Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79376
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ |
Other Titles: | The creation of a dance to encourage motivation in creation for dance artists in ideal society |
Authors: | ภูวนัย กาฬวงศ์ |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | นาฏยประดิษฐ์ การให้กำลังใจ Choreography Encouragement |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ และนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศเกณฑ์การสร้างมาตรฐานการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำปัจจัยตรงกันข้ามกับปัจจัยที่สร้างขวัญกำลังใจมาสร้างสรรค์เป็นบทการแสดง แบ่งออกเป็น 6 องก์ ได้แก่ องก์ 1 การสนับสนุน องก์ 2 อิจฉาริษยา องก์ 3 ใส่ร้ายป้ายสี องก์ 4 คัดลอกผลงาน องก์ 5 ดองงาน และองก์ 6 ขัดแข้งขัดขา 2) นักแสดง ไม่จำกัดเพศ มีทักษะทางด้านนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตกและศิลปะการละคร จำนวน 16 คน 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลานาฏยศิลป์ไทย การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวแบบมินิมอลลิสม์ (minimalism) การเคลื่อนไหวร่างกายแบบด้นสด และการทำซ้ำ 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามบทการแสดงเป็นหลัก เน้นการสื่อความหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ออกแบบเสียงโดยคำนึงถึงความเรียบง่ายและความหลากหลาย 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมตามบทการแสดงโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย และการแต่งกายตามบทบาทของตัวละคร 7) พื้นที่การแสดง ออกแบบโดยใช้แนวคิด แบบ มินิมอลลิสม์ (minimalism) โดยเลือกใช้พื้นที่ห้องโล่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นพื้นที่การแสดง 8) แสง ใช้แสงที่สื่อถึงอารมณ์และบรรยากาศของการแสดง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน โดยคำนึงถึงแนวคิดที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงการสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพของสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ 6) การคำนึงถึงความหลากหลายของรูปแบบการแสดง และ 7) การคำนึงถึงความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ |
Other Abstract: | In this thesis, the researcher studied the factors that encourage the motivation in creation for dance artist in ideal society and gathered the data to create dances. The objectives were to discover the styles and concepts obtained from the creation of dance which to encourage motivation in creation for dance artist in ideal society. The qualitative research and creative research method were used in this study by colleting academic documents, interviews, observation, seminars, information literacy, standardization criteria for praising a role model of dance artist, and the researcher’s personnel experience to be guideline for analyzing, synthetizing and creating of the dance works. The findings revealed that the form of this creative dance is divided into 8 components; 1) Performance Script, inspired by factors that encourage the creation of works by using opposite factors that encourage the creation of works. There are 6 acts, namely, Act 1 Support, Act 2 Jealousy, Act 3 Slander, Act 4 Plagiarism, Act 5 Procrastination, and Act 6 Obstruction, 2) Performers, no gender requirement, skillful in Thai dance, Western dance and acting performance, there are 16 performers in total, 3) Dancing style, developed Thai dance style, daily life movement, Minimalism movement, improvised movement and repetition, 4) Performance props, designed based on the suitable of acting role, focus on direct and indirect communication, 5) Sounds and Music, composed based on simply and variety, 6) Costumes, designed based on the suitable for acting performance and using symbols to express the meaning and dressed appropriated for the performers’ role, 7) Performance area, designed based on Minimalism concept using the rectangular plain area to perform the dance and 8) Light setting, expressing the mood and ambient of performance. The concepts of consideration receiving from this dance are divided into 6 respects: (1) considering of encouraging motivation in creating works; 2) considering of the reflection of the society by dancing; 3) considering of creative ideas in dancing; 4) considering of using symbolic in creating of dancing; 5) considering of the theories in dancing, musical performance, and visual arts; 6) considering of a variety in performances. and 7) consideration on simplicity in accordance with postmodern dance. All findings corresponded to research’s objective. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79376 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1022 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1022 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281031935.pdf | 13.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.