Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอศิ บุญจิตราดุลย์-
dc.contributor.authorวีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-07-31T10:41:22Z-
dc.date.available2009-07-31T10:41:22Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740302998-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9461-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาคุณลักษณะของเจ็ตร้อนที่หมุนควงในกระแสลมขวางโดยทั่วไป และศึกษาผลกระทบของความเร็วในการหมุนควง ที่มีต่อคุณลักษณะการผสมของเจ็ตโดยเฉพาะ โดยเจ็ตร้อนที่หมุนควงที่มีผลรวมของ Circulation รอบปากเจ็ตไม่เป็นศูนย์ ถูกสร้างขึ้นด้วยท่อหมุนซึ่งภายในบรรจุ Honeycomb และวัดการกระจายของอุณหภูมิบนระนาบหน้าตัดที่ตั้งฉาก กับทิศทางของกระแสลมขวางตามแนวการไหลของเจ็ต เพื่อศึกษาคุณลักษณะการผสมเฉพาะหน้าตัดและคุณลักษณะการผสมโดยรวม การทดลองได้ทำที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลเป็นค่าคงที่ที่ 4.1 โดยเปลี่ยนความเร็วในการหมุนควงซึ่งแสดงเป็นค่าอัตราส่วนสเวิร์ลในช่วงตั้งแต่ 0 (กรณีเจ็ตที่ไม่หมุนควง) ถึง 0.82 ที่เรโนลด์สนัมเบอร์ประมาณ 12,000 จากผลการทดลองพบว่าการหมุนควงทำให้ลักษณะโครงสร้างของเจ็ต มีความไม่สมมาตรซึ่งแสดงจากการกระจายของอุณหภูมิบนหน้าตัด โดยพบบริเวณที่มีอุณหภูมิและอัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูง ทางด้านที่ความเร็วตามแนวสัมผัสของเจ็ตอากาศ มีทิศทางเดียวกับความเร็วของกระแสลมขวาง (ด้าน Suction) ในขณะที่พบบริเวณที่มีอุณหภูมิและอัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่ำ ทางด้านที่ความเร็วตามแนวสัมผัสของเจ็ตอากาศมีทิศทางตรงกันข้ามกับ ความเร็วของกระแสลมขวาง (ด้าน Pressure) ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ชี้แนะให้เห็นว่าคุณลักษณะเช่นนี้ เป็นผลมาจากความแตกต่างในลักษณะการเกิดของ Skewed mixing layer ที่ขอบด้านข้างทั้งสองด้านของเจ็ต ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาตัวของเจ็ต นอกจากนี้ยังพบว่าความไม่สมมาตรดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามความเร็วในการหมุนควง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการหมุนควงจะมีผลต่อ ลักษณะของความไม่สมมาตรภายในเจ็ต แต่การหมุนควงดังกล่าวไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และความสมมาตรภายนอกของเจ็ตซึ่งแสดงโดยเส้นขอบเขต ของบริเวณระดับอุณหภูมิต่ำรอบเจ็ต นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงของพารามิเตอร์ที่ศึกษานั้น การหมุนควงส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อคุณลักษณะโดยรวมของเจ็ต เช่น การขยายตัวของเจ็ต และรูปร่างและตำแหน่งของขอบเจ็ตดังกล่าวข้างต้น และส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อคุณลักษณะบนระนาบสมมาตรแนวตั้ง ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ของเส้นทางของอุณหภูมิสูงสุดบนระนาบสมมาตร เส้นทางของจุดศูนย์กลางอุณหภูมิ และการลดลงของอุณหภูมิสูงสุดบนระนาบสมมาตร และการลดลงของอุณหภูมิสูงสุด ในทางตรงกันข้ามพบว่า การหมุนควงส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อคุณลักษณะของเจ็ตบนระนาบแนวนอน ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของ เส้นทางของจุดศูนย์กลางอุณหภูมิบนระนาบแนวนอน ซึ่งพบการเบี่ยงเบนออกจากแนวของระนาบสมมาตรแนวตั้งมากขึ้น เมื่อความเร็วในการหมุนควงเพิมขึ้น ผลการศึกษาชี้แนะให้เห็นถึงความแตกต่างของอิทธิพลของอัตราส่วนเสวิร์ลและอัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลต่อคุณลักษณะของเจ็ตที่หมุนควงในกระแสลมขวางen
dc.description.abstractalternativeCharacteristics of swirling jet in crossflow were studied in generaland the effects of swirl on the characteristics were investigated inparticular. Heated swirling jet with non-zero circulation generated from arotating pipe with honeycomb was used and temperature distributions in thecross planes downstream of the jet were surveyed in order to investigateboth local and global mixing characteristics. The experiments wereconducted at a fixed effective velocity ratio of 4.1, swirl ratio rangedfrom 0 (no swirl) to 0.82, and at Reynolds number of 12,000. The results indicated that, swirl caused asymmetry in the jetstructures and, hence, the temperature distribution within the jet,creating a region of high temperature and temperature gradient on the sidewhich the jet tangential velocity was in the same direction as thecrossflow velocity (suction side) and a corresponding region of lowtemperature and temperature gradient on side which the jet tangentialvelocity was in the opposite direction to the crossflow velocity (pressureside). This was attributed to the development, and the contrasting effectof swirl velocity on the development, of a skew mixing layer on eachlateral edge of the jet. The degree of asymmetry was observed to increasewith swirl. Nonetheless, it was also observed that, albeit the effects ofswirl in the asymmetry of temperature distribution within the jet, the lowtemperature envelop describing the edge of the jet was relatively unchangedand symmetric. The results showed that, within the present range of parameters,swirl had little influence on the global characteristics of the jet such asthe spreading rate and the low temperature envelope mentioned above. Inaddition, the results also indicated that swirl had little influence on theglobal characteristics in the centerplane of the jet. This was seen throughlittle change in the trajectory of maximum centerplane temperature, theprojecte-dtrajectory of centroid temperature, the decay of maximumcenterplane temperature, and the decay of the projected maximumtemperature, with swirl. On the other hand, the effects of swirl on theglobal characteristics in the horizontal crossplane were pronounced. Thiswas seen through significant change in the projected trajectory of centroidtemperature with swirl. These results pointed out to the distinctive rolesand effects of swirl and of the effective velocity ratio on thecharacteristic of swirling jet in crossflow.-
dc.format.extent3063119 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเจ็ต -- พลศาสตร์ของไหลen
dc.titleผลกระทบของสเวิร์ลนัมเบอร์ต่อคุณลักษณะการผสมของเจ็ตร้อน ที่หมุนควงในกระแสลมขวางen
dc.title.alternativeEffects of the swirl number on mixing characteristics of a heated swirling jet in crossflowen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAsi.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerin.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.