Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80878
Title: ฟิล์มเป่าที่มีรูพรุนขนาดเล็กจากพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิโพรพิลีนและพอลิเอทิลีน
Other Titles: Microporous blown films from polypropylene/polyethylene blends
Authors: ปวีณา อนิลบล
Advisors: มัณทนา โอภาประกาสิตbb
อาทร วิจิตรอมรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพการใช้พอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิโพรพิลีน (PP) และพอลิเอทิลีน (PE) เป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปฟิล์มที่มีรูพรุนขนาดเล็ก โดยศึกษาจากพอลิโพรพิลีน 2 เกรด คือ PP1 และ PP2 ซึ่งมีดัชนีการไหล ~2.0-2.4 กรัม/10 นาที และเลือกใช้พอลิเอทิลีนที่มีดัชนีการไหลที่สูงต่างกัน 4 ชนิดคือ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) และพอลิเอทิลีนแว๊กซ์ (PE wax) มีการเตรียมฟิล์มเป่า PP/PE ด้วยสัดส่วนผสมโดยน้ำหนักของพอลิโพรพิลีนต่อพอลิเอทิลีนเป็น 100/0 85/15 และ 60/40 โดยใช้เครื่องเป่าฟิล์มของแล็บเทค รุ่น LF-400-COEX (สัดส่วนความยาวต่อความโตของช่องทางการไหลคือ 30 และ เส้นผ่านศูนย์กลางของดายคือ 30 มม.) ศึกษาอิทธิพลของการเย็นตัวของฟิล์ม และระดับการดึงยืดฟิล์มที่ส่งผลต่อสมบัติด้านแรงดึง สัณฐานวิทยา และระดับรูพรุนของฟิล์ม จากผลการทดลองพบว่า ฟิล์ม PP และฟิล์ม PP/HDPE สามารถเตรียมให้มีระดับรูพรุนมากกว่าร้อยละ 20 ได้ อย่างไรก็ตามภาวะของการหล่อเย็น และการดึงยืดที่ได้ไม่เหมาะสม ส่งผลเชิงลบต่อระดับรูพรุน ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด แสดงให้เห็นถึงรูพรุนที่มีลักษณะวงรีเมื่อเพิ่มระดับดึงยืดที่สูง อย่างไรก็ตามความเป็นรูพรุนของฟิล์มเหล่านี้ซึ่งวัดจากการดูดซับน้ำมันนั้นมีแนวโน้มที่ต่ำกว่าฟิล์มที่เตรียมด้วยระดับการดึงยืดที่น้อยกว่า นอกจากนี้สมบัติด้านแรงดึงนั้นลดลงเมื่อเติมพอลิเอทิลีนผสมกับพอลิโพรพิลีน ยกเว้นฟิล์ม PP1/HDPE ซึ่งมีมอดุลัสของแรงดึงและร้อยละการยืดสูงสุดมากกว่าฟิล์ม PP1 ในขณะที่ความเป็นรูพรุนของฟิล์ม PP สามารถทำได้สูงถึงร้อยละ 25 ระดับความเป็นรูพรุนของฟิล์ม 60/40 PP/HDPE มีค่าที่สูงกว่า 
Other Abstract: This research is aimed to investigate the efficiency of using polypropylene (PP) and polyethylene (PE) blends as raw materials for fabricating micro-porous films. Two PP grades, PP1 and PP2, with melt flow rate of ~2.0-2.4 g/10 min were investigated. Four high melt flow index PE types including high density polyethylene (HDPE), low density polyethylene (LDPE), linear low density polyethylene (LLDPE), and polyethylene wax (PE wax) were employed in this study. Blown PP/PE films were fabricated using PP/PE blend ratios of 100/0, 85/15, and 60/40 (wt/wt), on an LF-400-COEX Lab tech extruder (30 L/D and 30mm diameter). Effects of film cooling and film stretching conditions on tensile property, morphology, and film porosity were examined. The results showed that films with porosity > 20% can be achieved only from PP and PP/HDPE films. Moreover, unsuitable film cooling and stretching may impose negative effects to the film’s porosity. SEM images presented that large ellipse pores typically appeared in the films fabricated at high %stretching. However, porosity evaluated from oil absorption experiment of these films tended to be lower than the films processed at smaller % stretching. Tensile properties were deteriorated when PE were incorporated with PP, excepting PP1/HDPE films of which tensile modulus and % elongation at break were higher than PP1 films. While the porosity as high as ~25% was possibly obtained from PP films, the higher porosity was achieved with 60/40 PP/HDPE films.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80878
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.834
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.834
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772295723.pdf10.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.