Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79904
Title: การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของพนักงานที่สัมผัสฝุ่นและโลหะหนักในโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม
Other Titles: Health risk assessment of worker exposed to particulate matter and heavy metals in industrial waste disposal plant
Authors: ประหยัด เคนโยธา
Advisors: วนิดา จีนศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พนักงานในโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งได้รับสัมผัสมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง (PM; PM2.5 และ PM10-2.5) และโลหะหนักที่ปนเปื้อนในกระบวนการกำจัดขยะ การวิจัยนี้เพื่อศึกษาความเสี่ยงทางสุขภาพของพนักงานที่สัมผัสฝุ่นและโลหะหนักในสถานที่ทำงาน พบฝุ่นขนาด PM2.5 มีความเข้มข้นในตัวอย่างที่เก็บแบบพื้นที่ (30.33±2.51 และ 41.21±1.12 µg/m3) เก็บแบบบุคคล (45.86±9.85 และ 144.99±119.11 µg/m3) และฝุ่นขนาด PM10-2.5 ในตัวอย่างที่เก็บแบบพื้นที่ (14.77±0.29 และ 15.09±0.35 µg/m3) เก็บแบบบุคคล (27.73±8.63 และ 48.04±43.49 µg/m3) ในโรงงาน 1 และ 2 ตามลำดับ ความเข้มข้นของโละหนัก As, Cd, และ Pb ในตัวอย่างฝุ่นโรงงาน 1 ที่เก็บตัวอย่างแบบพื้นที่มีค่า 1.19±0.09, 0.55±0.05 และ 0.78±0.14 µg/m3, เก็บแบบบุคคลมีค่า 1.22±0.08, 0.55±0.08, และ 0.87±0.12 µg/m3 ตามลำดับ ในโรงงาน 2 ที่เก็บตัวอย่างแบบพื้นที่มีค่า 0.52±0.21, 0.55±0.05 และ 0.38±0.05 µg/m3 เก็บแบบบุคคลมีค่า 0.58±0.13, 0.53±0.06 และ 0.41±0.05 µg/m3 ตามลำดับ โดยระดับโลหะหนัก As Cd และ Pb ในฝุ่นมีค่าอยู่ในขีดจำกัดของกฎหมายด้านอาชีวอนามัยกำหนด และในตัวอย่างฝุ่นไม่พบโลหะหนัก Cr และ Hg และค่าเฉลี่ยของโลหะหนัก As-total Cr Cd Pb และ Hg ในปัสสาวะพบว่า As-total (91.67±98.63 และ 59.29±32.03 µg/L) Cr (0.82±0.51 และ 1.03±1.02 µg/L) Cd (1.46±1.14 และ 0.62±0.46 µg/g.creatinine) Pb (8.83±12.70 และ 0.31±0.52 µg/g.creatinine) และ Hg (7.80±15.62 และ 0.66±1.50 µg/g.creatinine) ในโรงงาน 1 และ 2 ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยโลหะหนัก As Cd และ Pb ในโรงงาน 1 มากกว่าโรงงาน 2 ในการประเมินความเสี่ยงในกรณีไม่ก่อมะเร็งพบว่าค่า Hazard Quotient และ Hazard Index ของโลหะหนัก As และ Cd ในช่องทางการสัมผัสผ่านการรับประทานมีค่ามากกว่า 1 ทั้งสองโรงงาน และในกรณีก่อมะเร็งพบว่าค่า Cancer Risk ของโลหะหนัก As Cd และ Pb ในช่องทางการสัมผัสผ่านการรับประทาน และการสัมผัสโลหะหนัก As ในช่องทางการสัมผัสผ่านผิวหนังมีค่ามากกว่า 10-6 และพบความสัมพันธ์ของการสวมใส่ PPEs กรณีใส่ชุดกันเปื้อนมีผลต่อระดับโลหะหนัก Pb ในปัสสาวะและการรับประทานอาหารและน้ำในสถานที่ทำงานมีผลต่อระดับโลหะหนัก As Cd Pb และ Hg ในปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงโรงงานต้องควบคุมการนำอาหารและน้ำไปรับประทานในสถานที่ทำงาน จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี และจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมแก่พนักงาน
Other Abstract: The workers in two industrial waste disposal plant have been exposed to various pollutants, for instance, Particulate Matter; PM (PM2.5, PM10-2.5) and heavy metals contaminating during the waste treatment process. The health risks of workers exposed to particulate matter and heavy metals were studied. The average PM concentrations were PM2.5; area (30.33±2.51 and 41.21±1.12 µg/m3), total person (45.86±9.85 and 144.99±119.11 µg/m3) and PM10-2.5; area (14.77±0.29 and 15.09±0.35 µg/m3), total persons (27.73±8.63 and 48.04±43.49 µg/m3) in Plant 1 and 2, respectively. Heavy metal in the particulate samples, As, Cd, and Pb concentrations in plant 1; area were 1.19±0.09, 0.55±0.05 and 0.78±0.14 µg/m3, personal sample were 1.22±0.08, 0.55±0.08, and 0.87±0.12 µg/m3, respectively.  In-Plant 2, As, Cd and Pb concentrations; area samples were 0.52±0.21, 0.55±0.05 and 0.38±0.05 µg/m3, personal samples were 0.58±0.13, 0.53±0.06 and 0.41±0.05 µg/m3, respectively. The values of As, Cd, and Pb in the dust were within the limit level prescribed by the Occupational health national standard. Cr and Hg were not detected in the particulate samples. The average levels of As-total, Cr, Cd, Pb, and Hg that were found in the urine were As-total (91.67±98.63 and 59.29±32.03 µg/L), Cr (0.82±0.51 and 1.03±1.02 µg/L), Cd (1.46±1.14 and 0.62±0.46 µg/g.creatinine), Pb (8.83±12.70 and 0.31±0.52 µg/g.creatinine), and Hg (7.80±15.62 and 0.66±1.50 µg/g.creatinine) in plant 1 and 2, respectively. As, Cd and Pb in urine samples of plant 1 were higher than in plant 2. The non-carcinogenic risk assessment, Hazard Quotient, and Hazard Index of As and Cd in ingestion route exposure were more than 1. Cancer Risk of As, Cd, and Pb in ingestion exposure and As in dermal exposure were >10-6 in both plants. The association of PPEs has apron used affected the Pb levels in urine and personal hygiene of workers had ate snack/drink water at working area affected the As, Cd, Pb and Hg levels in urine were significantly at p<0.05. To reduce risk, the control of food/drink intake in the workplace, an annual health check program, and providing of personal protective equipment for employees were recommended.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79904
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.779
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.779
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270060023.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.