Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80322
Title: อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ
Other Titles: The influences of media exposure and innovation acceptance towards smart watch for health on purchase intention of pre-aging consumers
Authors: ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยนำร่องที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และการยอมรับนวัตกรรมในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และอิทธิพลของกลุ่มและสังคม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และระดับการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน (ฺBeta = 0.398) ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล (Beta = 0.313) อิทธิพลจากกลุ่มและสังคม (Beta = 0.162) และการรับรู้ความง่ายของการใช้งาน (Beta = 0.148) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อโดยรวม โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ร้อยละ 61.4 (R2 = 0.614)
Other Abstract: The purpose of this pilot research is to describe the influences of media exposure, personal innovativeness, and innovation acceptance in terms of perceived usefulness, perceived ease of use and social influence towards smart watch for health on the purchase intention of pre-aging consumers. This research is quantitative research which uses an online survey to collect data from 200 sample respondents. The results of the research can be summarized as follows: The media exposure on an innovation of smart watch for health of pre-aging consumers was moderate. The sample group’s personal innovativeness and innovation acceptance were high. The sample group’s purchase intention was moderate. The hypothesis testing results show that: Perceived Usefulness (ฺBeta = 0.398), Personal Innovativeness (Beta = 0.313), Social influence (Beta = 0.162) and Perceived Ease of Use (Beta = 0.148) influenced on Purchase Intention. Dependent variables influenced on their independent variable at 61.4 percent (R2 = 0.614).
Description: สารนิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80322
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.325
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.325
Type: Independent Study
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380014328.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.