 1731.29 kBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch2_p.pdfบทที่ 21.52 MBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch3_p.pdfบทที่ 3862.31 kBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch4_p.pdfบทที่ 41.36 MBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch5_p.pdfบทที่ 517.82 MBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch6_p.pdfบทที่ 63.62 MBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_ch7_p.pdfบทที่ 7748.77 kBAdobe PDFView/Open
Wicharphong_ha_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.